ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาโรคและความผิดปกติของไต อาทิ
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต
- ตรวจระดับยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN)
- ตรวจระดับครีเอตินิน (creatinine) และคำนวณอัตราการกรองของไตโดยประมาณ [estimated glomerular filtration rate (eGFR)] คิดจากระดับของครีเอตินิน (เป็นวิธีมาตรฐานในการใช้ตรวจหาโรคไตเรื้อรังหรือความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับไต)
การตรวจเลือดประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง และอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาว
- ตรวจส่วนประกอบของเกลือแร่ในร่างกาย (โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ แคลเซียม ฟอสเฟต)
- ตรวจปริมาณโปรตีนในเลือด
- ตรวจระดับคอเรสเตอรอล
- ตรวจระดับน้ำตาลและน้ำตาลสะสมในเลือด
การตรวจปัสสาวะ
ระดับโปรตีนในปัสสาวะถือเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาโรคไตที่สำคัญ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับการติดตามปริมาณโปรตีนในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง
- การตรวจปัสสาวะและตะกอนในปัสสาวะ (เพื่อตรวจหาโรคไตเรื้อรังและบ่งบอกถึงชนิดของโรคไต)
- การตรวจวัดสัดส่วนของอัลบูมินต่อครีเอตินินในปัสสาวะ
- การตรวจวัดสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะ
การตรวจทางรังสี
- การอัลตราซาวนด์ไต (Renal Ultrasound)
- การตรวจเส้นเลือดไตโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Kidney Doppler)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Angiography)
- การตรวจทางนิวเคลียร์ (Renal Scan)


การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต
- การชะลอความเสื่อมของไตโดยการรักษาและควบคุมสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคนิ่วที่ไต การสูบบุหรี่ และการควบคุมระดับโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ
- การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดจาง ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และความผิดปกติทางกระดูกและเมตาบอลิก
การบำบัดทดแทนไต
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ใช้วิธีการฟอกเลือดผ่านทางเส้นเลือดที่เตรียมไว้ด้วยระบบน้ำที่มีความบริสุทธิ์ เป็นกระบวนการฟอกที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะนอกจากสามารถขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดใหญ่ในร่างกาย ซึ่งการฟอกไตแบบเดิมไม่สามารถทำได้
- การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Renal Replacement Therapy: CRRT) มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย และปรับสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย โดยมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตน้อยกว่าการฟอกเลือดปกติ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพไม่คงที่ และอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องได้รับการติดตามสัญญาณชีพตลอดเวลา
- การล้างไตผ่านช่องท้องสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดยการใส่น้ำยาฟอกเลือดผ่านทางสายที่เตรียมไว้เข้าช่องท้อง เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียผ่านทางผนังช่องท้องแล้วจึงปล่อยออก
- การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีสุขภาพแข็งแรง (มีข้อจำกัดทางกฎหมายสำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ)
บริการด้านการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย
- โปรแกรมโรคไตเรื้อรัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและทีมสหสาขาร่วมกันดูแลผู้ป่วยโดยจัดให้มีการให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เพื่อชะลอความเสื่อมของโรคไตเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปรตีน เกลือ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน
ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาโรคและความผิดปกติของไต อาทิ
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต
- ตรวจระดับยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN)
- ตรวจระดับครีเอตินิน (creatinine) และคำนวณอัตราการกรองของไตโดยประมาณ [estimated glomerular filtration rate (eGFR)] โดยคิดจากระดับครีเอตินิน (เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานในการใช้ตรวจหาโรคไตเรื้อรังหรือ
ความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับไต)
การตรวจเลือดประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง และอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาว
- ตรวจส่วนประกอบของเกลือแร่ในร่างกาย (โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ แคลเซียม ฟอสเฟต)
- ตรวจปริมาณโปรตีนในเลือด
- ตรวจระดับคอเรสเตอรอล
- ตรวจระดับน้ำตาลและน้ำตาลสะสมในเลือด
การตรวจปัสสาวะ
ระดับโปรตีนในปัสสาวะถือเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาโรคไตที่สำคัญ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับการติดตามปริมาณโปรตีนในปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง
- การตรวจปัสสาวะและตะกอนในปัสสาวะ (เพื่อตรวจหาโรคไตเรื้อรังและบ่งบอกถึงชนิดของโรคไต)
- การตรวจวัดสัดส่วนของอัลบูมินต่อครีเอตินินในปัสสาวะ
- การตรวจวัดสัดส่วนของโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะ
การตรวจทางรังสี
- การอัลตราซาวนด์ไต (Renal Ultrasound)
- การตรวจเส้นเลือดไตโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Kidney Doppler)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Angiography)
- การตรวจทางนิวเคลียร์ (Renal Scan)
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต
- การชะลอความเสื่อมของไตโดยการรักษาและควบคุมสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคนิ่วที่ไต การสูบบุหรี่ และการควบคุมระดับโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ
- การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดจาง ระดับเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และความผิดปกติทางกระดูกและเมตาบอลิก

การบำบัดทดแทนไต
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ใช้วิธีการฟอกเลือดผ่านทางเส้นเลือดที่เตรียมไว้ด้วยระบบน้ำที่มีความบริสุทธิ์ เป็นกระบวนการฟอกที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะนอกจากสามารถขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดใหญ่ในร่างกาย ซึ่งการฟอกไตแบบเดิมไม่สามารถทำได้
- การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Renal Replacement Therapy: CRRT) มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย และปรับสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย โดยมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตน้อยกว่าการฟอกเลือดปกติ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพไม่คงที่ และอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องได้รับการติดตามสัญญาณชีพตลอดเวลา
- การล้างไตผ่านช่องท้องสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดยการใส่น้ำยาฟอกเลือดผ่านทางสายที่เตรียมไว้เข้าช่องท้อง เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียผ่านทางผนังช่องท้องแล้วจึงปล่อยออก
- การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีสุขภาพแข็งแรง (มีข้อจำกัดทางกฎหมายสำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ)
บริการด้านการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย
- โปรแกรมโรคไตเรื้อรัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและทีมสหสาขาร่วมกันดูแลผู้ป่วยโดยจัดให้มีการให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เพื่อชะลอความเสื่อมของโรคไตเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปรตีน เกลือ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน