การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้มีโรคประจำตัว
การกำจัดเชื้อในช่องปากของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจำเป็นอย่างไร?
การติดเชื้อที่มีสาเหตุจากเหงือกและฟัน มีอาการแสดงตั้งแต่การติดเชื้อเล็กน้อยเฉพาะที่ หรืออาจรุนแรงลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว อาจส่งผลให้โรคทางระบบอื่นที่เป็นอยู่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ซึ่งบางครั้งผลกระทบนั้นอาจรุนแรงถึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรได้รับการกำจัดเชื้อในช่องปาก โดยการรักษาฟันผุและเหงือกอักเสบทั้งก่อนและหลังการรักษาโรค
กลุ่มผู้ป่วยที่ควรดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคเยื่อบุผนังหัวใจอักเสบ หากมีแหล่งเชื้อโรคอยู่ในช่องปากจากฟันผุหรือโรคเหงือกอักเสบ อาจทำให้มีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มบุหัวใจอักเสบได้
- โรคเบาหวาน การมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่ายและมีความรุนแรงกว่าคนปกติ
- ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย ที่ต้องล้างไตเป็นประจำ
- ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้าและลำคอ ผลกระทบจากการฉายรังสีทำให้มีการหลุดลอกของเนื้อเยื่อบุผิวในช่องปาก ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลงมีโอกาสเกิดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยทางโลหิตวิทยา เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด มีผลทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลงกว่าปกติ ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการตัดม้าม
- ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือสเตียรอยด์
มีผลทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น - ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อตนเอง (SLE)
- ผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ โรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุหรือโรคเหงือกอักเสบ อาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย โดยผ่านทางกระแสเลือดจนทำให้มีไข้ขึ้นสูงได้
วิธีการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน
- แปรงฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-ก่อนนอน) ด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อและแปรงลิ้นทุกครั้งหลังการแปรงฟัน
- ใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดซอกฟันภายหลังการแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อช่วยทำความสะอาดบริเวณฟันด้านที่ประชิดกัน
- ตรวจสุขภาพในช่องปากด้วยตนเองเป็นประจำ
- พบทันตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อติดตามอาการทุก 6 เดือน เป็นอย่างน้อย
ข้อควรปฎิบัติเมื่อต้องพบทันตแพทย์
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกง่าย-หยุดยาก อาจต้องตรวจเลือดก่อนการเข้ารับบริการด้านทันตกรรม
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Plavix, Coumadin, Warfarin, Orfarin และอื่นๆ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทำการรักษาทุกครั้ง และไม่ควรหยุดยาเอง
- ผู้ป่วยที่ต้องได้รับหัตถการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะได้รับยาปฎิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หากขัดข้องต้องโทร. 1474 เพื่อขอเปลี่ยนวันนัดหมาย
ดาวน์โหลด โบรชัวร์ดูแลใส่ใจสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว >>คลิกที่นี่<<
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A
การกำจัดเชื้อในช่องปากของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจำเป็นอย่างไร?
การติดเชื้อที่มีสาเหตุจากเหงือกและฟัน มีอาการแสดงตั้งแต่การติดเชื้อเล็กน้อยเฉพาะที่ หรืออาจรุนแรงลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว อาจส่งผลให้โรคทางระบบอื่นที่เป็นอยู่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ซึ่งบางครั้งผลกระทบนั้นอาจรุนแรงถึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรได้รับการกำจัดเชื้อในช่องปาก โดยการรักษาฟันผุและเหงือกอักเสบทั้งก่อนและหลังการรักษาโรค
กลุ่มผู้ป่วยที่ควรดูแลเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคเยื่อบุผนังหัวใจอักเสบ หากมีแหล่งเชื้อโรคอยู่ในช่องปากจากฟันผุหรือโรคเหงือกอักเสบ อาจทำให้มีการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มบุหัวใจอักเสบได้
- โรคเบาหวาน การมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่ายและมีความรุนแรงกว่าคนปกติ
- ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย ที่ต้องล้างไตเป็นประจำ
- ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้าและลำคอ ผลกระทบจากการฉายรังสีทำให้มีการหลุดลอกของเนื้อเยื่อบุผิวในช่องปาก ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลงมีโอกาสเกิดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยทางโลหิตวิทยา เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด มีผลทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลงกว่าปกติ ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการตัดม้าม
- ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือสเตียรอยด์
มีผลทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น - ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อตนเอง (SLE)
- ผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ โรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุหรือโรคเหงือกอักเสบ อาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย โดยผ่านทางกระแสเลือดจนทำให้มีไข้ขึ้นสูงได้
วิธีการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน
- แปรงฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-ก่อนนอน) ด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อและแปรงลิ้นทุกครั้งหลังการแปรงฟัน
- ใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดซอกฟันภายหลังการแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อช่วยทำความสะอาดบริเวณฟันด้านที่ประชิดกัน
- ตรวจสุขภาพในช่องปากด้วยตนเองเป็นประจำ
- พบทันตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อติดตามอาการทุก 6 เดือน เป็นอย่างน้อย
ข้อควรปฎิบัติเมื่อต้องพบทันตแพทย์
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกง่าย-หยุดยาก อาจต้องตรวจเลือดก่อนการเข้ารับบริการด้านทันตกรรม
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Plavix, Coumadin, Warfarin, Orfarin และอื่นๆ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทำการรักษาทุกครั้ง และไม่ควรหยุดยาเอง
- ผู้ป่วยที่ต้องได้รับหัตถการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะได้รับยาปฎิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หากขัดข้องต้องโทร. 1474 เพื่อขอเปลี่ยนวันนัดหมาย
ดาวน์โหลด โบรชัวร์ดูแลใส่ใจสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว >>คลิกที่นี่<<
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A