โรคไข้หวัดนกคืออะไร
โรคไข้หวัดนก avian influenza หรือ bird flu คือไข้หวัดใหญ่จากเชื้อ influenza A ซึ่งเกิดขึ้นในสัตว์ปีก เช่นนก เป็ด ไก่ ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ หรือถูกเลี้ยงในโรงเรือน ซึ่งสายพันธ์ H5N1ทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว
สัตว์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกสามารถติดต่อได้ในสัตว์ปีกทุกชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง
โรคไข้หวัดนกติดต่อมาสู่คนได้อย่างไร
โรคไข้หวัดนกสามารถติดต่อจากสัตว์ปีกมาสู่คนได้ ทั้งจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ปีกที่ป่วยโดยตรง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำลายของสัตว์ปีก หรือเกิดจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อม พื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากสัตว์ปีกที่ป่วย สำหรับการติดต่อจากคนสู่คนมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดนกมีอาการอย่างไร
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก คือผู้ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการ
อาการ
- มีไข้สูง
- ทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอและหายใจเหนื่อยหอบจากปอดอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายพบภาวะแทรกซ้อนทางปอดรุนแรงคือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
- ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย
- ทางระบบประสาท เช่น ซึม ชัก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมากจะมีภาวะการทำงานของหลายอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิต
กลุ่มผู้ป่วยที่มักจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
วิธีการรักษา
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้โรงพยาบาลจะต้องมีแนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะต้องใช้ห้องแยกโรค และใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม
การป้องกันทำได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสัตว์ปีกโดยตรง
- หากมีการสัมผัสควรใช้สบู่ล้างมือให้สะอาดทันที
- ผู้ที่ต้องทำงานกับสัตว์ปีกควรสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม เช่น หน้ากากปิดจมูก ถุงมือ แว่นตา
- ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ มาปรุงอาหารเด็ดขาด
- รับประทานอาหารปรุงสุก และสะอาด
นอกจากนี้อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนก โดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
ตรวจบทความโดย : พญ. พัชรวรรณ ยุกแผน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D
ที่มา : https://www.pidst.or.th/A710.html
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=312
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/4068420240212070443.pdf
โรคไข้หวัดนก avian influenza หรือ bird flu คือไข้หวัดใหญ่จากเชื้อ influenza A ซึ่งเกิดขึ้นในสัตว์ปีก เช่นนก เป็ด ไก่ ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ หรือถูกเลี้ยงในโรงเรือน ซึ่งสายพันธ์ H5N1ทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว
สัตว์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกสามารถติดต่อได้ในสัตว์ปีกทุกชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง
โรคไข้หวัดนกติดต่อมาสู่คนได้อย่างไร
โรคไข้หวัดนกสามารถติดต่อจากสัตว์ปีกมาสู่คนได้ ทั้งจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ปีกที่ป่วยโดยตรง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำลายของสัตว์ปีก หรือเกิดจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อม พื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากสัตว์ปีกที่ป่วย สำหรับการติดต่อจากคนสู่คนมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดนกมีอาการอย่างไร
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก คือผู้ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการ
อาการ
- มีไข้สูง
- ทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอและหายใจเหนื่อยหอบจากปอดอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายพบภาวะแทรกซ้อนทางปอดรุนแรงคือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
- ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย
- ทางระบบประสาท เช่น ซึม ชัก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมากจะมีภาวะการทำงานของหลายอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิต
กลุ่มผู้ป่วยที่มักจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
วิธีการรักษา
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้โรงพยาบาลจะต้องมีแนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะต้องใช้ห้องแยกโรค และใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม
การป้องกันทำได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสัตว์ปีกโดยตรง
- หากมีการสัมผัสควรใช้สบู่ล้างมือให้สะอาดทันที
- ผู้ที่ต้องทำงานกับสัตว์ปีกควรสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม เช่น หน้ากากปิดจมูก ถุงมือ แว่นตา
- ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ มาปรุงอาหารเด็ดขาด
- รับประทานอาหารปรุงสุก และสะอาด
นอกจากนี้อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนก โดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
ตรวจบทความโดย : พญ. พัชรวรรณ ยุกแผน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D
ที่มา : https://www.pidst.or.th/A710.html
https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=312
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/4068420240212070443.pdf