เบาหวาน รู้ทันป้องกันได้
โรคเบาหวาน คืออะไร?
ภาวะปกติเมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนมาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วย ในระยะแรกสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนาน ๆ บางรายจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ และภาวะนี้มักหายไปหลังจากคลอด
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด ยาบางประเภท เช่น ยาที่มีสารสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร) หรือรอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง)
- กรรมพันธุ์ พ่อ แม่ พี่ หรือน้องเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- มีโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล เอชดีแอล < 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
- เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7-6.4%
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
- พฤติกรรมที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างวัน
- การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการจะไม่เด่นชัดอย่างไรก็ตาม อาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้
- อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนาน ๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
- อาการของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
- อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
- อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
- ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด
น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ยคืออะไร?
น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) คือระดับน้ำตาลในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าน้ำตาลเฉลี่ยจะช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6 - 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose หรือ FPG) ในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 2 - 4 ครั้ง
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร (fasting plasma glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%
- ระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมง หลังดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัม มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- มีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง (ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด) ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
*เป้าหมายระดับน้ำตาลสะสมอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ในผู้ป่วยแต่ละรายตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากอายุ โรคร่วม ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน
1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อยืนยันถ้าค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เข้าเกณฑ์วินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกรณียังรู้สึกตัว คือ 15, 15
- รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น
- ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำ 15 นาที หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม
หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
หากค่าน้ำตาลน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ทำซ้ำเช่นเดิม
หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร
หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง อาจทำให้มีอาการชักถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลม แนะนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่
- ภาวะคีโตเอซิโดซิส (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
- ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมลาร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีภาวะออสโมลาริตี้ในร่างกายสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 320 มิลลิออสโมล/กิโลกรัม แต่ไม่มีภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ได้แก่
1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
- เบาหวานขึ้นตา
- ไตวาย
- ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน มักมีอาการ ชาปลายเท้า เจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง
2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้เกิดแผลที่เท้าง่าย และมีโอกาสถูกตัดนิ้ว/ขา
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถป้องกันและชะลอได้ โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และควบคุมโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ แม้จะไม่หิวก็ตาม ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น
- รับประทานข้าว/แป้งไม่ขัดสีในปริมาณที่เหมาะสม (1 - 2 ทัพพีต่อมื้อ)
- รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2 - 3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6 - 8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเลือกผลไม้ขนาดกลาง ½ ผลต่อมื้อ หรือขนาดค่อนข้างเล็ก 1 - 2 ผลต่อมื้อ
- รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันในปริมาณที่เหมาะสม
- เน้นรับประทานผักใบให้มากขึ้น
- ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารได้ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว
- แนะนำให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง
- รับประทานยา หรือฉีดยาอินซูลินตามคำสั่งแพทย์
- สำรวจเท้า ทำความสะอาด และทาโลชั่นที่เท้าทุกวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
- ควรตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เดือน
- นอนหลับวันละ 6 - 8 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการนอนดึก ถ้านอนผิดปกติหรือมีอาการหยุดหายใจระหว่างนอน ควรปรึกษาแพทย์
- หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกันนาน 30 นาที
- ลดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือให้ใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานเทียมแทนน้ำตาล
- ลดการรับประทานอาหารมัน เช่น อาหารจานเดียว อาหารทอดและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
- ลดการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ขนมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมถึงการลดการรับประทานน้ำซุปต่าง ๆ หรือใช้หลักการตักเนื้อทิ้งน้ำ และลดการรับประทานน้ำจิ้มหรือเครื่องปรุงรสต่าง ๆ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
โรคเบาหวาน คืออะไร?
ภาวะปกติเมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนมาช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วย ในระยะแรกสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนาน ๆ บางรายจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ และภาวะนี้มักหายไปหลังจากคลอด
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด ยาบางประเภท เช่น ยาที่มีสารสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร) หรือรอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง)
- กรรมพันธุ์ พ่อ แม่ พี่ หรือน้องเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- มีโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล เอชดีแอล < 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
- เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7-6.4%
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
- พฤติกรรมที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างวัน
- การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการจะไม่เด่นชัดอย่างไรก็ตาม อาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้
- อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนาน ๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
- อาการของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
- อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
- อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
- ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด
น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ยคืออะไร?
น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) คือระดับน้ำตาลในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าน้ำตาลเฉลี่ยจะช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6 - 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose หรือ FPG) ในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 2 - 4 ครั้ง
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร (fasting plasma glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%
- ระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมง หลังดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัม มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- มีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง (ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด) ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
*เป้าหมายระดับน้ำตาลสะสมอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ในผู้ป่วยแต่ละรายตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากอายุ โรคร่วม ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน
1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อยืนยันถ้าค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เข้าเกณฑ์วินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกรณียังรู้สึกตัว คือ 15, 15
- รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น
- ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำ 15 นาที หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม
หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
หากค่าน้ำตาลน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ทำซ้ำเช่นเดิม
หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร
หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง อาจทำให้มีอาการชักถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลม แนะนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที
2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่
- ภาวะคีโตเอซิโดซิส (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
- ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมลาร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีภาวะออสโมลาริตี้ในร่างกายสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 320 มิลลิออสโมล/กิโลกรัม แต่ไม่มีภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ได้แก่
1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
- เบาหวานขึ้นตา
- ไตวาย
- ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน มักมีอาการ ชาปลายเท้า เจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง
2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้เกิดแผลที่เท้าง่าย และมีโอกาสถูกตัดนิ้ว/ขา
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถป้องกันและชะลอได้ โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และควบคุมโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ แม้จะไม่หิวก็ตาม ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น
- รับประทานข้าว/แป้งไม่ขัดสีในปริมาณที่เหมาะสม (1 - 2 ทัพพีต่อมื้อ)
- รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2 - 3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6 - 8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเลือกผลไม้ขนาดกลาง ½ ผลต่อมื้อ หรือขนาดค่อนข้างเล็ก 1 - 2 ผลต่อมื้อ
- รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันในปริมาณที่เหมาะสม
- เน้นรับประทานผักใบให้มากขึ้น
- ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารได้ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว
- แนะนำให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง
- รับประทานยา หรือฉีดยาอินซูลินตามคำสั่งแพทย์
- สำรวจเท้า ทำความสะอาด และทาโลชั่นที่เท้าทุกวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
- ควรตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เดือน
- นอนหลับวันละ 6 - 8 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการนอนดึก ถ้านอนผิดปกติหรือมีอาการหยุดหายใจระหว่างนอน ควรปรึกษาแพทย์
- หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกันนาน 30 นาที
- ลดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือให้ใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานเทียมแทนน้ำตาล
- ลดการรับประทานอาหารมัน เช่น อาหารจานเดียว อาหารทอดและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
- ลดการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ขนมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมถึงการลดการรับประทานน้ำซุปต่าง ๆ หรือใช้หลักการตักเนื้อทิ้งน้ำ และลดการรับประทานน้ำจิ้มหรือเครื่องปรุงรสต่าง ๆ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D