อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงทำให้ระดับไขมันในเลือดตัวร้ายสูงขึ้นเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคือไขมันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งเมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส) เมื่อรับประทานในปริมาณมากก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดตัวร้าย (LDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้นจนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมักเป็นอาหารที่ทำจาก เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว (tallow) น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน ผลิตภัณฑ์เบเกอรี น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้จำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่รับประทานให้น้อยกว่าร้อยละ 5 - 6 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน เช่น ผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน สามารถรับประทานไขมันอิ่มตัวได้ไม่เกิน 120 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือประมาณ 13 กรัมของไขมันอิ่มตัว โดยแนะนำให้ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ติดมัน รับประทานปลาทะเล หรือเปลี่ยนชนิดน้ำมันที่ใช้ปรุงประกอบอาหาร โดยเปลี่ยนจากน้ำมันหมู หรือน้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันมะกอกแทน
ทางเลือกในการทดแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารที่รับประทาน
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (Monounsaturated fats) และ/หรือไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fats) แทนไขมันอิ่มตัว ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ทำจากพืช ถั่วต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ ยกเว้นเนื้อเทียมที่ทำจากพืช (Plant base alternative meat) เนื่องจากเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการสูง (Ultra processed food) อาจมีไขมัน น้ำตาล และความเค็มสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนได้ และเน้นการปรุงประกอบอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ แทนการใช้น้ำมัน หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรลดปริมาณให้น้อยลงหรือใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวในการบริโภคได้
ชมคลิป "เรื่องกิน เรื่องใหญ่" โดย ผศ.นพ.พรพจน์ เปรมโยธิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์คลินิก
ดาวน์โหลดโบรชัวร์ คำแนะนำเรื่องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง >>คลิก<<
ขอขอบคุณข้อมูลจากนักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคือไขมันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งเมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส) เมื่อรับประทานในปริมาณมากก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดตัวร้าย (LDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้นจนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมักเป็นอาหารที่ทำจาก เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว (tallow) น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน ผลิตภัณฑ์เบเกอรี น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้จำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัวที่รับประทานให้น้อยกว่าร้อยละ 5 - 6 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน เช่น ผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน สามารถรับประทานไขมันอิ่มตัวได้ไม่เกิน 120 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือประมาณ 13 กรัมของไขมันอิ่มตัว โดยแนะนำให้ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ติดมัน รับประทานปลาทะเล หรือเปลี่ยนชนิดน้ำมันที่ใช้ปรุงประกอบอาหาร โดยเปลี่ยนจากน้ำมันหมู หรือน้ำมันปาล์ม เป็นน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันมะกอกแทน
ทางเลือกในการทดแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารที่รับประทาน
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (Monounsaturated fats) และ/หรือไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fats) แทนไขมันอิ่มตัว ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ทำจากพืช ถั่วต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ ยกเว้นเนื้อเทียมที่ทำจากพืช (Plant base alternative meat) เนื่องจากเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการสูง (Ultra processed food) อาจมีไขมัน น้ำตาล และความเค็มสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนได้ และเน้นการปรุงประกอบอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ แทนการใช้น้ำมัน หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรลดปริมาณให้น้อยลงหรือใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวในการบริโภคได้
ชมคลิป "เรื่องกิน เรื่องใหญ่" โดย ผศ.นพ.พรพจน์ เปรมโยธิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์คลินิก
ดาวน์โหลดโบรชัวร์ คำแนะนำเรื่องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง >>คลิก<<
ขอขอบคุณข้อมูลจากนักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D