การผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการบาดเจ็บข้อมือ

อาการบาดเจ็บของข้อมือในปัจจุบันพบบ่อยมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีกิจกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ขี่จักรยาน เล่นโยคะ ทำให้เกิดเอ็นยึดข้อมือฉีกขาดมากขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะมีอาการปวดเจ็บในกิจวัตรประจำวัน เช่น เปิด - ปิดลูกบิดประตู คว่ำมือยกของ ผลักประตูให้เปิดออก เป็นต้น

อาการบาดเจ็บของข้อมือในปัจจุบันพบบ่อยมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีกิจกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดเอ็นยึดข้อมือฉีกขาดมากขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะมีอาการปวดเจ็บในกิจวัตรประจำวัน

การรักษา
การรักษาเอ็นข้อมือฉีกขาดในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด แต่จะให้การรักษาด้วยวิธีฉีดยาเข้าที่เอ็นข้อมือ และใส่ที่ประคองข้อมือหรือเข้าเฝือก ในบางกรณีอาจมีการผ่าตัดโดยการลงมีดบนผิวหนัง (ผ่าตัดแบบเปิด) ซึ่งมีข้อเสีย คือ แผลมีขนาดใหญ่ และภายหลังการผ่าตัดจะมีพังผืดเกิดขึ้นตามขนาดแผลที่มากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อมือลดลงเนื่องจากเกิดพังผืด

การผ่าตัดส่องกล้อง เนื่องจากข้อมือเป็นข้อที่มีขนาดเล็ก จึงต้องมีอุปกรณ์จำเพาะในการดึงข้อมือเพื่อให้ข้อต่อมีช่องว่างเพียงพอที่จะใส่กล้องขนาดเล็กผ่านเข้าไปในข้อต่อเพื่อช่วยในการรักษาผ่าตัด เช่น เย็บซ่อมเอ็น ใส่โลหะยึดกระดูกข้อมือที่หัก

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้อง

  • แผลมีขนาดเล็ก และหลังผ่าตัดจะเกิดพังผืดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
  • สามารถเห็นพยาธิสภาพหรืออาการบาดเจ็บในข้อได้ชัดเจนกว่าการมองด้วยตาเปล่า ส่งผลดีต่อการวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาและการลงมือผ่าตัดรักษา

ข้อจำกัด
แม้ว่าการผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการบาดเจ็บข้อมือจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาแต่ก็ยังมีข้อจำกัด เพราะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บข้อมือในกลุ่มอาการข้อมือไม่มั่นคง เจ็บ และหลวม ซึ่งบางรายไม่มีประวัติอุบัติเหตุที่ชัดเจน เช่น ขี่จักรยานตกหลุมแต่ข้อมือไม่ได้รับการกระแทกโดยตรง ยกของหนักจนบางครั้งได้ยินเสียง “กึก” และปวดที่ข้อมือ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

อาการบาดเจ็บของข้อมือในปัจจุบันพบบ่อยมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีกิจกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ขี่จักรยาน เล่นโยคะ ทำให้เกิดเอ็นยึดข้อมือฉีกขาดมากขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะมีอาการปวดเจ็บในกิจวัตรประจำวัน เช่น เปิด - ปิดลูกบิดประตู คว่ำมือยกของ ผลักประตูให้เปิดออก เป็นต้น

อาการบาดเจ็บของข้อมือในปัจจุบันพบบ่อยมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีกิจกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดเอ็นยึดข้อมือฉีกขาดมากขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะมีอาการปวดเจ็บในกิจวัตรประจำวัน

การรักษา
การรักษาเอ็นข้อมือฉีกขาดในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด แต่จะให้การรักษาด้วยวิธีฉีดยาเข้าที่เอ็นข้อมือ และใส่ที่ประคองข้อมือหรือเข้าเฝือก ในบางกรณีอาจมีการผ่าตัดโดยการลงมีดบนผิวหนัง (ผ่าตัดแบบเปิด) ซึ่งมีข้อเสีย คือ แผลมีขนาดใหญ่ และภายหลังการผ่าตัดจะมีพังผืดเกิดขึ้นตามขนาดแผลที่มากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อมือลดลงเนื่องจากเกิดพังผืด

การผ่าตัดส่องกล้อง
เนื่องจากข้อมือเป็นข้อที่มีขนาดเล็ก จึงต้องมีอุปกรณ์จำเพาะในการดึงข้อมือเพื่อให้ข้อต่อมีช่องว่างเพียงพอที่จะใส่กล้องขนาดเล็กผ่านเข้าไปในข้อต่อเพื่อช่วยในการรักษาผ่าตัด เช่น เย็บซ่อมเอ็น ใส่โลหะยึดกระดูกข้อมือที่หัก

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้อง

  • แผลมีขนาดเล็ก และหลังผ่าตัดจะเกิดพังผืดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
  • สามารถเห็นพยาธิสภาพหรืออาการบาดเจ็บในข้อได้ชัดเจนกว่าการมองด้วยตาเปล่า ส่งผลดีต่อการวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาและการลงมือผ่าตัดรักษา

ข้อจำกัด
แม้ว่าการผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการบาดเจ็บข้อมือจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาแต่ก็ยังมีข้อจำกัด เพราะไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บข้อมือในกลุ่มอาการข้อมือไม่มั่นคง เจ็บ และหลวม ซึ่งบางรายไม่มีประวัติอุบัติเหตุที่ชัดเจน เช่น ขี่จักรยานตกหลุมแต่ข้อมือไม่ได้รับการกระแทกโดยตรง ยกของหนักจนบางครั้งได้ยินเสียง “กึก” และปวดที่ข้อมือ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง