การบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน (Dental Crown)
ฟันที่มีรอยผุใหญ่หลายด้าน หรือผุทะลุโพรงประสาทฟันจนต้องทำการรักษาประสาทฟัน การบูรณะด้วยการอุดฟันอาจทำไม่ได้ หรือให้ความแข็งแรงไม่เพียงพอ ทันตแพทย์จึงต้องพิจารณาทำการบูรณะด้วยการครอบฟัน
ประโยชน์ของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- เพื่อให้บดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ
- เพื่อให้ฟันที่รับการรักษาเป็นเครื่องกันพื้นที่ให้ฟันแท้ตามธรรมชาติไม่ซ้อนเก
- เพื่อเป็นการป้องกันความผิดปกติในการพูดและการกลืน การถอนฟันจะทำให้พูดไม่ชัดเนื่องจากสูญเสียความสมดุลของลิ้นกับฟัน และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องไป
การเตรียมตัว
- ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทันตแพทย์จะตรวจในช่องปากและเอกซเรย์ฟัน เพื่อให้การวินิจฉัยและประเมินความเหมาะสมของฟันที่จะทำการรักษา
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำควรรับประทานยาตามปกติ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา เป็นต้น
- ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
- กรณีไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา หรือแพ้ยาชา อาจจะต้องทำภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
ขั้นตอนการรักษา
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ต้องการรักษา รอประมาณ 5 – 10 นาที เมื่อทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์
- ใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย เพื่อความสะดวกในการทำงานและเพื่อความสะอาดปราศจากเชื้อ แต่ในบางกรณีอาจไม่สามารถใส่แผ่นยางกั้นน้ำลายได้
- กำจัดเนื้อฟันผุให้หมด ถ้าผุทะลุโพรงประสาทก็ทำการรักษาประสาทฟันก่อน จากนั้นจึงทำการกรอฟันออก ใช้ oral scanner นำไฟล์ไปผลิต (กลึง) ชิ้นงานครอบฟันที่ขนาดเท่ากับฟันเดิม
- ยึดครอบฟันด้วยวัสดุยึดครอบ ทำความสะอาดตัวฟันโดยรอบ จากนั้นนำแผ่นยางกั้นน้ำกลายออก แล้วให้กัดเพื่อเช็กการสบฟัน
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำภายหลังการรักษา
ข้อดีของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้จนกว่าจะหลุดเองตามธรรมชาติ
- ฟันที่รักษาเป็นเครื่องมือกันฟันล้มเอียงหรือซ้อนเกในอนาคต
- ได้การบดเคี้ยวที่ดี
- มึความแข็งแรงกว่าการบูรณะด้วยการอุดฟัน
ข้อจำกัดของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
อาจมีอาการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณที่ใส่ครอบฟันประมาณ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้อาการจะหายได้เร็วถ้าได้รับการทำความสะอาดบริเวณนั้นอย่างถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยงของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- อาจมีโอกาสแพ้ยาชา
- หลังรักษาแล้วอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
- เกิดแผลที่ริมฝีปากจากการกัดริมฝีปากในระหว่างที่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์ มักพบในเด็กเล็ก
คำแนะนำภายหลังการรักษา
- การเกิดอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- ระวังกรณีได้รับยาชาเฉพาะที่ อาจกัดริมฝีปากในขณะที่ยาชายัไม่หมดฤทธิ์จนเกิดแผลได้
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ 1 – 2 วันหลังการรักษา
- รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- ทำความสะอาดฟันที่ครอบเหมือนฟันปกติ โดยไม่ต้องกลัวครอบฟันจะหลุดขณะแปรง
- ตรวจดูที่ครอบฟันว่าสะอาดหรือไม่จากคราบจุลินทรีย์ครอบฟัน โดยครอบฟันที่สะอาดจะเป็นเงาอยู่ตลอดเวลา
- หากครอบฟันหลุดควรนำครอบฟันที่หลุดมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการยึดกลับโดยไม่ต้องตัดแต่งครอบฟันใหม่
- หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัดหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A
ฟันที่มีรอยผุใหญ่หลายด้าน หรือผุทะลุโพรงประสาทฟันจนต้องทำการรักษาประสาทฟัน การบูรณะด้วยการอุดฟันอาจทำไม่ได้ หรือให้ความแข็งแรงไม่เพียงพอ ทันตแพทย์จึงต้องพิจารณาทำการบูรณะด้วยการครอบฟัน
ประโยชน์ของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- เพื่อให้บดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ
- เพื่อให้ฟันที่รับการรักษาเป็นเครื่องกันพื้นที่ให้ฟันแท้ตามธรรมชาติไม่ซ้อนเก
- เพื่อเป็นการป้องกันความผิดปกติในการพูดและการกลืน การถอนฟันจะทำให้พูดไม่ชัดเนื่องจากสูญเสียความสมดุลของลิ้นกับฟัน และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องไป
การเตรียมตัว
- ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทันตแพทย์จะตรวจในช่องปากและเอกซเรย์ฟัน เพื่อให้การวินิจฉัยและประเมินความเหมาะสมของฟันที่จะทำการรักษา
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำควรรับประทานยาตามปกติ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อม เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา เป็นต้น
- ในเด็กอาจจะต้องเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
- กรณีไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา หรือแพ้ยาชา อาจจะต้องทำภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
ขั้นตอนการรักษา
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ต้องการรักษา รอประมาณ 5 – 10 นาที เมื่อทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์
- ใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย เพื่อความสะดวกในการทำงานและเพื่อความสะอาดปราศจากเชื้อ แต่ในบางกรณีอาจไม่สามารถใส่แผ่นยางกั้นน้ำลายได้
- กำจัดเนื้อฟันผุให้หมด ถ้าผุทะลุโพรงประสาทก็ทำการรักษาประสาทฟันก่อน จากนั้นจึงทำการกรอฟันออก ใช้ oral scanner นำไฟล์ไปผลิต (กลึง) ชิ้นงานครอบฟันที่ขนาดเท่ากับฟันเดิม
- ยึดครอบฟันด้วยวัสดุยึดครอบ ทำความสะอาดตัวฟันโดยรอบ จากนั้นนำแผ่นยางกั้นน้ำกลายออก แล้วให้กัดเพื่อเช็กการสบฟัน
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำภายหลังการรักษา
ข้อดีของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้จนกว่าจะหลุดเองตามธรรมชาติ
- ฟันที่รักษาเป็นเครื่องมือกันฟันล้มเอียงหรือซ้อนเกในอนาคต
- ได้การบดเคี้ยวที่ดี
- มึความแข็งแรงกว่าการบูรณะด้วยการอุดฟัน
ข้อจำกัดของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
อาจมีอาการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณที่ใส่ครอบฟันประมาณ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้อาการจะหายได้เร็วถ้าได้รับการทำความสะอาดบริเวณนั้นอย่างถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยงของการบูรณะฟันด้วยการครอบฟัน
- อาจมีโอกาสแพ้ยาชา
- หลังรักษาแล้วอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
- เกิดแผลที่ริมฝีปากจากการกัดริมฝีปากในระหว่างที่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์ มักพบในเด็กเล็ก
คำแนะนำภายหลังการรักษา
- การเกิดอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- ระวังกรณีได้รับยาชาเฉพาะที่ อาจกัดริมฝีปากในขณะที่ยาชายัไม่หมดฤทธิ์จนเกิดแผลได้
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ 1 – 2 วันหลังการรักษา
- รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- ทำความสะอาดฟันที่ครอบเหมือนฟันปกติ โดยไม่ต้องกลัวครอบฟันจะหลุดขณะแปรง
- ตรวจดูที่ครอบฟันว่าสะอาดหรือไม่จากคราบจุลินทรีย์ครอบฟัน โดยครอบฟันที่สะอาดจะเป็นเงาอยู่ตลอดเวลา
- หากครอบฟันหลุดควรนำครอบฟันที่หลุดมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการยึดกลับโดยไม่ต้องตัดแต่งครอบฟันใหม่
- หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัดหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A