![รับมือปัญหาผิวหนังในหน้าฝน](https://siph-space.sgp1.digitaloceanspaces.com/uploads/postHealths/2018/12/1625362911_040764_Skin_Diseases.jpg)
รับมือปัญหาผิวหนังในหน้าฝน
1. โรคเกลื้อน
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Pityrosporum อาศัยอยู่ในรูขุมขนของคน และกินไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร พบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมัน เช่น หน้า ต้นคอ หน้าอก หลัง หากผู้ป่วยมีความต้านทานลดลง เหงื่อไคลหมักหมม หรือใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น เชื้อราชนิดนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนก่อให้เกิดโรคเกลื้อนที่มีลักษณะเป็นดวงมีขุย ขนาดตั้งแต่ 1 มม. บริเวณรอบๆ รูขุมขนหรือรวมกันจนเป็นปื้นใหญ่ ผื่นนี้อาจเป็นวงสีขาว สีชมพู สีเทา หรือสีน้ำตาลก็เป็นได้
วิธีรักษา
- แนะนำให้ใช้ยาทาและยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- เลือกสบู่ หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของสารคีโตโคนาโซน หรือสารเซเลเนียมซัลไฟล์ โดยให้ผู้ป่วยอาบน้ำฟอกตัวให้สะอาดด้วยสบู่ตามปกติ เมื่อเสร็จแล้วอย่าเพิ่งเช็ดน้ำที่ติดบนผิวหนังออก แต่ใช้แชมพูยาลูบไปทั่วบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้นาน 5 นาที แล้วจึงอาบน้ำล้างแชมพูออก อย่าปล่อยทิ้งแชมพูยาให้อยู่บนผิวหนังนานเพราะอาจเกิดอาการระคาย จากแชมพูยาได้
- รักษาสุขอนามัย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวควรจะซักและนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้เสมอ
- ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า หรือ ผ้าเช็ดตัว
- แนะนำให้อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม
2. รังแค
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดรังแคบนหนังศีรษะ คือ “เชื้อรา” ที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศเปียกชื้น โดยเฉพาะในหน้าฝนที่หนังศีรษะมีโอกาสเปียกฝนได้ทุกเมื่อ ทำให้หลายคนจำเป็นต้องสระผมบ่อยขึ้นเพื่อชะล้างเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ที่มากับฝนออกไป แค่เช็ดผมให้แห้งหรือปล่อยให้ผมแห้งเองนั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อรา รังแค และหนังศีรษะได้ ทำให้มีอาการคัน ในบางรายที่รุนแรงรังแคจะมีสีเหลืองเป็นไข เกร็ดใหญ่ขึ้น ซึ่งเกิดจากต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการนอนหลับขณะที่ผมยังเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราและรังแคบนหนังศีรษะ
- หลีกเลี่ยงการขยี้เส้นผมหรือเกาหนังศีรษะแรงๆ ขณะสระผม เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนนำมาสู่ปัญหารังแคและผมร่วมได้
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นสระผม เพราะจะทำให้น้ำมันธรรมชาติถูกชะล้างออกมากไป หนังศีรษะแห้ง และยังทำให้เส้นผมกระด้างด้วย
- หมั่นทำความสะอาดแปรงหรือหวีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพราะสิ่งสกปรกและน้ำมันที่ตกค้างอยู่ตามหวีและแปรงอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้
3. โรคน้ำกัดเท้า
เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังเนื่องจากความเปียกชื้นและการสัมผัสสิ่งสกปรกต่างๆ ในน้ำท่วมขัง มักพบบ่อยในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเท้ามีโอกาสเปียกชื้นสูง ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ ผิวหนังเปื่อยลอก โดยเฉพาะซอกนิ้วเท้าอาจมีผื่นแดงคันตามซอกนิ้วเท้าและผิวลอกออกเป็นขุยขาวๆ ได้ ในบางรายอาจมีการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า “Dermatophytes” ร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อราเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น นอกจากนี้ การหมักหมมของเหงื่อและการไม่รักษาความสะอาดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้อีกด้วย
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ
- หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง ให้ใส่รองเท้าบู๊ทยาง
- หลังจากสัมผัสน้ำท่วมขัง ให้ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว
- ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นอยู่เสมอ
- หากมีบาดแผลถลอกในบริเวณที่สัมผัสน้ำสกปรกควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างหลังการสัมผัสทันที
4. เท้าเหม็น
ปัญหาเท้าเหม็นพบบ่อยในคนที่มีเหงื่อออกมากและมีแบคทีเรียประจำกลิ่น ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะเปลี่ยนสารคัดหลั่งและเหงื่อบริเวณผิวหนังให้เป็นกลิ่นเท้า โดยเฉพาะในเพศชาย นักกีฬา นักวิ่ง คนในเครื่องแบบที่ต้องใส่รองเท้าเป็นเวลานาน ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจพบว่าบริเวณฝ่าเท้ามีการเปื่อยยุ่ยหรือเป็นหลุม ถึงแม้ว่าปัญหาเท้าเหม็นจะไม่ใช่ปัญหาสุขภาพโดยตรง แต่ก็ทำให้เสียบุคลิกภาพที่ดี สูญเสียความมั่นใจกันได้
- หมั่นเปลี่ยนรองเท้าบ่อย ๆ และนำรองเท้าผึ่งลมผึ่งแดดบ้าง
- เปลี่ยนถุงเท้าทุกครั้ง ไม่ใส่ซ้ำ และเลือกใส่ถุงเท้าผ้าฝ้ายเพื่อความโปร่งสบาย
- ใช้สารดูดกลิ่นใส่ในรองเท้า หรือสเปรย์ฉีดรองเท้าเพื่อช่วยระงับกลิ่น
- การอาบน้ำถูสบู่ โรยแป้งฝุ่น การใช้ยา หรือการใช้สารระงับกลิ่นที่บริเวณเท้าสามารถช่วยระงับกลิ่นและทำลายแบคทีเรียที่อยู่บริเวณผิวหนังได้
ขอบคุณข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
1. โรคเกลื้อน
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Pityrosporum อาศัยอยู่ในรูขุมขนของคน และกินไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร พบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมัน เช่น หน้า ต้นคอ หน้าอก หลัง หากผู้ป่วยมีความต้านทานลดลง เหงื่อไคลหมักหมม หรือใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น เชื้อราชนิดนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนก่อให้เกิดโรคเกลื้อนที่มีลักษณะเป็นดวงมีขุย ขนาดตั้งแต่ 1 มม. บริเวณรอบๆ รูขุมขนหรือรวมกันจนเป็นปื้นใหญ่ ผื่นนี้อาจเป็นวงสีขาว สีชมพู สีเทา หรือสีน้ำตาลก็เป็นได้
วิธีรักษา
- แนะนำให้ใช้ยาทาและยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- เลือกสบู่ หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของสารคีโตโคนาโซน หรือสารเซเลเนียมซัลไฟล์ โดยให้ผู้ป่วยอาบน้ำฟอกตัวให้สะอาดด้วยสบู่ตามปกติ เมื่อเสร็จแล้วอย่าเพิ่งเช็ดน้ำที่ติดบนผิวหนังออก แต่ใช้แชมพูยาลูบไปทั่วบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้นาน 5 นาที แล้วจึงอาบน้ำล้างแชมพูออก อย่าปล่อยทิ้งแชมพูยาให้อยู่บนผิวหนังนานเพราะอาจเกิดอาการระคาย จากแชมพูยาได้
- รักษาสุขอนามัย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวควรจะซักและนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้เสมอ
- ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า หรือ ผ้าเช็ดตัว
- แนะนำให้อาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม
2. รังแค
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดรังแคบนหนังศีรษะ คือ “เชื้อรา” ที่เจริญเติบโตได้ดีในอากาศเปียกชื้น โดยเฉพาะในหน้าฝนที่หนังศีรษะมีโอกาสเปียกฝนได้ทุกเมื่อ ทำให้หลายคนจำเป็นต้องสระผมบ่อยขึ้นเพื่อชะล้างเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ที่มากับฝนออกไป แค่เช็ดผมให้แห้งหรือปล่อยให้ผมแห้งเองนั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อรา รังแค และหนังศีรษะได้ ทำให้มีอาการคัน ในบางรายที่รุนแรงรังแคจะมีสีเหลืองเป็นไข เกร็ดใหญ่ขึ้น ซึ่งเกิดจากต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการนอนหลับขณะที่ผมยังเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราและรังแคบนหนังศีรษะ
- หลีกเลี่ยงการขยี้เส้นผมหรือเกาหนังศีรษะแรงๆ ขณะสระผม เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนนำมาสู่ปัญหารังแคและผมร่วมได้
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นสระผม เพราะจะทำให้น้ำมันธรรมชาติถูกชะล้างออกมากไป หนังศีรษะแห้ง และยังทำให้เส้นผมกระด้างด้วย
- หมั่นทำความสะอาดแปรงหรือหวีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพราะสิ่งสกปรกและน้ำมันที่ตกค้างอยู่ตามหวีและแปรงอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้
3. โรคน้ำกัดเท้า
เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังเนื่องจากความเปียกชื้นและการสัมผัสสิ่งสกปรกต่างๆ ในน้ำท่วมขัง มักพบบ่อยในช่วงหน้าฝน เนื่องจากเท้ามีโอกาสเปียกชื้นสูง ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ ผิวหนังเปื่อยลอก โดยเฉพาะซอกนิ้วเท้าอาจมีผื่นแดงคันตามซอกนิ้วเท้าและผิวลอกออกเป็นขุยขาวๆ ได้ ในบางรายอาจมีการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า “Dermatophytes” ร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อราเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น นอกจากนี้ การหมักหมมของเหงื่อและการไม่รักษาความสะอาดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้อีกด้วย
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ
- หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง ให้ใส่รองเท้าบู๊ทยาง
- หลังจากสัมผัสน้ำท่วมขัง ให้ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว
- ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นอยู่เสมอ
- หากมีบาดแผลถลอกในบริเวณที่สัมผัสน้ำสกปรกควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างหลังการสัมผัสทันที
4. เท้าเหม็น
ปัญหาเท้าเหม็นพบบ่อยในคนที่มีเหงื่อออกมากและมีแบคทีเรียประจำกลิ่น ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะเปลี่ยนสารคัดหลั่งและเหงื่อบริเวณผิวหนังให้เป็นกลิ่นเท้า โดยเฉพาะในเพศชาย นักกีฬา นักวิ่ง คนในเครื่องแบบที่ต้องใส่รองเท้าเป็นเวลานาน ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจพบว่าบริเวณฝ่าเท้ามีการเปื่อยยุ่ยหรือเป็นหลุม ถึงแม้ว่าปัญหาเท้าเหม็นจะไม่ใช่ปัญหาสุขภาพโดยตรง แต่ก็ทำให้เสียบุคลิกภาพที่ดี สูญเสียความมั่นใจกันได้
- หมั่นเปลี่ยนรองเท้าบ่อย ๆ และนำรองเท้าผึ่งลมผึ่งแดดบ้าง
- เปลี่ยนถุงเท้าทุกครั้ง ไม่ใส่ซ้ำ และเลือกใส่ถุงเท้าผ้าฝ้ายเพื่อความโปร่งสบาย
- ใช้สารดูดกลิ่นใส่ในรองเท้า หรือสเปรย์ฉีดรองเท้าเพื่อช่วยระงับกลิ่น
- การอาบน้ำถูสบู่ โรยแป้งฝุ่น การใช้ยา หรือการใช้สารระงับกลิ่นที่บริเวณเท้าสามารถช่วยระงับกลิ่นและทำลายแบคทีเรียที่อยู่บริเวณผิวหนังได้
ขอบคุณข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A