
การใช้ยาแอสไพรินกับโรคหลอดเลือดสมอง (Aspirin and Stroke)
แอสไพรินคืออะไร?
แอสไพริน เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อนต่าง ๆ และมีฤทธิ์ลดไข้ นอกจากนี้ฤทธิ์ที่สำคัญของยานี้ที่ใช้อย่างแพร่หลาย คือ ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด ทำให้ยานี้ถูกใช้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดสมองอุดตัน และเส้นเลือดแดงที่ขาอุดตัน
กลไกการออกฤทธิ์
- ยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบ
- ยับยั้งการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ดังนั้น ผลที่ได้จากการใช้ยาแอสไพริน นอกจากจะบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ยากมากขึ้น
ข้อบ่งใช้และขนาดยา
การใช้ยาแอสไพรินมี 2 ข้อบ่งใช้
- ใช้ตามอาการเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและลดไข้ ขนาดยาแอสไพรินในข้อบ่งใช้นี้ควรเป็นขนาดยาที่สูง คือ 325 - 650 มิลลิกรัม
- ใช้เพื่อต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันหลอดเลือด และการใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด
หากผู้ป่วยไม่เคยได้รับยาแอสไพรินมาก่อน ในวันแรกที่มีอาการแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแอสไพรินขนาด 300 - 325 มิลลิกรัม เพื่อให้ระดับยาในเลือดมากพอ และเกิดการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดการอุดตันหลอดเลือดซ้ำอีก จากนั้นจะลดขนาดยาลงเป็นแอสไพรินขนาดต่ำลง เช่น 81 มิลลิกรัม โดยรับประทานหลังอาหารทันที โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำต่อเนื่องไปตลอดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของภาวะหลอดเลือดอุดตัน
ข้อควรระวัง/ข้อห้าม
- ระวังการใช้ยาในเด็กหรือวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อไวรัส โดยจะทำให้เกิดอาการของตับอักเสบ และสมองอักเสบ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในเด็กอายุน้อยกว่า 16-19 ปี
- ยาจะทำให้อาการเลือดออกผิดปกติเกิดได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดของยากลุ่มนี้ จึงควรสังเกตอาการ (จุดจ้ำเลือดขึ้นตามผิวหนัง) หลังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ทันที ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น ผู้ป่วยโรคเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยไข้เลือดออก
- ผู้ป่วยที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟัน คนไข้ต้องหยุดยาแอสไพรินล่วงหน้าประมาณ 7 วันก่อนทำหัตถการ และต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ห้ามหยุดยาเอง
- ไม่ควรหักแบ่งยา เพราะตัวยาที่ถูกเคลือบไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดออกผิดปกติ
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแอสไพริน และแพ้ยาอื่น ๆ ในกลุ่ม NSAIDs
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยาจะไปหดหลอดลม ส่งผลให้โรคหืดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากส่งผลต่อทารกในครรภ์
อาการข้างเคียง
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง
- ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แผลในทางเดินอาหาร
- หลอดลมตีบ โรคหืดกำเริบ
- เลือดออกผิดปกติ
- ผื่นลมพิษ
แอสไพริน ป้องกัน Stroke ได้จริงหรือ?
แนะนำการใช้ยาแอสไพริน ในขนาดต่ำ คือ 75 - 100 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแบบปฐมภูมิ (Primary prevention) ในผู้ป่วยอายุ 40 - 70 ปี เฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และต้องมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกต่ำ
อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาในผู้ป่วยที่แพทย์ได้ทำการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมองอย่างแท้จริง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกต่ำ
ไม่แนะนำการใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแบบปฐมภูมิ ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เช่น
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคแผลลึกในทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกได้ เช่น ยาแก้ปวดแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เป็นต้น
หากมีข้อสงสัยว่า ควรได้รับยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ควรเริ่มการใช้ยาด้วยตนเอง หรือหากท่านรับประทานยาแอสไพรินอยู่แล้ว และมีข้อสงสัยว่าควรรับประทานยาแอสไพรินต่อหรือไม่ ควรทำการปรึกษาแพทย์มากกว่าการพิจารณาหยุดใช้ยาด้วยตนเอง
ความเชื่อ vs ข้อเท็จจริง
โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถป้องกันได้
- โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้หลายวิธี
โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถรักษาได้
- โรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน
โรคหลอดเลือดสมองเกิดได้กับผู้สูงอายุเท่านั้น
- โรคหลอดเลือดสมองเกิดได้กับทุกคน
การฟื้นตัวของโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังเป็นโรค
- การฟื้นตัวของโรคหลอดเลือดสมองจะดำเนินต่อไปตลอดชีวิต
ยาแอสไพรินเป็นตัวช่วยที่ดีที่ควรมีติดบ้าน
- ยาแอสไพรินแม้ว่าจะช่วยสลายลิ่มเลือด แต่ไม่เสมอไป
โรคหลอดเลือดสมองไม่เกิดขึ้นซ้ำภายในครอบครัว
- หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2
แอสไพรินคืออะไร?
แอสไพริน เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อนต่าง ๆ และมีฤทธิ์ลดไข้ นอกจากนี้ฤทธิ์ที่สำคัญของยานี้ที่ใช้อย่างแพร่หลาย คือ ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด ทำให้ยานี้ถูกใช้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดสมองอุดตัน และเส้นเลือดแดงที่ขาอุดตัน
กลไกการออกฤทธิ์
- ยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบ
- ยับยั้งการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ดังนั้น ผลที่ได้จากการใช้ยาแอสไพริน นอกจากจะบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ยากมากขึ้น
ข้อบ่งใช้และขนาดยา
การใช้ยาแอสไพรินมี 2 ข้อบ่งใช้
- ใช้ตามอาการเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและลดไข้ ขนาดยาแอสไพรินในข้อบ่งใช้นี้ควรเป็นขนาดยาที่สูง คือ 325 - 650 มิลลิกรัม
- ใช้เพื่อต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันหลอดเลือด และการใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด
หากผู้ป่วยไม่เคยได้รับยาแอสไพรินมาก่อน ในวันแรกที่มีอาการแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแอสไพรินขนาด 300 - 325 มิลลิกรัม เพื่อให้ระดับยาในเลือดมากพอ และเกิดการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดการอุดตันหลอดเลือดซ้ำอีก จากนั้นจะลดขนาดยาลงเป็นแอสไพรินขนาดต่ำลง เช่น 81 มิลลิกรัม โดยรับประทานหลังอาหารทันที โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำต่อเนื่องไปตลอดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของภาวะหลอดเลือดอุดตัน
ข้อควรระวัง/ข้อห้าม
- ระวังการใช้ยาในเด็กหรือวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อไวรัส โดยจะทำให้เกิดอาการของตับอักเสบ และสมองอักเสบ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในเด็กอายุน้อยกว่า 16-19 ปี
- ยาจะทำให้อาการเลือดออกผิดปกติเกิดได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดของยากลุ่มนี้ จึงควรสังเกตอาการ (จุดจ้ำเลือดขึ้นตามผิวหนัง) หลังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ทันที ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น ผู้ป่วยโรคเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยไข้เลือดออก
- ผู้ป่วยที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟัน คนไข้ต้องหยุดยาแอสไพรินล่วงหน้าประมาณ 7 วันก่อนทำหัตถการ และต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ห้ามหยุดยาเอง
- ไม่ควรหักแบ่งยา เพราะตัวยาที่ถูกเคลือบไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดออกผิดปกติ
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแอสไพริน และแพ้ยาอื่น ๆ ในกลุ่ม NSAIDs
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยาจะไปหดหลอดลม ส่งผลให้โรคหืดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากส่งผลต่อทารกในครรภ์
อาการข้างเคียง
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง
- ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แผลในทางเดินอาหาร
- หลอดลมตีบ โรคหืดกำเริบ
- เลือดออกผิดปกติ
- ผื่นลมพิษ
แอสไพริน ป้องกัน Stroke ได้จริงหรือ?
แนะนำการใช้ยาแอสไพริน ในขนาดต่ำ คือ 75 - 100 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแบบปฐมภูมิ (Primary prevention) ในผู้ป่วยอายุ 40 - 70 ปี เฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และต้องมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกต่ำ
อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาในผู้ป่วยที่แพทย์ได้ทำการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมองอย่างแท้จริง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกต่ำ
ไม่แนะนำการใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแบบปฐมภูมิ ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เช่น
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคแผลลึกในทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกได้ เช่น ยาแก้ปวดแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เป็นต้น
หากมีข้อสงสัยว่า ควรได้รับยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ควรเริ่มการใช้ยาด้วยตนเอง หรือหากท่านรับประทานยาแอสไพรินอยู่แล้ว และมีข้อสงสัยว่าควรรับประทานยาแอสไพรินต่อหรือไม่ ควรทำการปรึกษาแพทย์มากกว่าการพิจารณาหยุดใช้ยาด้วยตนเอง
ความเชื่อ vs ข้อเท็จจริง
โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถป้องกันได้
- โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้หลายวิธี
โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถรักษาได้
- โรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน
โรคหลอดเลือดสมองเกิดได้กับผู้สูงอายุเท่านั้น
- โรคหลอดเลือดสมองเกิดได้กับทุกคน
การฟื้นตัวของโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังเป็นโรค
- การฟื้นตัวของโรคหลอดเลือดสมองจะดำเนินต่อไปตลอดชีวิต
ยาแอสไพรินเป็นตัวช่วยที่ดีที่ควรมีติดบ้าน
- ยาแอสไพรินแม้ว่าจะช่วยสลายลิ่มเลือด แต่ไม่เสมอไป
โรคหลอดเลือดสมองไม่เกิดขึ้นซ้ำภายในครอบครัว
- หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2