เทคนิคการเลือกดื่มนมสำหรับคนที่ดื่มนมแล้วปวดท้อง ท้องเสีย และการเลือกโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์

คุณเคยสงสัยหรือไม่? ว่าทำไมหลังดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมไปแล้ว 30 นาที – 2 ชั่วโมง บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือเกิดแก๊สในกระเพาะอยู่บ่อย ๆ นั่นอาจจะเป็นเพราะคนเหล่านั้นเกิดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แลคเตส (Lactase deficiency) ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์แลคเตส (lactase) ไม่เพียงพอ เพื่อมาย่อยน้ำตาลแลคโตส (lactose) ในนมนั่นเอง

เทคนิคการเลือกซื้อนมและวิธีปรับการดื่มนม เมื่อเกิดภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส

  1. หากไม่ได้ดื่มนมมาเป็นเวลานาน แนะนำค่อย ๆ เริ่มดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมในปริมาณน้อย และสังเกตอาการท้องอืด ท้องเสีย เป็นระยะ หากไม่มีอาการเกิดขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการบริโภคในครั้งต่อไป
  2. ไม่รับประทานนมและผลิตภัณฑ์นมตอนท้องว่าง อาจรับประทานคู่กับขนมปังหรือแครกเกอร์
  3. เลือกดื่มนมจากพืชที่มีระบุบนฉลากว่า เสริมแคลเซียม และน้ำตาลน้อย เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมโอ๊ต เป็นต้น
  4. เลือกผลิตภัณฑ์นมที่ระบุข้างฉลากว่า แลคโตสฟรี (lactose free) ซึ่งจะไม่มีน้ำตาล lactose ที่เป็นสาเหตุทำให้ไม่สบายท้อง

โยเกิร์ต สูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) และวิธีการเลือกซื้อ

โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโอกาสการเกิดโรคได้ เพิ่มเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต มิโซะ เทมเป้ กิมจิ เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ซิมไบโอติกส์ (Symbiotic) คือมีทั้งโพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics-อาหารของจุลินทรีย์) อยู่ทั้งในรูปแบบของผงชงดื่ม ยาอัดเม็ด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงมีรายละเอียดของส่วนประกอบระบุข้างฉลากอย่างชัดเจน

วิธีการเลือกซื้อโยเกิร์ตสูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic)

  1. เลือกสูตรที่มีสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตยู่ (Probiotic) เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดุม (Bifidobacterium bifidum), บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) และแล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
  2. อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ เลือกโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพอีกทางหนึ่ง
  3. ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับยากดภูมิ หรือยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ

คุณเคยสงสัยหรือไม่? ว่าทำไมหลังดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมไปแล้ว 30 นาที – 2 ชั่วโมง บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเสีย หรือเกิดแก๊สในกระเพาะอยู่บ่อย ๆ นั่นอาจจะเป็นเพราะคนเหล่านั้นเกิดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แลคเตส (Lactase deficiency) ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์แลคเตส (lactase) ไม่เพียงพอ เพื่อมาย่อยน้ำตาลแลคโตส (lactose) ในนมนั่นเอง

เทคนิคการเลือกซื้อนมและวิธีปรับการดื่มนม เมื่อเกิดภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส

  1. หากไม่ได้ดื่มนมมาเป็นเวลานาน แนะนำค่อย ๆ เริ่มดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมในปริมาณน้อย และสังเกตอาการท้องอืด ท้องเสีย เป็นระยะ หากไม่มีอาการเกิดขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการบริโภคในครั้งต่อไป
  2. ไม่รับประทานนมและผลิตภัณฑ์นมตอนท้องว่าง อาจรับประทานคู่กับขนมปังหรือแครกเกอร์
  3. เลือกดื่มนมจากพืชที่มีระบุบนฉลากว่า เสริมแคลเซียม และน้ำตาลน้อย เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมโอ๊ต เป็นต้น
  4. เลือกผลิตภัณฑ์นมที่ระบุข้างฉลากว่า แลคโตสฟรี (lactose free) ซึ่งจะไม่มีน้ำตาล lactose ที่เป็นสาเหตุทำให้ไม่สบายท้อง

โยเกิร์ต สูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) และวิธีการเลือกซื้อ

โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโอกาสการเกิดโรคได้ เพิ่มเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต มิโซะ เทมเป้ กิมจิ เป็นต้น ปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ซิมไบโอติกส์ (Symbiotic) คือมีทั้งโพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics-อาหารของจุลินทรีย์) อยู่ทั้งในรูปแบบของผงชงดื่ม ยาอัดเม็ด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงมีรายละเอียดของส่วนประกอบระบุข้างฉลากอย่างชัดเจน

วิธีการเลือกซื้อโยเกิร์ตสูตรที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotic)

  1. เลือกสูตรที่มีสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตยู่ (Probiotic) เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดุม (Bifidobacterium bifidum), บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010), แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) และแล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น
  2. อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ เลือกโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพอีกทางหนึ่ง
  3. ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับยากดภูมิ หรือยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง