ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (Temporomandibular disorders)
ข้อต่อขากรรไกร เป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนและถูกใช้งานมากที่สุด เป็นข้อต่อที่มีการเชื่อมต่อกันของกระดูกขากรรไกรล่างกับส่วนของกระโหลกศีรษะ โดยมีกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ช่วยยึดขากรรไกรล่างให้ทำงานร่วมกับข้อต่อขากรรไกร แต่เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติขึ้น จะส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ซึ่งจะมีปัญหาในการเคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นภาวะโรคข้อต่อเสื่อมได้ ทำให้อาการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล จะมีความแตกต่างกันออกไป
อาการความผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกรที่พบได้บ่อย
1. มีอาการเจ็บปวด ซึ่งมักจะเป็นบริเวณแก้ม หน้าหู ขมับ และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน
2. ความสามารถในการอ้าปากถูกจำกัด ไม่สามารถเคลื่อนขากรรไกรล่างได้ตามปกติ บางรายอาจมีปัญหาขากรรไกรค้าง หรืออ้าปากแล้วเบี้ยว
3. มีเสียงดังเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อขากรรไกรมีการเคลื่อนไหว อาจมีเสียงดัง “คลิก” หรือ“กรอบแกรบ” และอาจมาพร้อมกับอาการเจ็บปวดได้
สาเหตุการเกิดโรคความผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกร
1. มีประวัติการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรมาก่อน เช่น การถูกกระแทกอย่างรุนแรง
2. การสบฟันผิดปกติ (Malocclusion) การเสียสมดุลของระบบบดเคี้ยว เช่น การถอนฟันกรามออก โดยไม่ได้ใส่ฟันทดแทน ทำให้ฟันข้างเคียงและฟันตรงข้ามเคลื่อนมาสู่ช่องว่างทำให้เกิดการสบกระแทกส่งแรงที่ผิดปกติต่อข้อต่อขากรรไกร
3. อุปนิสัยเคี้ยวอาหารข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อกรรไกรทำงานไม่สมดุลกัน
4. การรับประทานอาหารเหนียว แข็ง หรือเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ
5. ความเครียด
6. การนอนกัดฟัน
แนวทางปฏิบัติเมื่อมีอาการผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกร
1. เมื่อมีอาการปวดหรือปวดร่วมกับมีอาการตึงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าคอ บ่า ไหล่ และข้อต่อขากรรไกร
ควรประคบร้อน
2. เมื่อมาอาการเจ็บขณะอ้าปากหรือขณะเคี้ยวอาหาร ควรรับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว
3. เมื่อมีอาการปวด ควรลดการใช้งานขากรรไกรให้มากที่สุด เช่น หลีกเลี่ยงการพูด ตะโกน ร้องเพลง
4. หากต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรม ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบ
5. ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ใบหน้า หลีกเลี่ยงการเกร็งกล้ามเนื้อ
6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
7. หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
8. ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
9. การนอนหลับพอเพียง
ดาวน์โหลดโบรชัวร์ "ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ" >>คลิกที่นี่<<
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A
ข้อต่อขากรรไกร เป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนและถูกใช้งานมากที่สุด เป็นข้อต่อที่มีการเชื่อมต่อกันของกระดูกขากรรไกรล่างกับส่วนของกระโหลกศีรษะ โดยมีกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ช่วยยึดขากรรไกรล่างให้ทำงานร่วมกับข้อต่อขากรรไกร แต่เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติขึ้น จะส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ซึ่งจะมีปัญหาในการเคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นภาวะโรคข้อต่อเสื่อมได้ ทำให้อาการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล จะมีความแตกต่างกันออกไป
อาการความผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกรที่พบได้บ่อย
1. มีอาการเจ็บปวด ซึ่งมักจะเป็นบริเวณแก้ม หน้าหู ขมับ และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน
2. ความสามารถในการอ้าปากถูกจำกัด ไม่สามารถเคลื่อนขากรรไกรล่างได้ตามปกติ บางรายอาจมีปัญหาขากรรไกรค้าง หรืออ้าปากแล้วเบี้ยว
3. มีเสียงดังเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อขากรรไกรมีการเคลื่อนไหว อาจมีเสียงดัง “คลิก” หรือ“กรอบแกรบ” และอาจมาพร้อมกับอาการเจ็บปวดได้
สาเหตุการเกิดโรคความผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกร
1. มีประวัติการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรมาก่อน เช่น การถูกกระแทกอย่างรุนแรง
2. การสบฟันผิดปกติ (Malocclusion) การเสียสมดุลของระบบบดเคี้ยว เช่น การถอนฟันกรามออก โดยไม่ได้ใส่ฟันทดแทน ทำให้ฟันข้างเคียงและฟันตรงข้ามเคลื่อนมาสู่ช่องว่างทำให้เกิดการสบกระแทกส่งแรงที่ผิดปกติต่อข้อต่อขากรรไกร
3. อุปนิสัยเคี้ยวอาหารข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อกรรไกรทำงานไม่สมดุลกัน
4. การรับประทานอาหารเหนียว แข็ง หรือเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ
5. ความเครียด
6. การนอนกัดฟัน
แนวทางปฏิบัติเมื่อมีอาการผิดปกติบริเวณขมับ-ข้อต่อขากรรไกร
1. เมื่อมีอาการปวดหรือปวดร่วมกับมีอาการตึงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าคอ บ่า ไหล่ และข้อต่อขากรรไกร
ควรประคบร้อน
2. เมื่อมาอาการเจ็บขณะอ้าปากหรือขณะเคี้ยวอาหาร ควรรับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว
3. เมื่อมีอาการปวด ควรลดการใช้งานขากรรไกรให้มากที่สุด เช่น หลีกเลี่ยงการพูด ตะโกน ร้องเพลง
4. หากต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรม ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบ
5. ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ใบหน้า หลีกเลี่ยงการเกร็งกล้ามเนื้อ
6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
7. หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
8. ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
9. การนอนหลับพอเพียง
ดาวน์โหลดโบรชัวร์ "ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ" >>คลิกที่นี่<<
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A