ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากอะไร

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) หมายถึง โรคผมร่วงที่มีลักษณะการร่วงเป็นหย่อม อาจมีเพียงหย่อมเดียว หรือหลายหย่อม สามารถเกิดได้กับทุกบริเวณของร่างกายที่มีผม หรือขน และพบว่าโรคนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ผู้ชาย และผู้หญิงเป็นได้พอ ๆ กัน เกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่กระบวนการเกิดผมร่วงเกิดจากการที่

  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการต่อต้านเซลล์บริเวณรากผม จึงทำให้เกิดผมร่วง
  • พันธุกรรมอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อม
  • โรคผมร่วงเป็นหย่อมมักเกิดร่วมกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเซลล์ตนเอง เช่น โรคไทรอยด์ โรคด่างขาว เป็นต้น

อาการ

  • ผมร่วงเป็นหย่อมๆ จะมีขอบเขตชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นที่ศีรษะอาจจะเป็นวงเดียว

หรือหลายวง

  • หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะเห็นผิวหนังเลี่ยนแต่มีสีปกติ ไม่มีอาการอักเสบ หรือเป็นขุย  หรืออาจจะมีผมเหลืออยู่เป็นตอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 0.5 ซ.ม.
  • ตรงปลายผมจะหนา และโคนผมเรียวลงคล้ายเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!)
  • ในรายที่เป็นมากอาจจะมีผมร่วงจนหมดทั้งศีรษะ
  • นอกจากนี้อาจพบขนร่วงบริเวณอื่นได้อีกด้วย เช่น ตา คิ้ว หนวด เครา รักแร้ และหัวหน่าว เป็นต้น

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ

  • ในรายที่มีลักษณะไม่ชัดเจน หรือมีอาการสงสัยโรคอื่น  อาจจะต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจหาเชื้อราด้วยการขูดขุย  เจาะเลือดเพื่อตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส  ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์  ตรวจหาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เป็นต้น

แนวทางการรักษา

  • เริ่มต้นใช้ยาทาสเตียรอยด์ชนิดแรง หรือฉีดยาสเตียรอยตรงบริเวณที่เป็นทุก 4 สัปดาห์
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจใช้สเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์ หากไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยากลุ่มอื่น ได้แก่ การทายา Diphenylcyclopropenone (DCP)  หรือทานยายับยั้งเอนไซม์ JAKs (JAK inhibitors)


ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) หมายถึง โรคผมร่วงที่มีลักษณะการร่วงเป็นหย่อม อาจมีเพียงหย่อมเดียว หรือหลายหย่อม สามารถเกิดได้กับทุกบริเวณของร่างกายที่มีผม หรือขน และพบว่าโรคนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ผู้ชาย และผู้หญิงเป็นได้พอ ๆ กันเกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่กระบวนการเกิดผมร่วงเกิดจากการที่

  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการต่อต้านเซลล์บริเวณรากผม จึงทำให้เกิดผมร่วง
  • พันธุกรรมอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อม
  • โรคผมร่วงเป็นหย่อมมักเกิดร่วมกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเซลล์ตนเอง เช่น โรคไทรอยด์ โรคด่างขาว เป็นต้น

อาการ

  • ผมร่วงเป็นหย่อมๆ จะมีขอบเขตชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นที่ศีรษะอาจจะเป็นวงเดียว

หรือหลายวง

  • หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะเห็นผิวหนังเลี่ยนแต่มีสีปกติ ไม่มีอาการอักเสบ หรือเป็นขุย  หรืออาจจะมีผมเหลืออยู่เป็นตอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 0.5 ซ.ม.
  • ตรงปลายผมจะหนา และโคนผมเรียวลงคล้ายเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!)
  • ในรายที่เป็นมากอาจจะมีผมร่วงจนหมดทั้งศีรษะ
  • นอกจากนี้อาจพบขนร่วงบริเวณอื่นได้อีกด้วย เช่น ตา คิ้ว หนวด เครา รักแร้ และหัวหน่าว เป็นต้น

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ

  • ในรายที่มีลักษณะไม่ชัดเจน หรือมีอาการสงสัยโรคอื่น  อาจจะต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจหาเชื้อราด้วยการขูดขุย  เจาะเลือดเพื่อตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส  ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์  ตรวจหาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เป็นต้น

แนวทางการรักษา

  • เริ่มต้นใช้ยาทาสเตียรอยด์ชนิดแรง หรือฉีดยาสเตียรอยตรงบริเวณที่เป็นทุก 4 สัปดาห์
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจใช้สเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์ หากไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยากลุ่มอื่น ได้แก่ การทายา Diphenylcyclopropenone (DCP)  หรือทานยายับยั้งเอนไซม์ JAKs (JAK inhibitors)


ข้อมูลจาก : พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง