7 ผักสวนครัว กินง่าย ได้ประโยชน์

1. ผักบุ้งจีน

วิธีปลูกและดูแล : เตรียมดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วกระถาง (แช่เมล็ดผักบุ้งในน้ำอุ่นก่อนปลูกประมาณ 6-12 ชั่วโมงเพื่อให้เมล็ดงอกดีขึ้น) กลบเมล็ดด้วยดินร่วนบางๆ คลุมด้วยฟางและรดน้ำให้พอดีชุ่ม ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 20-25 วันหลังปลูก หรือเมื่อผักบุ้งมีความสูง 30-35 เซนติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการ : ผักบุ้งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย และวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา

2. พริก

วิธีปลูกและดูแล : สามารถใช้ฝักพริกที่แห้งแล้วฝังกลบในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ แต่ไม่เปียกแฉะจนเกินไปเพราะจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : ขึ้นกับพริกแต่ละประเภท ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 60-90 วัน

คุณค่าทางโภชนาการ : พริกมีปริมาณวิตามินซีที่ค่อนข้างสูง และสามารถสลายได้เมื่อโดนความร้อน เพื่อคุณประโยชน์สูงสุดอาจรับประทานเป็นพริกสดแทน แต่ควรระวังในผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาจทำให้อาการปวดท้องรุนแรงขึ้น

3. กะเพรา

วิธีปลูกและดูแล : สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดแก่ หรือการปักชำด้วยกิ่งแก่ โดยริดใบออกบางส่วนแล้วปักลงในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดีรดน้ำอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ วัน

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนไปทำกับข้าวได้เมื่อต้นกะเพรามีอายุประมาณ 1 เดือน

คุณค่าทางโภชนาการ : กะเพราเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นได้ ทั้งยังมีฤทธิ์แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมได้

 

 

4. โหระพา

วิธีปลูกและดูแล : สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ก้านที่มีใบโหระพาอยู่นิดหน่อย ไปปักชำไว้ในที่ร่ม และรดน้ำให้ชุ่มชื้น เมื่อต้นแข็งแรง ดูใบงอกได้ดีแล้วสามารถนำมาปลูกกลางแจ้งที่แดดไม่จัดได้

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนไปทำกับข้าวได้เมื่อต้นโหระพามีอายุ 1 เดือน

คุณค่าทางโภชนาการ : โหระพาเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นได้ ทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหารและขับลมได้

5. สะระแหน่

วิธีปลูกและดูแล : ใช้กิ่งสะระแหน่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป สังเกตรากเล็กๆ บริเวณใต้ใบ ปักให้กิ่งเอนราบไปกับดิน รดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่ถึงกับแฉะแล้วโรยแกลบกลบบางๆ สะระแหน่ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำที่มีความชุ่มพอสมควร แสงสว่างพอดี ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวส่วนยอดมาปรุงประกอบอาหารหรือน้ำปั่นได้ ภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก

คุณค่าทางโภชนาการ : สะระแหน่เป็นผักที่มีกลิ่นและรสหอมเย็น สามารถรับประทานร่วมกับอาหารทั้งคาวหวานได้ เช่น ลาบ น้ำตก หรือน้ำปั่นต่างๆ ในสะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น ลดอาการปวดศีรษะ และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

6. ตะไคร้

วิธีปลูกและดูแล : นำต้นตะไคร้มาตัดให้เหลือประมาณคืบครึ่ง แล้วปักส่วนที่เป็นโคนรากลงดินไว้ประมาณ 1 นิ้ว กอนึงปักประมาณ 2-3 ต้น หรือจะเอาโคนแช่น้ำให้รากงอกก่อนแล้วค่อยนำมาปลูกก็ได้ รดน้ำให้สม่ำเสมอทุกวันตลอดการปลูก

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้หลังปลูกประมาณ 6 เดือน และเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้ ทุกๆ 3 เดือน อายุการให้ผลผลิต 2-3 ปี

คุณค่าทางโภชนาการ : ตะไคร้มีน้ำมันหอมระเหยที่เมื่อนำมาใช้ปรุงประกอบอาหารล้วจะช่วยทำให้กลิ่นและรสอาหารดีขึ้น และทำให้ลดการปรุงเค็มลงในอาหารเช่น ต้มยำ ต้มข่า รวมถึงมีฤทธิ์ในการขับลม แก้ท้องอืดได้

7. ตำลึง

วิธีปลูกและดูแล : สามารถปลูกโดยการเพาะเมล็ดจากฝักแก่ (ฝักแก่มีสีแดงสด ให้นำมาขยี้ในน้ำเปล่าล้างเมือกออกจากเมล็กก่อนนำไปปลูก เพื่อเพิ่มอัตราการงอก) หรือใช้เถาแก่มาชำในถุงดินก่อน แล้วจึงย้ายลงดินที่เตรียมไว้ ตำลึงชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี เมื่อตำลึงเริ่มแตกยอดควรปลูกบริเวณรั้วหรือทำร้านให้เกาะ ตำลึงจะแตกยอดได้ดีในช่วงฤดูฝน รดน้ำวันละ 2 ครั้ง

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บยอดได้เรื่อยๆ และรดน้ำเพิ่มกระตุ้นการแตกยอด มีอายุประมาณ 2 ปี หลังปลูก

คุณค่าทางโภชนาการ : ตำลึงเป็นผักที่สามารถหารับประทานได้ง่าย มีใยอาหาร และเบต้าแคโรทีนสูง โดยเบต้าแคโรทีนนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอที่มีส่วนในการมองเห็นและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

 

1. ผักบุ้งจีน

วิธีปลูกและดูแล : เตรียมดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วกระถาง (แช่เมล็ดผักบุ้งในน้ำอุ่นก่อนปลูกประมาณ 6-12 ชั่วโมงเพื่อให้เมล็ดงอกดีขึ้น) กลบเมล็ดด้วยดินร่วนบางๆ คลุมด้วยฟางและรดน้ำให้พอดีชุ่ม ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 20-25 วันหลังปลูก หรือเมื่อผักบุ้งมีความสูง 30-35 เซนติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการ : ผักบุ้งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย และวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา

2. พริก

วิธีปลูกและดูแล : สามารถใช้ฝักพริกที่แห้งแล้วฝังกลบในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ แต่ไม่เปียกแฉะจนเกินไปเพราะจะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : ขึ้นกับพริกแต่ละประเภท ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 60-90 วัน

คุณค่าทางโภชนาการ : พริกมีปริมาณวิตามินซีที่ค่อนข้างสูง และสามารถสลายได้เมื่อโดนความร้อน เพื่อคุณประโยชน์สูงสุดอาจรับประทานเป็นพริกสดแทน แต่ควรระวังในผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาจทำให้อาการปวดท้องรุนแรงขึ้น

3. กะเพรา

วิธีปลูกและดูแล : สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดแก่ หรือการปักชำด้วยกิ่งแก่ โดยริดใบออกบางส่วนแล้วปักลงในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดีรดน้ำอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ วัน

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนไปทำกับข้าวได้เมื่อต้นกะเพรามีอายุประมาณ 1 เดือน

คุณค่าทางโภชนาการ : กะเพราเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นได้ ทั้งยังมีฤทธิ์แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมได้

 

 

4. โหระพา

วิธีปลูกและดูแล : สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ก้านที่มีใบโหระพาอยู่นิดหน่อย ไปปักชำไว้ในที่ร่ม และรดน้ำให้ชุ่มชื้น เมื่อต้นแข็งแรง ดูใบงอกได้ดีแล้วสามารถนำมาปลูกกลางแจ้งที่แดดไม่จัดได้

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนไปทำกับข้าวได้เมื่อต้นโหระพามีอายุ 1 เดือน

คุณค่าทางโภชนาการ : โหระพาเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นได้ ทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหารและขับลมได้

5. สะระแหน่

วิธีปลูกและดูแล : ใช้กิ่งสะระแหน่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป สังเกตรากเล็กๆ บริเวณใต้ใบ ปักให้กิ่งเอนราบไปกับดิน รดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่ถึงกับแฉะแล้วโรยแกลบกลบบางๆ สะระแหน่ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำที่มีความชุ่มพอสมควร แสงสว่างพอดี ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวส่วนยอดมาปรุงประกอบอาหารหรือน้ำปั่นได้ ภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก

คุณค่าทางโภชนาการ : สะระแหน่เป็นผักที่มีกลิ่นและรสหอมเย็น สามารถรับประทานร่วมกับอาหารทั้งคาวหวานได้ เช่น ลาบ น้ำตก หรือน้ำปั่นต่างๆ ในสะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น ลดอาการปวดศีรษะ และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

6. ตะไคร้

วิธีปลูกและดูแล : นำต้นตะไคร้มาตัดให้เหลือประมาณคืบครึ่ง แล้วปักส่วนที่เป็นโคนรากลงดินไว้ประมาณ 1 นิ้ว กอนึงปักประมาณ 2-3 ต้น หรือจะเอาโคนแช่น้ำให้รากงอกก่อนแล้วค่อยนำมาปลูกก็ได้ รดน้ำให้สม่ำเสมอทุกวันตลอดการปลูก

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้หลังปลูกประมาณ 6 เดือน และเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้ ทุกๆ 3 เดือน อายุการให้ผลผลิต 2-3 ปี

คุณค่าทางโภชนาการ : ตะไคร้มีน้ำมันหอมระเหยที่เมื่อนำมาใช้ปรุงประกอบอาหารล้วจะช่วยทำให้กลิ่นและรสอาหารดีขึ้น และทำให้ลดการปรุงเค็มลงในอาหารเช่น ต้มยำ ต้มข่า รวมถึงมีฤทธิ์ในการขับลม แก้ท้องอืดได้

7. ตำลึง

วิธีปลูกและดูแล : สามารถปลูกโดยการเพาะเมล็ดจากฝักแก่ (ฝักแก่มีสีแดงสด ให้นำมาขยี้ในน้ำเปล่าล้างเมือกออกจากเมล็กก่อนนำไปปลูก เพื่อเพิ่มอัตราการงอก) หรือใช้เถาแก่มาชำในถุงดินก่อน แล้วจึงย้ายลงดินที่เตรียมไว้ ตำลึงชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี เมื่อตำลึงเริ่มแตกยอดควรปลูกบริเวณรั้วหรือทำร้านให้เกาะ ตำลึงจะแตกยอดได้ดีในช่วงฤดูฝน รดน้ำวันละ 2 ครั้ง

ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว : สามารถเก็บยอดได้เรื่อยๆ และรดน้ำเพิ่มกระตุ้นการแตกยอด มีอายุประมาณ 2 ปี หลังปลูก

คุณค่าทางโภชนาการ : ตำลึงเป็นผักที่สามารถหารับประทานได้ง่าย มีใยอาหาร และเบต้าแคโรทีนสูง โดยเบต้าแคโรทีนนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอที่มีส่วนในการมองเห็นและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง