
การทำกิจวัตรประจำวันหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม มักจะทำกิจกรรม หรือมีกิจวัตรประจำวันที่ลดลง เนื่องจากการบาดเจ็บหรืออาการปวดบริเวณสะโพก โดยขัดขวางให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมได้อย่างปกติ นั่นเป็นที่มาทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
การดูแลหลังผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เพื่อที่ผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตหรือกิจวัตรประจำวันได้อย่างเดิม อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด การดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก มุ่งเน้นในเรื่องการจัดท่าที่ถูกต้องในการทำกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จะได้กลับไปใช้ชีวิต ทำงาน หรือดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดไป
การขึ้นเตียง (Getting into Bed)
- ยืนหันหลังให้เตียงโดยใช้ Walker ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยให้ขาข้างที่ผ่าตัดค่อย ๆ เหยียดตรงไปด้านหน้าและใช้ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดรับน้ำหนักย่อตัวลงในท่านั่งห้อยขาลงข้างเตียง
- ลงน้ำหนักมือทั้งสองข้างที่เตียงและดันตัวขยับเข้าไปด้านใน
- เอนตัวลงไปด้านหลังให้มาก โดยใช้แขนและศอกทั้งสองข้างประคองตัวไว้
- ค่อย ๆ ยกขาขึ้นเตียงพร้อมกัน โดยผู้ช่วยประคองขาทั้งสองข้างขึ้น ในท่าตรง ระวังการบิดของข้อสะโพก
ข้อควรระวัง ไม่ควรงอสะโพกเกิน 90 องศา และจัดท่าขาอยู่ในท่าตรงตลอด
การพลิกตะแคงตัว (Patient Positioning / Bed Mobility)
เป็นการป้องกัน แผลกดทับ โดยการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และควรจะพิจารณาชนิดของที่นอน โดยใช้เตียงลม หมอน หรือเบาะรองนุ่มๆ เพื่อลดแรงกดทับ
- ให้วางหมอนไว้ระหว่างขาของผู้ป่วย
- ชันขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดขึ้น โดยที่ขาข้างที่ผ่าตัดชันขึ้นเล็กน้อย
- ผู้ดูแลช่วยจับประคองบริเวณเข่าและสะโพก ให้ผู้ป่วยเอื้อมมือจับเตียงและตะแคงตัว โดยพลิกไปพร้อมกันทั้งตัว
การลงเตียง (Getting out of Bed)
- เลื่อนตัวและเหยียดขาให้ตรง นำขามาไว้บริเวณข้างเตียง ใช้แขนทั้งสองข้างดันตัว ลุกขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง เหยียดตัวให้ตรงมากที่สุด อาจมีผู้ช่วยประคองก่อนในช่วงแรกเพื่อความปลอดภัย
- ค่อยๆ เลื่อนขาทั้งสองข้างลงจากเตียงพร้อมกัน พยายามให้ขาทั้งสองข้างอยู่ในท่าตรง และระวังการบิดของข้อสะโพก
- ค่อยๆ เลื่อนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย จนเท้าทั้งสองข้างแตะพื้น จัดท่าให้ขากางพอควร
- การลุกขึ้นยืน ให้ผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างจับ walker ออกแรงแขนและไหล่ช่วยดันตัวขึ้นยืน
การย้ายตัวลงนั่ง (Transfer Stand to Sit)
- เดินด้วย Walker หรือไม้ค้ำยัน เข้ามาที่เก้าอี้นั่ง
- ค่อย ๆ หมุนตัว โดยหันหลังให้ชิดกับเก้าอี้
- ค่อย ๆ เลื่อนขาข้างที่ผ่าตัดหรือข้างที่มีแรงน้อยกว่าไปด้านหน้าช้า ๆ จัดท่าให้ขาอยู่ในท่าเหยียดตรงมากที่สุด
- ในกรณีใช้ไม้ค้ำยัน ให้ใช้แขนด้านตรงข้ามกับข้างที่ผ่าตัด พยุงไม้ค้ำยันไว้ ขณะเดียวกันมืออีกด้านนึง จับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครกไว้
ในกรณีใช้ Walker ใช้มือด้านใดด้านหนี่ง เอื้อมไปด้านหลังและจับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครก ส่วนอีกข้างหนึ่งจับ Walker ไว้
- ลงน้ำหนักที่ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แล้วค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง
ข้อควรระวัง ไม่ควรงอสะโพกเกิน 90 องศา และจัดท่าขาอยู่ในท่าตรงตลอด
การย้ายตัวจากท่านั่งไปท่ายืน (Transfer Sit to Stand)
- ค่อย ๆ เลื่อน ขาข้างที่ผ่าตัดไปด้านหน้า โดยให้ขาเหยียดตรงมากที่สุด และไม่งอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ค่อยๆ เลื่อนสะโพกมาทางด้านหน้าของเบาะนั่งช้า ๆ จัดท่าป้องกันการบิดของสะโพก
- ขยับขาข้างที่ผ่าตัดเลื่อนไปด้านหน้าอีกครั้ง
- มือทั้งสองข้างจับพนักพิงเก้าอี้นั่ง แล้วลงน้ำหนักที่ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แล้วดันตัวขึ้นยืน
- เอื้อมมือจับไม้ค้ำยันมาค้ำไว้ด้านที่ไม่ได้ผ่าตัด หรือ จับ Walker ไว้ แล้วค่อย ๆ ก้าวเดิน
ข้อควรระวัง ก่อนลุกขึ้นยืนทุกครั้ง ควรขยับและเลื่อนสะโพกมาทางด้านหน้าทุกครั้ง
การอาบน้ำ
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงเก้าอี้นั่งอาบน้ำ ให้หันหลังเข้าชิดเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
- เอื้อมมือด้านหนึ่งไปจับเก้าอี้ ในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อย ๆ ปล่อยมือจาก Walker
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่งบนเก้าอี้นั่งอาบน้ำ โดยให้ขาข้างที่ผ่าตัด เหยียดไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง ระมัดระวังอย่าก้มตัวและงอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ค่อยๆ เลื่อนตัวเข้าไปนั่งให้มั่นคง และทำการอาบน้ำ
การขึ้น – ลงรถยนต์
- เปิดประตูรถให้กว้างที่สุด แล้วปรับเบาะนั่งให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย
- เดินโดยใช้ Walker หรือไม้ค้ำยัน แล้วหันหลังให้เบาะนั่ง
- ใช้มือด้านที่ใกล้คอนโซลหน้ารถเอื้อมไปจับไว้ อีกด้านหนึ่งจับเบาะนั่งส่วนบนไว้
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยลงน้ำหนักขาด้านที่ไม่ได้ผ่าตัด ส่วนขาด้านที่ผ่าตัดให้เหยียดตรงแล้วค่อย ๆ เคลื่อนไปด้านหน้า แล้วนั่งให้พอดีเบาะนั่ง
- ค่อย ๆ ยกขาขึ้นรถพร้อมกันทั้งสองข้าง อาจจะใช้มือช่วยยกขาด้านที่ผ่าตัดขึ้นรถ โดยข้อเข่าไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพก และไม่ควรงอสะโพกมากกว่า 90 องศา ควรมีผู้ช่วยคอยระวังและประคองอยู่ใกล้ ๆ
- จัดท่าทางให้ผ่อนคลาย กรณีขับรถเอง ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง
ข้อควรระวังในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ทุก ๆ การเคลื่อนไหว ให้ระวัง ดังนี้
- ระวังการงอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ระวังการบิดของสะโพก
- ระวังการหุบขา
- ท่าที่ไม่ควรทำขณะนั่งเก้าอี้
- ท่าที่ไม่ควรทำขณะนั่งอาบน้ำ
การออกกำลังกายสำหรับผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม มักจะทำกิจกรรม หรือมีกิจวัตรประจำวันที่ลดลง เนื่องจากการบาดเจ็บหรืออาการปวดบริเวณสะโพก โดยขัดขวางให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมได้อย่างปกติ นั่นเป็นที่มาทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
การดูแลหลังผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เพื่อที่ผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตหรือกิจวัตรประจำวันได้อย่างเดิม อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด การดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก มุ่งเน้นในเรื่องการจัดท่าที่ถูกต้องในการทำกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จะได้กลับไปใช้ชีวิต ทำงาน หรือดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดไป
การขึ้นเตียง (Getting into Bed)
- ยืนหันหลังให้เตียงโดยใช้ Walker ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยให้ขาข้างที่ผ่าตัดค่อย ๆ เหยียดตรงไปด้านหน้าและใช้ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดรับน้ำหนักย่อตัวลงในท่านั่งห้อยขาลงข้างเตียง
- ลงน้ำหนักมือทั้งสองข้างที่เตียงและดันตัวขยับเข้าไปด้านใน
- เอนตัวลงไปด้านหลังให้มาก โดยใช้แขนและศอกทั้งสองข้างประคองตัวไว้
- ค่อย ๆ ยกขาขึ้นเตียงพร้อมกัน โดยผู้ช่วยประคองขาทั้งสองข้างขึ้น ในท่าตรง ระวังการบิดของข้อสะโพก
ข้อควรระวัง ไม่ควรงอสะโพกเกิน 90 องศา และจัดท่าขาอยู่ในท่าตรงตลอด
การพลิกตะแคงตัว (Patient Positioning / Bed Mobility)
เป็นการป้องกัน แผลกดทับ โดยการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และควรจะพิจารณาชนิดของที่นอน โดยใช้เตียงลม หมอน หรือเบาะรองนุ่มๆ เพื่อลดแรงกดทับ
- ให้วางหมอนไว้ระหว่างขาของผู้ป่วย
- ชันขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดขึ้น โดยที่ขาข้างที่ผ่าตัดชันขึ้นเล็กน้อย
- ผู้ดูแลช่วยจับประคองบริเวณเข่าและสะโพก ให้ผู้ป่วยเอื้อมมือจับเตียงและตะแคงตัว โดยพลิกไปพร้อมกันทั้งตัว
การลงเตียง (Getting out of Bed)
- เลื่อนตัวและเหยียดขาให้ตรง นำขามาไว้บริเวณข้างเตียง ใช้แขนทั้งสองข้างดันตัว ลุกขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง เหยียดตัวให้ตรงมากที่สุด อาจมีผู้ช่วยประคองก่อนในช่วงแรกเพื่อความปลอดภัย
- ค่อยๆ เลื่อนขาทั้งสองข้างลงจากเตียงพร้อมกัน พยายามให้ขาทั้งสองข้างอยู่ในท่าตรง และระวังการบิดของข้อสะโพก
- ค่อยๆ เลื่อนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย จนเท้าทั้งสองข้างแตะพื้น จัดท่าให้ขากางพอควร
- การลุกขึ้นยืน ให้ผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างจับ walker ออกแรงแขนและไหล่ช่วยดันตัวขึ้นยืน
การย้ายตัวลงนั่ง (Transfer Stand to Sit)
- เดินด้วย Walker หรือไม้ค้ำยัน เข้ามาที่เก้าอี้นั่ง
- ค่อย ๆ หมุนตัว โดยหันหลังให้ชิดกับเก้าอี้
- ค่อย ๆ เลื่อนขาข้างที่ผ่าตัดหรือข้างที่มีแรงน้อยกว่าไปด้านหน้าช้า ๆ จัดท่าให้ขาอยู่ในท่าเหยียดตรงมากที่สุด
- ในกรณีใช้ไม้ค้ำยัน ให้ใช้แขนด้านตรงข้ามกับข้างที่ผ่าตัด พยุงไม้ค้ำยันไว้ ขณะเดียวกันมืออีกด้านนึง จับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครกไว้
ในกรณีใช้ Walker ใช้มือด้านใดด้านหนี่ง เอื้อมไปด้านหลังและจับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครก ส่วนอีกข้างหนึ่งจับ Walker ไว้
- ลงน้ำหนักที่ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แล้วค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง
ข้อควรระวัง ไม่ควรงอสะโพกเกิน 90 องศา และจัดท่าขาอยู่ในท่าตรงตลอด
การย้ายตัวจากท่านั่งไปท่ายืน (Transfer Sit to Stand)
- ค่อย ๆ เลื่อน ขาข้างที่ผ่าตัดไปด้านหน้า โดยให้ขาเหยียดตรงมากที่สุด และไม่งอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ค่อยๆ เลื่อนสะโพกมาทางด้านหน้าของเบาะนั่งช้า ๆ จัดท่าป้องกันการบิดของสะโพก
- ขยับขาข้างที่ผ่าตัดเลื่อนไปด้านหน้าอีกครั้ง
- มือทั้งสองข้างจับพนักพิงเก้าอี้นั่ง แล้วลงน้ำหนักที่ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด แล้วดันตัวขึ้นยืน
- เอื้อมมือจับไม้ค้ำยันมาค้ำไว้ด้านที่ไม่ได้ผ่าตัด หรือ จับ Walker ไว้ แล้วค่อย ๆ ก้าวเดิน
ข้อควรระวัง ก่อนลุกขึ้นยืนทุกครั้ง ควรขยับและเลื่อนสะโพกมาทางด้านหน้าทุกครั้ง
การอาบน้ำ
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงเก้าอี้นั่งอาบน้ำ ให้หันหลังเข้าชิดเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
- เอื้อมมือด้านหนึ่งไปจับเก้าอี้ ในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อย ๆ ปล่อยมือจาก Walker
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่งบนเก้าอี้นั่งอาบน้ำ โดยให้ขาข้างที่ผ่าตัด เหยียดไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง ระมัดระวังอย่าก้มตัวและงอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ค่อยๆ เลื่อนตัวเข้าไปนั่งให้มั่นคง และทำการอาบน้ำ
การขึ้น – ลงรถยนต์
- เปิดประตูรถให้กว้างที่สุด แล้วปรับเบาะนั่งให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย
- เดินโดยใช้ Walker หรือไม้ค้ำยัน แล้วหันหลังให้เบาะนั่ง
- ใช้มือด้านที่ใกล้คอนโซลหน้ารถเอื้อมไปจับไว้ อีกด้านหนึ่งจับเบาะนั่งส่วนบนไว้
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยลงน้ำหนักขาด้านที่ไม่ได้ผ่าตัด ส่วนขาด้านที่ผ่าตัดให้เหยียดตรงแล้วค่อย ๆ เคลื่อนไปด้านหน้า แล้วนั่งให้พอดีเบาะนั่ง
- ค่อย ๆ ยกขาขึ้นรถพร้อมกันทั้งสองข้าง อาจจะใช้มือช่วยยกขาด้านที่ผ่าตัดขึ้นรถ โดยข้อเข่าไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพก และไม่ควรงอสะโพกมากกว่า 90 องศา ควรมีผู้ช่วยคอยระวังและประคองอยู่ใกล้ ๆ
- จัดท่าทางให้ผ่อนคลาย กรณีขับรถเอง ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง
ข้อควรระวังในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
ทุก ๆ การเคลื่อนไหว ให้ระวัง ดังนี้
- ระวังการงอสะโพกมากกว่า 90 องศา
- ระวังการบิดของสะโพก
- ระวังการหุบขา
- ท่าที่ไม่ควรทำขณะนั่งเก้าอี้
- ท่าที่ไม่ควรทำขณะนั่งอาบน้ำ
การออกกำลังกายสำหรับผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม