การดูแลช่องปากผู้ที่ได้รับการฉายรังสี บริเวณศีรษะและลำคอ

     ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ มักพบปัญหาต่าง ๆ ภายในช่องปาก เนื่องจากการรักษาด้วยการฉายรังสีจะมีผลต่อเซลล์ของร่างกายที่กำลังแบ่งตัว อาจทำให้อวัยวะข้างเคียงทำหน้าที่ไม่ได้ระยะหนึ่ง หรือทำหน้าที่ได้ลดลง

     ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ ควรได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากทันตแพทย์ก่อนฉายรังสี

ขั้นตอนการดูแลทันตสุขภาพ

  1. การถ่ายภาพรังสีภายนอกช่องปาก (พาโนรามิก) และทำการวางแผนการรักษา เริ่มแรกมักจะได้รับการถอนฟันก่อน เนื่องจากต้องถอนฟันให้เสร็จก่อนการรับรังสีรักษาอย่างน้อย 10 - 14 วันเพื่อให้แผลหายทันและไม่เกิดภาวะกระดูกตายจากการรับรังสีรักษา
  2. การรักษาด้วยการขูดหินน้ำลายและอุดฟันตามลำดับ
  3. ก่อนการรับรังสีรักษา 2 - 3 วัน ทันตแพทย์จะทำถาดเคลือบฟลูออไรด์ พร้อมกับแนะนำวิธีการเคลือบฟลูออไรด์และจ่ายยาฟลูออไรด์ให้ผู้ป่วยไปทำการเคลือบฟลูออไรด์เองที่บ้านทุกวัน
  4. ระหว่างการรับรังสีรักษาอาจมีการนัดหมายมาเพื่อประเมินและรักษาแผลในช่องปาก
  5. หลังจากการฉายรังสีประมาณ 1 เดือน ผู้ป่วยจะได้รับนนัดอีกครั้ง เพื่อทำการประเมินสุขภาพของช่องปากและรับฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาการใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป
  6. ทันตแพทย์จะนัดหมายทุกๆ 3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาวะของการเกิดฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะช่องปากเมื่อได้รับการฉายรังสี

  1. มีการหลุดลอกของเยื่อบุผิวภายในช่องปากเกิดเป็นแผล มีอาการปวดแสบปวดร้อน อาการนี้จะดีขึ้นภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังได้รับการฉายรังสีจนเสร็จสมบูรณ์ และในระหว่างที่มีอาการ สามารถบรรเทาได้ด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชา
  2. การเกิดภาวะปากแห้ง น้ำลายมีน้อยลง มีความข้นหนืดมากขึ้น เกิดจากรังสีรักษามีผลไปยับยั้งการทำงานของต่อมน้ำลายบริเวณใบหน้า อาการนี้จะส่งผลให้
    • รับประทานอาหารได้ลำบาก
    • ฟันขาดการหล่อลื่นจากน้ำลาย ทำให้ปุ่มยอดฟันนั้นแตกได้ง่าย
    • สภาวะในช่องปากเป็นกรดมากขึ้น ทำให้ฟันผุได้ง่าย
    • ฟันขาดการชะล้างคราบจุลินทรีย์จากน้ำลาย ทำให้มีการสะสมคราบจุลินทรีย์
  3. ตุ่มรับรสที่ลิ้นถูกทำลาย อาจจะทำให้รับประทานอาหารไม่อร่อย มีอาการแสบร้อนที่ลิ้น แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2 - 4 เดือน
  4. ขากรรไกรมีการยึด เนื่องจากเกิดพังผืดในกล้ามเนื้อสำหรับบดเคี้ยว มีผลให้อ้าปากได้น้อยลง ดังนั้นควรฝึกอ้าปากเป็นประจำทุกวัน โดยอาการนี้จะพบในผู้ป่วยที่ต้องฉายรังสีในปริมาณที่มากร่วมกับการผ่าตัดที่บริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้รับการฉายรังสี

  1. ฟันผุ ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีจะเกิดฟันผุง่าย และลุกลามได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะช่องปากดังกล่าวข้างต้น ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณคอฟัน ซอกฟัน และปุ่มยอดฟันต่อ ฟันผุนี้สามารถป้องกันได้หากผู้ป่วยทำความสะอาดฟันได้ดี ใช้ฟลูออไรด์เป็นประจำทุกวัน และมาตรวจตามที่ทันตแพทย์นัดหมายทุกครั้ง
  2. ภาวะกระดูกตายจาก เมื่อกระดูกได้รับรังสีจากการฉายรังสีรักษา จะทำให้กระดูกขาดเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยง จำนวนเซลล์กระดูกลดน้อยลง ทำให้กระบวนการหายของแผลช้าลงหรืออาจไม่หาย ซึ่งแผลต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น แผลจากการถอนฟัน แผลฟันปลอมกดทับช่องทางให้เกิดการติดเชื้อเข้าไปในบริเวณกระดูกขากรรไกรที่ได้รับรังสีรักษาจะเกิดเป็นรูเปิดของหนองทั้งภายในช่องปากและภายนอกช่องปากได้ ซึ่งในการรักษาจะมีขั้นตอนยุ่งยากมาก ผู้ที่จะเกิดอาการนี้มักจะเป็นในผู้ที่ได้รับรังสีรักษาจากเครื่องรุ่นเก่า หรือได้รับการฉายรังสีซ้ำ

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการฉายรังสี

  1. ควรรักษาความสะอาดภายในช่องปากเพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
  2. เลือกใช้แปรงสีฟันขนาดพอเหมาะ ขนแปรงอ่อนนุ่ม และยาสีฟันไม่ควรมีรสเย็นซ่า
  3. ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน หรือแปรงบริเวณซอกฟัน
  4. ควรใช้ฟลูออไรด์ และน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ตามที่แพทย์หรือทันตแพทย์แนะนำเพื่อป้องกันฟันผุ
  5. ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ หรือใช้น้ำลายเทียมทดแทน
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ร้อนจัด ห้ามสูบบุหรี่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการเคี้ยวของแข็ง
  7. ผู้ป่วยสามารถทำฟันปลอมได้ เมื่อสภาวะในช่องปากพร้อม
  8. กรณีผู้ป่วยมีฟันปลอมถอดได้ และมีภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ควรงดใส่ฟันปลอม หรือใส่เฉพาะเวลารับประทานอาหาร
  9. มาพบทันตแพทย์ทุก 3 - 6 เดือน ตามนัดหมาย

การดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ โดยการอมฟลูออไรด์

  1. แปรงฟันเป็นประจำทุกวันให้สะอาด
  2. ใช้ไม้พันสำลี ทาฟลูออไรด์ที่ถาดเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ ให้ทั่ว
  3. นำครอบฟันยางที่เตรียมไว้ครอบลงในปาก หลังจากนั้นสบฟันเข้าหากัน
  4. อมฟลูออไรด์ไว้นาน 5 – 10 นาที ห้ามกลืนน้ำลายขณะที่มีการอมฟลูออไรด์อยู่ เนื่องจากฟลูออไรด์มีความเข้มข้นสูง อาจจะมีอาการปวดท้องได้ เมื่อนำฟันยางออกจะมีฟลูออไรด์ส่วนเกินในปาก สามารถบ้วนทิ้งได้ แต่ห้ามใช้น้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก เนื่องจากจะทำให้ตัวยาฟลูออไรด์เจือจางลงหรือหมดไป
  5. สามารถดื่มน้ำหรือกลืนน้ำลายได้ภายหลังการเคลือบฟลูออไรด์ ประมาณ 30 นาที
  6. ควรเคลือบฟลูออไรด์ทุกวัน วันละครั้งก่อนนอนหรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์
  7. ครอบฟันยางที่ใช้แล้ว ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง สามารถนำมาใช้ได้อีก

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการฉายรังสี

  1. ควรทำการรักษาทางทันตกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนรับการฉายรังสี
  2. หากต้องถอนฟัน ควรถอนฟันก่อนรับการฉายรังสีอย่างน้อย 14 วัน โดยสามารถถอนฟันได้ภายใต้การรักษาที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อนกระดูกหลังรับรังสีรักษา
  3. ต้องแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง ถึงการได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ
  4. ระวังการเกิดแผลใด ๆ ในช่องปาก

ดาวน์โหลด คู่มือการดูแลช่องปากในผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A

     ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ มักพบปัญหาต่าง ๆ ภายในช่องปาก เนื่องจากการรักษาด้วยการฉายรังสีจะมีผลต่อเซลล์ของร่างกายที่กำลังแบ่งตัว อาจทำให้อวัยวะข้างเคียงทำหน้าที่ไม่ได้ระยะหนึ่ง หรือทำหน้าที่ได้ลดลง

     ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ ควรได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากทันตแพทย์ก่อนฉายรังสี

ขั้นตอนการดูแลทันตสุขภาพ

  1. การถ่ายภาพรังสีภายนอกช่องปาก (พาโนรามิก) และทำการวางแผนการรักษา เริ่มแรกมักจะได้รับการถอนฟันก่อน เนื่องจากต้องถอนฟันให้เสร็จก่อนการรับรังสีรักษาอย่างน้อย 10 - 14 วันเพื่อให้แผลหายทันและไม่เกิดภาวะกระดูกตายจากการรับรังสีรักษา
  2. การรักษาด้วยการขูดหินน้ำลายและอุดฟันตามลำดับ
  3. ก่อนการรับรังสีรักษา 2 - 3 วัน ทันตแพทย์จะทำถาดเคลือบฟลูออไรด์ พร้อมกับแนะนำวิธีการเคลือบฟลูออไรด์และจ่ายยาฟลูออไรด์ให้ผู้ป่วยไปทำการเคลือบฟลูออไรด์เองที่บ้านทุกวัน
  4. ระหว่างการรับรังสีรักษาอาจมีการนัดหมายมาเพื่อประเมินและรักษาแผลในช่องปาก
  5. หลังจากการฉายรังสีประมาณ 1 เดือน ผู้ป่วยจะได้รับนนัดอีกครั้ง เพื่อทำการประเมินสุขภาพของช่องปากและรับฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาการใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป
  6. ทันตแพทย์จะนัดหมายทุกๆ 3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาวะของการเกิดฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะช่องปากเมื่อได้รับการฉายรังสี

  1. มีการหลุดลอกของเยื่อบุผิวภายในช่องปากเกิดเป็นแผล มีอาการปวดแสบปวดร้อน อาการนี้จะดีขึ้นภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังได้รับการฉายรังสีจนเสร็จสมบูรณ์ และในระหว่างที่มีอาการ สามารถบรรเทาได้ด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชา
  2. การเกิดภาวะปากแห้ง น้ำลายมีน้อยลง มีความข้นหนืดมากขึ้น เกิดจากรังสีรักษามีผลไปยับยั้งการทำงานของต่อมน้ำลายบริเวณใบหน้า อาการนี้จะส่งผลให้
    • รับประทานอาหารได้ลำบาก
    • ฟันขาดการหล่อลื่นจากน้ำลาย ทำให้ปุ่มยอดฟันนั้นแตกได้ง่าย
    • สภาวะในช่องปากเป็นกรดมากขึ้น ทำให้ฟันผุได้ง่าย
    • ฟันขาดการชะล้างคราบจุลินทรีย์จากน้ำลาย ทำให้มีการสะสมคราบจุลินทรีย์
  3. ตุ่มรับรสที่ลิ้นถูกทำลาย อาจจะทำให้รับประทานอาหารไม่อร่อย มีอาการแสบร้อนที่ลิ้น แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2 - 4 เดือน
  4. ขากรรไกรมีการยึด เนื่องจากเกิดพังผืดในกล้ามเนื้อสำหรับบดเคี้ยว มีผลให้อ้าปากได้น้อยลง ดังนั้นควรฝึกอ้าปากเป็นประจำทุกวัน โดยอาการนี้จะพบในผู้ป่วยที่ต้องฉายรังสีในปริมาณที่มากร่วมกับการผ่าตัดที่บริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้รับการฉายรังสี

  1. ฟันผุ ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีจะเกิดฟันผุง่าย และลุกลามได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะช่องปากดังกล่าวข้างต้น ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณคอฟัน ซอกฟัน และปุ่มยอดฟันต่อ ฟันผุนี้สามารถป้องกันได้หากผู้ป่วยทำความสะอาดฟันได้ดี ใช้ฟลูออไรด์เป็นประจำทุกวัน และมาตรวจตามที่ทันตแพทย์นัดหมายทุกครั้ง
  2. ภาวะกระดูกตายจาก เมื่อกระดูกได้รับรังสีจากการฉายรังสีรักษา จะทำให้กระดูกขาดเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยง จำนวนเซลล์กระดูกลดน้อยลง ทำให้กระบวนการหายของแผลช้าลงหรืออาจไม่หาย ซึ่งแผลต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น แผลจากการถอนฟัน แผลฟันปลอมกดทับช่องทางให้เกิดการติดเชื้อเข้าไปในบริเวณกระดูกขากรรไกรที่ได้รับรังสีรักษาจะเกิดเป็นรูเปิดของหนองทั้งภายในช่องปากและภายนอกช่องปากได้ ซึ่งในการรักษาจะมีขั้นตอนยุ่งยากมาก ผู้ที่จะเกิดอาการนี้มักจะเป็นในผู้ที่ได้รับรังสีรักษาจากเครื่องรุ่นเก่า หรือได้รับการฉายรังสีซ้ำ

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการฉายรังสี

  1. ควรรักษาความสะอาดภายในช่องปากเพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
  2. เลือกใช้แปรงสีฟันขนาดพอเหมาะ ขนแปรงอ่อนนุ่ม และยาสีฟันไม่ควรมีรสเย็นซ่า
  3. ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน หรือแปรงบริเวณซอกฟัน
  4. ควรใช้ฟลูออไรด์ และน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ตามที่แพทย์หรือทันตแพทย์แนะนำเพื่อป้องกันฟันผุ
  5. ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ หรือใช้น้ำลายเทียมทดแทน
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ร้อนจัด ห้ามสูบบุหรี่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการเคี้ยวของแข็ง
  7. ผู้ป่วยสามารถทำฟันปลอมได้ เมื่อสภาวะในช่องปากพร้อม
  8. กรณีผู้ป่วยมีฟันปลอมถอดได้ และมีภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ควรงดใส่ฟันปลอม หรือใส่เฉพาะเวลารับประทานอาหาร
  9. มาพบทันตแพทย์ทุก 3 - 6 เดือน ตามนัดหมาย

การดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ โดยการอมฟลูออไรด์

  1. แปรงฟันเป็นประจำทุกวันให้สะอาด
  2. ใช้ไม้พันสำลี ทาฟลูออไรด์ที่ถาดเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ ให้ทั่ว
  3. นำครอบฟันยางที่เตรียมไว้ครอบลงในปาก หลังจากนั้นสบฟันเข้าหากัน
  4. อมฟลูออไรด์ไว้นาน 5 – 10 นาที ห้ามกลืนน้ำลายขณะที่มีการอมฟลูออไรด์อยู่ เนื่องจากฟลูออไรด์มีความเข้มข้นสูง อาจจะมีอาการปวดท้องได้ เมื่อนำฟันยางออกจะมีฟลูออไรด์ส่วนเกินในปาก สามารถบ้วนทิ้งได้ แต่ห้ามใช้น้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก เนื่องจากจะทำให้ตัวยาฟลูออไรด์เจือจางลงหรือหมดไป
  5. สามารถดื่มน้ำหรือกลืนน้ำลายได้ภายหลังการเคลือบฟลูออไรด์ ประมาณ 30 นาที
  6. ควรเคลือบฟลูออไรด์ทุกวัน วันละครั้งก่อนนอนหรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์
  7. ครอบฟันยางที่ใช้แล้ว ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง สามารถนำมาใช้ได้อีก

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการฉายรังสี

  1. ควรทำการรักษาทางทันตกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนรับการฉายรังสี
  2. หากต้องถอนฟัน ควรถอนฟันก่อนรับการฉายรังสีอย่างน้อย 14 วัน โดยสามารถถอนฟันได้ภายใต้การรักษาที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อนกระดูกหลังรับรังสีรักษา
  3. ต้องแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง ถึงการได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ
  4. ระวังการเกิดแผลใด ๆ ในช่องปาก

ดาวน์โหลด คู่มือการดูแลช่องปากในผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ได้ที่ ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง