
การทำทันตกรรม รากฟันเทียม (Dental Implant)
รากฟันเทียม คือ รากฟันที่ทำจากโลหะไทเทเนียม ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป สามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อและกระดูกของร่างกาย โดยนำมาใช้ร่วมกับฟันปลอม หรือฝังรากฟันเทียมร่วมกับการครอบฟัน ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติ เป็นวิธีที่ทันตแพทย์ใช้รักษามานานกว่า 30 ปี ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ และคงทนที่สุดในหมู่วิธีการทดแทนฟันทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าการฝังรากฟันเทียมเป็นทางออกเดียวของการรักษาที่คงความสามารถสำคัญของฟันและโครงสร้างฟันได้ อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของรากฟันเทียมขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก ผู้ที่ฝังรากเทียมควรมีสุขภาพช่องปากที่ดี และดูแลสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดี
ประโยชน์ของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ใช้ทดแทนฟันแท้ที่ถอนไป
2. เป็นหลักยึดให้กับสะพานฟัน เพื่อลดการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
3. เป็นหลักยึดฟันปลอมทั้งปาก ทั้งฟันบนและฟันล่าง เพื่อให้เสถียรภาพและความสะดวกในการใช้งาน
4. ลดการบาดเจ็บและสูญเสียเนื้อฟันจากการกรอแต่งฟันในตำแหน่งข้างเคียงช่องว่างที่จะใส่ฟันปลอมหรือฟันที่ต้องรับตะขอ
5. ลดการละลายของสันกระดูกในบริเวณที่จะใส่ฟัน
6. ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกรณีที่ต้องใส่ฟันปลอม
ข้อบ่งชี้ของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. สันเหงือกมีช่องว่างตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป และมีความหนาของกระดูกเพียงพอ
2. เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการสร้างกระดูก และเนื้อเยื่อ เช่น เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ภาวะกระดูกพรุน มีโรคทางกระดูก รับประทานยากดการสร้างกระดูก ยาป้องกันการละลายของกระดูก โรคทางโลหิตวิทยา อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัด เคยได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้า เป็นต้น
3. เป็นผู้ที่มีสุขภาพช่องปากแข็งแรง และมีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ดี ไม่มีโรคปริทันต์อักเสบ
4. ต้องไม่มีสุขนิสัยที่ไม่ดีต่อฟัน เช่น นอนกัดฟันอย่างรุนแรง ชอบรับประทานของแข็งมาก ๆ เป็นต้น
5. เป็นผู้ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ผลสำเร็จของการรักษาต่ำมาก
ทางเลือกในการรักษา
1. กรณีมีความกลัว วิตกกังวลในการผ่าตัดโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ สามารถแจ้งทันตแพทย์ให้ใช้วิธีการดมยาสลบแทนได้
2. กรณีไม่ต้องการฝังรากเทียม แนะนำให้ใส่ฟันปลอมชนิดอื่นทดแทน เช่น การทำสะพานฟันติดแน่น หรือการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนการรักษาด้วยทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหารและยาตามปกติ
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมรับการรักษา เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
4. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม (ภายใน 1 ปีแรก) ผู้ที่หลอดเลือดดำอุดตัน จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
5. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin) หรือมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะได้รับการเจาะเลือดตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะผ่าตัดได้หรือไม่
6. ในผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาอาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
7. ในวันที่มารับการรักษาจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการผ่าตัด ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหารและยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
8. ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการวัดความดันโลหิต ค่าที่วัดได้ ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันให้ถึง 160/90 มิลลิเมตรปรอทในผู้สูงอายุ หรือกรณีปวดฟันมาก ความดันโลหิตอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำตามที่แพทย์ยอมรับได้จะได้รับการผ่าตัด
ขั้นตอนการรักษา
1. ทันตแพทย์วางแผนการรักษาโดยพิมพ์แบบฟันเพื่อออกแบบฟันปลอมและกำหนดตำแหน่งที่จะฝังรากฟันเทียม ตรวจลักษณะสันเหงือกและถ่ายภาพรังสีเพื่อใช้ประเมินปริมาณของกระดูกที่มีอยู่ ซึ่งปริมาณกระดูกจะเป็นตัวกำหนดขนาดของรากฟันเทียม เมื่อทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเสร็จแล้ว จะทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะผ่าตัดให้ชัดเจน แจ้งค่าใช้จ่ายโดยประมาณ และทำการเซ็นใบยินยอมรับการรักษา
2. การผ่าตัดระยะที่ 1 ฝังรากฟันเทียมภายใต้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ หรือภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั้งร่างกาย
- เปิดแผลกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ฝังรากฟันเทียมแล้วเย็บแผลปิด หรืออาจใส่หมุดสร้างรูปร่างเหงือกโดยหมุดจะโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเล็กน้อยในกรณีฝังรากเทียมในตำแหน่งที่มีกระดูกและเนื้อเหงือกแน่นเพียงพอ
- ส่งถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินผลการรักษา
- ภายหลังการรักษา 1 สัปดาห์ มารับการตัดไหมและประเมินแผลผ่าตัด
- ติดตามผลการรักษาโดยการถ่ายภาพรังสีหลังผ่าตัด 2 เดือนในกรณีฝังรากเทียมเพียงอย่างเดียว 3, 6 เดือนในกรณีฝังรากเทียมร่วมกับการปลูกกระดูก
3. การผ่าตัดระยะที่ 2 ห่างจากระยะที่ 1 ประมาณ 2 เดือน แต่ถ้ามีการปลูกกระดูกร่วมด้วยจะมีระยะห่าง 4 - 6 เดือนขึ้นอยู่กับชนิดของกระดูกที่เลือกใช้ การผ่าตัดเป็นการสร้างรูปร่างของเหงือก
- ทำการผ่าตัดใส่เครื่องมือภายใต้ยาชาเฉพาะที่ ขนาดแผลประมาณ 1 เซนติเมตร
- ตัดไหมหลังการผ่าตัด 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าตรวจพบว่าเหงือกชนิดยึดเกาะมีน้อย อาจต้องนำเนื้อจากบริเวณเพดานปากมาปลูกร่วมด้วย
4. การใส่ฟันปลอม จะเริ่มภายหลังการสร้างรูปร่างของเหงือกประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการพิมพ์ปากเพื่อส่งแบบไปทำฟันปลอม หลังจากนั้นประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ จะเปลี่ยนหมุดสร้างรูปร่างสันเหงือกเป็นเดือยต่อขึ้นมาจากรากฟันเทียมและทำการใส่ฟันปลอมตามแบบที่วางแผนการรักษาไว้
5. การติดตามผลการรักษา ใช้วิธีตรวจภายในช่องปากและการถ่ายภาพรังสี เป็นระยะ 3, 6, 12 เดือนและทุกปี ๆ ละ 1 ครั้งในช่วง 1 ปีแรกจะมีการละลายของกระดูกรอบ ๆ รากฟันเทียมประมาณ 1 มิลลิเมตรและประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ในปีต่อ ๆ มาได้ ถ้ามีการละลายของกระดูกอยู่ในเกณฑ์ตามที่กล่าวมาถือว่าประสบความสำเร็จในการรักษา
ข้อดีของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ไม่มีการทำอันตรายต่อฟันและเหงือกในบริเวณข้างเคียง
2. ลดการละลายของสันกระดูกที่รองรับฟันปลอม
3. ง่ายต่อการทำความสะอาดช่องปาก ทำให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี
4. เกิดความสะดวกสบายในการบดเคี้ยวหรือออกเสียงพูด
5. มีความมั่นใจในการพูด ยิ้ม เสริมให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
6. มีอายุการใช้งานยาวนานเมื่อเทียบกับการใช้ฟันปลอมชนิดอื่น ๆ (กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว และไม่สูบบุหรี่)
ข้อจำกัดของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. อาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา ในกรณีที่มีความเจ็บปวดมาก ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ระงับความเจ็บปวดเพิ่มเติม
2. มีการรักษาหลายขั้นตอน ใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ต้องปลูกกระดูกบริเวณที่ต้องผ่าตัด
3. กรณีที่มีปัญหาภายหลังการรักษา มักจะต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
4. การรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สุขภาพช่องปาก ลักษณะของเนื้อเยื่อ การหายของแผล โรคประจำตัว ลักษณะนิสัยในการบดเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งการรักษาอาจไม่สำเร็จได้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดภายหลังการผ่าตัด
1. หลังผ่าตัด อาจเจ็บปวดและไม่สบาย นอกจากเกิดจากแผลแล้วยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ป่วย โดยทั่วไปความเจ็บปวดจะไม่รุนแรง ปรากฏอยู่ประมาณ 12 ชั่วโมง และลดระดับลงเรื่อย ๆ ไม่เกิน 5 วัน การรับประทานยาแก้ปวดสามารถลดอาการปวดได้
2. อาการบวม เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อภยันตรายที่เกิดขึ้น ยิ่งเกิดมากเท่าใดการบวมจะมากขึ้นเท่านั้น กรณีผ่าตัดอาการบวมจะมากที่สุดในเวลา 48 - 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ถ้าการบวมเกิดขึ้นหลังวันที่ 3 ของการผ่าตัด ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อมากกว่าการบวมจากการผ่าตัด การใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ผ่าตัดทันทีในวันแรกที่ผ่าตัด 24 ชั่วโมง จะช่วยให้บวมน้อยลง
3. อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด มักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ทันตแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง มีหนอง เป็นไข้ แนะนำให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
4. มีเลือดออกมากผิดปกติ หรือมีเลือดออกซ้ำหลังจากผ่าตัดไปหลายวัน การป้องกัน คือ ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่นอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงหลังผ่าตัด งดสูบบุหรี่ บ้วนปาก เพราะทำให้มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดได้ เมื่อเลือดหยุดดีแล้ว งดเคี้ยวอาหารด้านที่ผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถ้ามีเลือดออกมากหรือมีเลือดออกซ้ำหลังผ่าตัดหลายวันให้กัดผ้าก๊อส 1 - 2 ชั่วโมง ถ้าเลือดยังไม่หยุดหรือระหว่างกัดผ้าก๊อซเลือดยังออกมาก ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
5. กรณีผ่าตัดบริเวณกรามน้อยบนหรือฟันกรามบนอาจทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) หรือกรณีต้องปลูกกระดูกร่วมด้วยอาจพบอาการปวดตึง ๆ ที่โหนกแก้มระคายเคืองและมีน้ำมูกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ มีเลือดดำ ๆ ไหลลงคอได้ในช่วงสัปดาห์แรก การเดินทางด้วยเครื่องบินอาจมีแรงดันทำให้มีอาการปวด ถ้าในระยะยาวยังมีอาการปวดรุนแรงอาจพบการติดเชื้อในโพรงอากาศได้ ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบกลับมานัดหมายทันที บางกรณีอาจต้องให้การรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก
6. แผลผ่าตัดหายช้า หรือมีเศษกระดูกโผล่ มักพบได้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการหายของแผลหรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะกลับมาด้วยอาการปวดแผล เขี่ยแผลแล้วเจ็บแปล๊บ ๆ หรือรู้สึกมีอะไรคม ๆ บาดลิ้นเป็นต้น
7. อาจพบรอยเซาะของเลือดจากแผลมาที่ผิวหน้าและบริเวณใกล้เคียงกับที่ผ่าตัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ป่วยโรคเลือด รอยเลือดดังกล่าวจะค่อย ๆ จางไปภายใน 2 - 3 สัปดาห์
8. การอ้าปากได้จำกัด เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว หรือเกิดจากการฉีดยาชาเพื่อสกัดเส้นประสาทจะผ่านกล้ามเนื้อที่ควบคุมการอ้าปากหุบปาก อีกกรณีคือผู้ป่วยมีความกังวลมาก การรักษาฝึกให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด โดยพยายามอ้าปาก ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างปากค้างไว้ 2 นาทีแล้วผ่อนลง ทำบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบข้างแก้มและหน้าหู ระยะปกติในผู้ใหญ่สามารถอ้าปากได้ประมาณ 3 เซนติเมตรเมื่อวัดจากปลายฟันหน้าบนและฟันหน้าล่าง
9. อาจพบอาการชาที่ริมฝีปากได้ โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง เนื่องจากปลายรากฟันอยู่ใกล้ชิดกับเส้นประสาทรับความรู้สึกของขากรรไกรล่างและริมฝีปาก สังเกตโดยหลังผ่าตัดไป 4 - 5 ชั่วโมงแล้ว อาการชาที่ริมฝีปากไม่ลดลง อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน ผู้ที่มีอาการชาควรระมัดระวังในการเคี้ยว เพราะอาจกัดริมฝีปากได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าชามาก ๆ อาจต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำลายไหลออกมานอกช่องปาก ริมฝีปากจะเป็นส่วนแรกที่กลับมารับความรู้สึกได้ปกติก่อน โดยจะมีอาการนำ เช่น เจ็บแปล็บ ๆ เป็นบางครั้งได้ ในบางรายอาการชาจะหลงเหลืออยู่เป็นเวลานานแต่จะเป็นแค่บริเวณเล็ก ๆ ที่คางได้
10. เกิดแผลที่ริมฝีปากจากกการกัดในระหว่างที่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์
11. การฝังรากฟันเทียมจะมีการยึดเกาะของรากเทียม และส่วนต่อยอดที่เป็นหมุดสร้างรูปร่างเหงือก หรือส่วนต่อของครอบฟันด้วยสกรูเทคนิค ซึ่งอาจจะมีการคลายเกลียวของสกรูจากแรงต่าง ๆ ที่ไปกระทบ เช่น การแปรงฟัน การเคี้ยวอาหาร เป็นต้น ถ้าสกรูหลวมให้รีบกลับมาไขทันที เพราะถ้าปล่อยไว้ส่วนต่อยอดอาจหลุดและกลืนลงคอได้ หรือถ้าทิ้งไว้หลายวัน เนื้อเหงือกแน่นรอบรากเทียมจะหดตัว ต้องผ่าตัดรากเทียมระยะที่ 2 ซ้ำอีกครั้ง รอ 2 สัปดาห์จึงกลับมาใส่ฟันอีกครั้ง กรณีหมุดหรือครอบฟันกลืนลงคอ ควรได้รับการส่งตรวจประเมิน ถ่ายภาพทางรังสีกับแพทย์เป็นระยะจนถ่ายออกมาตามปกติ ส่วนต่อยอดจะมีลักษณะเดือยแหลมอาจมีการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่ลำไส้ได้ กรณีหลุดลงหลอดลมจะต้องพบแพทย์เพื่อดมยาและคีบส่วนต่อยอดออกมา
12. มีการอักเสบรอบ ๆ รากฟันเทียมภายหลังการใส่ฟันปลอม ซึ่งเกิดเนื่องจากบริเวณรอบ ๆ ฟันปลอมไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดีพอ เป็นผลให้มีการละลายของกระดูกรอบ ๆ รากฟันเทียม เหงือกร่น และรากฟันเทียมโผล่มาให้เห็นในช่องปากได้
13. กรณีมาตรวจพบภายหลังว่ามีโรคที่มีผลต่อกระดูก โรคทางโลหิตวิทยา รับประทานยาที่มีผลต่อการสร้างกระดูก อาจพบภาวะการยึดเกาะของรากเทียมกับกระดูกมีปัญหา รากเทียมอาจโยกหลุดได้
14. ปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษามีมากมาย ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะประเมินและวางแผนการรักษาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกที่จะเกิดขึ้นได้ จึงทำให้การรักษาที่กำหนดไว้อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจัยภายนอก เช่น การเสื่อมของกระดูก การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย สุขภาพในระหว่างการรักษา อาจติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ การติดเชื้อที่กระดูกภายหลังผ่าตัด การเริ่มรับประทานยาบางประเภทที่มีผลต่อกระดูก การได้รับเคมีบำบัด การได้รับรังสีรักษา หรือการเป็นโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน เป็นต้น
คำแนะนำภายหลังการรักษา
1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 - 2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
2. คายผ้าก๊อซหลังกัดผ้า 1 - 2 ชั่วโมง ถ้ายังมีเลือดซึม ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1 ชั่วโมง
3. อาจประคบด้วยน้ำแข็งภายนอก บริเวณแก้มข้างที่ทำการผ่าตัด 1 - 2 วัน
4. รับประทานอาหารอ่อน หลังอาหารให้บ้วนน้ำเบา ๆ ช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นบ้วนน้ำตามปกติ
5. รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
6. แปรงฟันตามปกติ ยกเว้นตำแหน่งที่ฝังรากเทียมให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่แพทย์จ่ายให้ 1 – 2 สัปดาห์
7. ตัดไหมได้ภายหลังการผ่าตัด 7 – 14 วัน
8. กรณีผ่าตัดหรือมีรูทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) ให้งดการบ้วนน้ำรุนแรง กรณีไอ จาม ให้อ้าปากกว้าง เพื่อลดแรงดัน งดสั่งน้ำมูก ให้ซับ ๆ เพียงอย่างเดียว และงดว่ายน้ำ 4 เดือน
9. กรณีฝังรากเทียมร่วมกับมีส่วนต่อของหมุดสร้างรูปร่างเหงือกหรือครอบฟันแล้ว ต้องสังเกตหมุดหรือครอบฟันมีการขยับหรือไม่ ซึ่งอาจจะหลวมหลุดได้ ถ้าหลวมให้ติดต่อกลับมาเพื่อรับการไขให้แน่นทันที
10. ในระหว่างรอการยึดเกาะของรากเทียม หรือหลังการรักษาเสร็จแล้ว มีอาการเจ็บ เหงือกบวม ให้รีบติดต่อมาเพื่อรับการรักษาทันที
11. หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัดหมาย โทรติดต่อนัดหมายศูนย์ทันตกรรม โทร. 1474 หรือ Line: @siphcallcenter
ข้อห้ามซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด
1. ห้ามดูดแผล หรือเอานิ้วและวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
2. ห้ามบ้วนน้ำลายภายหลังการทำการผ่าตัด ภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
3. ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก และดื่มสุรา ภายใน 24 ชั่วโมง
4. ห้ามออกกำลังกาย ภายใน 24 ชั่วโมง ในผู้มีภาวะเสี่ยงควรงดออกกำลังกาย 5 - 7 วันหลังผ่าตัด
5. ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ หรือบ้วนน้ำแรง ๆ หลังผ่าตัด 3 วัน
วิธีการประเมินภาวการณ์แข็งตัวของเลือด
ระยะเวลาปกติที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปาก จะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้
1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซ แสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง ทำการประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมา ให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมงแล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือด หรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีก แสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาที ยังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ถ้ามีปัญหาเลือดออกในช่วงเวลา 7:00 – 20:00 น. ให้พบทันตแพทย์ที่ศูนย์ทันตกรรม หรือนอกเวลาทำการให้พบแพทย์ที่คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยโทรแจ้งที่เบอร์ 1474
การรักษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การปลูกกระดูกในบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่สันเหงือก หรือบริเวณโพรงอากาศแมกซิลลา โดยใช้กระดูกมาจากบริเวณขากรรไกร สะโพก หรือจะเป็นกระดูกเทียมขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของกระดูกที่ต้องการ ซึ่งการปลูกกระดูกจะกระทำต่อเมื่อบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียมมีปริมาณกระดูกไม่เพียงพอ หลังการผ่าตัดปลูกกระดูก 4 – 6 เดือน จึงจะฝังรากฟันเทียมได้
2. การปลูกเนื้อเยื่อ ใช้ในกรณีที่มีเนื้อเหงือกไม่เพียงพอ ต้องนำเหงือกจากบริเวณเพดานปากมาปลูก หลังปลูกเหงือก 6 – 8 สัปดาห์ จึงฝังรากฟันเทียมได้ หรืออาจทำร่วมกับการผ่าตัดรากเทียมระยะที่ 2 ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A
รากฟันเทียม คือ รากฟันที่ทำจากโลหะไทเทเนียม ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป สามารถเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อและกระดูกของร่างกาย โดยนำมาใช้ร่วมกับฟันปลอม หรือฝังรากฟันเทียมร่วมกับการครอบฟัน ให้ความรู้สึกใกล้เคียงฟันธรรมชาติ เป็นวิธีที่ทันตแพทย์ใช้รักษามานานกว่า 30 ปี ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ และคงทนที่สุดในหมู่วิธีการทดแทนฟันทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าการฝังรากฟันเทียมเป็นทางออกเดียวของการรักษาที่คงความสามารถสำคัญของฟันและโครงสร้างฟันได้ อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของรากฟันเทียมขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก ผู้ที่ฝังรากเทียมควรมีสุขภาพช่องปากที่ดี และดูแลสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดี
ประโยชน์ของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ใช้ทดแทนฟันแท้ที่ถอนไป
2. เป็นหลักยึดให้กับสะพานฟัน เพื่อลดการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
3. เป็นหลักยึดฟันปลอมทั้งปาก ทั้งฟันบนและฟันล่าง เพื่อให้เสถียรภาพและความสะดวกในการใช้งาน
4. ลดการบาดเจ็บและสูญเสียเนื้อฟันจากการกรอแต่งฟันในตำแหน่งข้างเคียงช่องว่างที่จะใส่ฟันปลอมหรือฟันที่ต้องรับตะขอ
5. ลดการละลายของสันกระดูกในบริเวณที่จะใส่ฟัน
6. ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกรณีที่ต้องใส่ฟันปลอม
ข้อบ่งชี้ของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. สันเหงือกมีช่องว่างตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป และมีความหนาของกระดูกเพียงพอ
2. เป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการสร้างกระดูก และเนื้อเยื่อ เช่น เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ภาวะกระดูกพรุน มีโรคทางกระดูก รับประทานยากดการสร้างกระดูก ยาป้องกันการละลายของกระดูก โรคทางโลหิตวิทยา อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัด เคยได้รับรังสีรักษาบริเวณใบหน้า เป็นต้น
3. เป็นผู้ที่มีสุขภาพช่องปากแข็งแรง และมีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ดี ไม่มีโรคปริทันต์อักเสบ
4. ต้องไม่มีสุขนิสัยที่ไม่ดีต่อฟัน เช่น นอนกัดฟันอย่างรุนแรง ชอบรับประทานของแข็งมาก ๆ เป็นต้น
5. เป็นผู้ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ผลสำเร็จของการรักษาต่ำมาก
ทางเลือกในการรักษา
1. กรณีมีความกลัว วิตกกังวลในการผ่าตัดโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ สามารถแจ้งทันตแพทย์ให้ใช้วิธีการดมยาสลบแทนได้
2. กรณีไม่ต้องการฝังรากเทียม แนะนำให้ใส่ฟันปลอมชนิดอื่นทดแทน เช่น การทำสะพานฟันติดแน่น หรือการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนการรักษาด้วยทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ ควรรับประทานอาหารและยาตามปกติ
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการรักษา ควรได้รับความเห็นชอบในการรักษาจากแพทย์ก่อนและเตรียมตัวให้พร้อมรับการรักษา เช่น ผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยา ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฉายรังสีรักษา ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
4. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม เช่น ลิ้นหัวใจ ข้อเข่าเทียม (ภายใน 1 ปีแรก) ผู้ที่หลอดเลือดดำอุดตัน จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการรักษา 1 ชั่วโมง
5. ผู้ที่รับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin) หรือมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะได้รับการเจาะเลือดตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดก่อน เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะผ่าตัดได้หรือไม่
6. ในผู้ที่วิตกกังวลสูงหรือผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาอาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
7. ในวันที่มารับการรักษาจะได้รับการซักประวัติด้านสุขภาพอีกครั้ง ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการผ่าตัด ปัญหาการหยุดไหลของเลือด โรคประจำตัว รวมถึงการแพ้อาหารและยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
8. ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการวัดความดันโลหิต ค่าที่วัดได้ ไม่ควรต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจผ่อนผันให้ถึง 160/90 มิลลิเมตรปรอทในผู้สูงอายุ หรือกรณีปวดฟันมาก ความดันโลหิตอาจขึ้นสูงได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตต่ำตามที่แพทย์ยอมรับได้จะได้รับการผ่าตัด
ขั้นตอนการรักษา
1. ทันตแพทย์วางแผนการรักษาโดยพิมพ์แบบฟันเพื่อออกแบบฟันปลอมและกำหนดตำแหน่งที่จะฝังรากฟันเทียม ตรวจลักษณะสันเหงือกและถ่ายภาพรังสีเพื่อใช้ประเมินปริมาณของกระดูกที่มีอยู่ ซึ่งปริมาณกระดูกจะเป็นตัวกำหนดขนาดของรากฟันเทียม เมื่อทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเสร็จแล้ว จะทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะผ่าตัดให้ชัดเจน แจ้งค่าใช้จ่ายโดยประมาณ และทำการเซ็นใบยินยอมรับการรักษา
2. การผ่าตัดระยะที่ 1 ฝังรากฟันเทียมภายใต้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ หรือภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั้งร่างกาย
- เปิดแผลกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ฝังรากฟันเทียมแล้วเย็บแผลปิด หรืออาจใส่หมุดสร้างรูปร่างเหงือกโดยหมุดจะโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเล็กน้อยในกรณีฝังรากเทียมในตำแหน่งที่มีกระดูกและเนื้อเหงือกแน่นเพียงพอ
- ส่งถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินผลการรักษา
- ภายหลังการรักษา 1 สัปดาห์ มารับการตัดไหมและประเมินแผลผ่าตัด
- ติดตามผลการรักษาโดยการถ่ายภาพรังสีหลังผ่าตัด 2 เดือนในกรณีฝังรากเทียมเพียงอย่างเดียว 3, 6 เดือนในกรณีฝังรากเทียมร่วมกับการปลูกกระดูก
3. การผ่าตัดระยะที่ 2 ห่างจากระยะที่ 1 ประมาณ 2 เดือน แต่ถ้ามีการปลูกกระดูกร่วมด้วยจะมีระยะห่าง 4 - 6 เดือนขึ้นอยู่กับชนิดของกระดูกที่เลือกใช้ การผ่าตัดเป็นการสร้างรูปร่างของเหงือก
- ทำการผ่าตัดใส่เครื่องมือภายใต้ยาชาเฉพาะที่ ขนาดแผลประมาณ 1 เซนติเมตร
- ตัดไหมหลังการผ่าตัด 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าตรวจพบว่าเหงือกชนิดยึดเกาะมีน้อย อาจต้องนำเนื้อจากบริเวณเพดานปากมาปลูกร่วมด้วย
4. การใส่ฟันปลอม จะเริ่มภายหลังการสร้างรูปร่างของเหงือกประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการพิมพ์ปากเพื่อส่งแบบไปทำฟันปลอม หลังจากนั้นประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ จะเปลี่ยนหมุดสร้างรูปร่างสันเหงือกเป็นเดือยต่อขึ้นมาจากรากฟันเทียมและทำการใส่ฟันปลอมตามแบบที่วางแผนการรักษาไว้
5. การติดตามผลการรักษา ใช้วิธีตรวจภายในช่องปากและการถ่ายภาพรังสี เป็นระยะ 3, 6, 12 เดือนและทุกปี ๆ ละ 1 ครั้งในช่วง 1 ปีแรกจะมีการละลายของกระดูกรอบ ๆ รากฟันเทียมประมาณ 1 มิลลิเมตรและประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ในปีต่อ ๆ มาได้ ถ้ามีการละลายของกระดูกอยู่ในเกณฑ์ตามที่กล่าวมาถือว่าประสบความสำเร็จในการรักษา
ข้อดีของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. ไม่มีการทำอันตรายต่อฟันและเหงือกในบริเวณข้างเคียง
2. ลดการละลายของสันกระดูกที่รองรับฟันปลอม
3. ง่ายต่อการทำความสะอาดช่องปาก ทำให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี
4. เกิดความสะดวกสบายในการบดเคี้ยวหรือออกเสียงพูด
5. มีความมั่นใจในการพูด ยิ้ม เสริมให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
6. มีอายุการใช้งานยาวนานเมื่อเทียบกับการใช้ฟันปลอมชนิดอื่น ๆ (กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว และไม่สูบบุหรี่)
ข้อจำกัดของทันตกรรม รากฟันเทียม
1. อาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา ในกรณีที่มีความเจ็บปวดมาก ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ระงับความเจ็บปวดเพิ่มเติม
2. มีการรักษาหลายขั้นตอน ใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ต้องปลูกกระดูกบริเวณที่ต้องผ่าตัด
3. กรณีที่มีปัญหาภายหลังการรักษา มักจะต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
4. การรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สุขภาพช่องปาก ลักษณะของเนื้อเยื่อ การหายของแผล โรคประจำตัว ลักษณะนิสัยในการบดเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งการรักษาอาจไม่สำเร็จได้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดภายหลังการผ่าตัด
1. หลังผ่าตัด อาจเจ็บปวดและไม่สบาย นอกจากเกิดจากแผลแล้วยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ป่วย โดยทั่วไปความเจ็บปวดจะไม่รุนแรง ปรากฏอยู่ประมาณ 12 ชั่วโมง และลดระดับลงเรื่อย ๆ ไม่เกิน 5 วัน การรับประทานยาแก้ปวดสามารถลดอาการปวดได้
2. อาการบวม เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อภยันตรายที่เกิดขึ้น ยิ่งเกิดมากเท่าใดการบวมจะมากขึ้นเท่านั้น กรณีผ่าตัดอาการบวมจะมากที่สุดในเวลา 48 - 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ถ้าการบวมเกิดขึ้นหลังวันที่ 3 ของการผ่าตัด ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อมากกว่าการบวมจากการผ่าตัด การใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มบริเวณที่ผ่าตัดทันทีในวันแรกที่ผ่าตัด 24 ชั่วโมง จะช่วยให้บวมน้อยลง
3. อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด มักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ทันตแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อ ปวด บวม แดง มีหนอง เป็นไข้ แนะนำให้กลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง
4. มีเลือดออกมากผิดปกติ หรือมีเลือดออกซ้ำหลังจากผ่าตัดไปหลายวัน การป้องกัน คือ ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่นอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงหลังผ่าตัด งดสูบบุหรี่ บ้วนปาก เพราะทำให้มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดได้ เมื่อเลือดหยุดดีแล้ว งดเคี้ยวอาหารด้านที่ผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถ้ามีเลือดออกมากหรือมีเลือดออกซ้ำหลังผ่าตัดหลายวันให้กัดผ้าก๊อส 1 - 2 ชั่วโมง ถ้าเลือดยังไม่หยุดหรือระหว่างกัดผ้าก๊อซเลือดยังออกมาก ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที
5. กรณีผ่าตัดบริเวณกรามน้อยบนหรือฟันกรามบนอาจทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) หรือกรณีต้องปลูกกระดูกร่วมด้วยอาจพบอาการปวดตึง ๆ ที่โหนกแก้มระคายเคืองและมีน้ำมูกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ มีเลือดดำ ๆ ไหลลงคอได้ในช่วงสัปดาห์แรก การเดินทางด้วยเครื่องบินอาจมีแรงดันทำให้มีอาการปวด ถ้าในระยะยาวยังมีอาการปวดรุนแรงอาจพบการติดเชื้อในโพรงอากาศได้ ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบกลับมานัดหมายทันที บางกรณีอาจต้องให้การรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก
6. แผลผ่าตัดหายช้า หรือมีเศษกระดูกโผล่ มักพบได้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการหายของแผลหรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักจะกลับมาด้วยอาการปวดแผล เขี่ยแผลแล้วเจ็บแปล๊บ ๆ หรือรู้สึกมีอะไรคม ๆ บาดลิ้นเป็นต้น
7. อาจพบรอยเซาะของเลือดจากแผลมาที่ผิวหน้าและบริเวณใกล้เคียงกับที่ผ่าตัด ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ป่วยโรคเลือด รอยเลือดดังกล่าวจะค่อย ๆ จางไปภายใน 2 - 3 สัปดาห์
8. การอ้าปากได้จำกัด เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว หรือเกิดจากการฉีดยาชาเพื่อสกัดเส้นประสาทจะผ่านกล้ามเนื้อที่ควบคุมการอ้าปากหุบปาก อีกกรณีคือผู้ป่วยมีความกังวลมาก การรักษาฝึกให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด โดยพยายามอ้าปาก ใช้นิ้วมือหรือไม้กดลิ้นง้างปากค้างไว้ 2 นาทีแล้วผ่อนลง ทำบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบข้างแก้มและหน้าหู ระยะปกติในผู้ใหญ่สามารถอ้าปากได้ประมาณ 3 เซนติเมตรเมื่อวัดจากปลายฟันหน้าบนและฟันหน้าล่าง
9. อาจพบอาการชาที่ริมฝีปากได้ โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง เนื่องจากปลายรากฟันอยู่ใกล้ชิดกับเส้นประสาทรับความรู้สึกของขากรรไกรล่างและริมฝีปาก สังเกตโดยหลังผ่าตัดไป 4 - 5 ชั่วโมงแล้ว อาการชาที่ริมฝีปากไม่ลดลง อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 3 - 6 เดือน ผู้ที่มีอาการชาควรระมัดระวังในการเคี้ยว เพราะอาจกัดริมฝีปากได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าชามาก ๆ อาจต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำลายไหลออกมานอกช่องปาก ริมฝีปากจะเป็นส่วนแรกที่กลับมารับความรู้สึกได้ปกติก่อน โดยจะมีอาการนำ เช่น เจ็บแปล็บ ๆ เป็นบางครั้งได้ ในบางรายอาการชาจะหลงเหลืออยู่เป็นเวลานานแต่จะเป็นแค่บริเวณเล็ก ๆ ที่คางได้
10. เกิดแผลที่ริมฝีปากจากกการกัดในระหว่างที่ยาชายังไม่หมดฤทธิ์
11. การฝังรากฟันเทียมจะมีการยึดเกาะของรากเทียม และส่วนต่อยอดที่เป็นหมุดสร้างรูปร่างเหงือก หรือส่วนต่อของครอบฟันด้วยสกรูเทคนิค ซึ่งอาจจะมีการคลายเกลียวของสกรูจากแรงต่าง ๆ ที่ไปกระทบ เช่น การแปรงฟัน การเคี้ยวอาหาร เป็นต้น ถ้าสกรูหลวมให้รีบกลับมาไขทันที เพราะถ้าปล่อยไว้ส่วนต่อยอดอาจหลุดและกลืนลงคอได้ หรือถ้าทิ้งไว้หลายวัน เนื้อเหงือกแน่นรอบรากเทียมจะหดตัว ต้องผ่าตัดรากเทียมระยะที่ 2 ซ้ำอีกครั้ง รอ 2 สัปดาห์จึงกลับมาใส่ฟันอีกครั้ง กรณีหมุดหรือครอบฟันกลืนลงคอ ควรได้รับการส่งตรวจประเมิน ถ่ายภาพทางรังสีกับแพทย์เป็นระยะจนถ่ายออกมาตามปกติ ส่วนต่อยอดจะมีลักษณะเดือยแหลมอาจมีการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่ลำไส้ได้ กรณีหลุดลงหลอดลมจะต้องพบแพทย์เพื่อดมยาและคีบส่วนต่อยอดออกมา
12. มีการอักเสบรอบ ๆ รากฟันเทียมภายหลังการใส่ฟันปลอม ซึ่งเกิดเนื่องจากบริเวณรอบ ๆ ฟันปลอมไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดีพอ เป็นผลให้มีการละลายของกระดูกรอบ ๆ รากฟันเทียม เหงือกร่น และรากฟันเทียมโผล่มาให้เห็นในช่องปากได้
13. กรณีมาตรวจพบภายหลังว่ามีโรคที่มีผลต่อกระดูก โรคทางโลหิตวิทยา รับประทานยาที่มีผลต่อการสร้างกระดูก อาจพบภาวะการยึดเกาะของรากเทียมกับกระดูกมีปัญหา รากเทียมอาจโยกหลุดได้
14. ปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษามีมากมาย ถึงแม้ว่าทันตแพทย์จะประเมินและวางแผนการรักษาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกที่จะเกิดขึ้นได้ จึงทำให้การรักษาที่กำหนดไว้อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจัยภายนอก เช่น การเสื่อมของกระดูก การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย สุขภาพในระหว่างการรักษา อาจติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ การติดเชื้อที่กระดูกภายหลังผ่าตัด การเริ่มรับประทานยาบางประเภทที่มีผลต่อกระดูก การได้รับเคมีบำบัด การได้รับรังสีรักษา หรือการเป็นโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน เป็นต้น
คำแนะนำภายหลังการรักษา
1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 - 2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
2. คายผ้าก๊อซหลังกัดผ้า 1 - 2 ชั่วโมง ถ้ายังมีเลือดซึม ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1 ชั่วโมง
3. อาจประคบด้วยน้ำแข็งภายนอก บริเวณแก้มข้างที่ทำการผ่าตัด 1 - 2 วัน
4. รับประทานอาหารอ่อน หลังอาหารให้บ้วนน้ำเบา ๆ ช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นบ้วนน้ำตามปกติ
5. รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
6. แปรงฟันตามปกติ ยกเว้นตำแหน่งที่ฝังรากเทียมให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่แพทย์จ่ายให้ 1 – 2 สัปดาห์
7. ตัดไหมได้ภายหลังการผ่าตัด 7 – 14 วัน
8. กรณีผ่าตัดหรือมีรูทะลุโพรงอากาศ (ไซนัส) ให้งดการบ้วนน้ำรุนแรง กรณีไอ จาม ให้อ้าปากกว้าง เพื่อลดแรงดัน งดสั่งน้ำมูก ให้ซับ ๆ เพียงอย่างเดียว และงดว่ายน้ำ 4 เดือน
9. กรณีฝังรากเทียมร่วมกับมีส่วนต่อของหมุดสร้างรูปร่างเหงือกหรือครอบฟันแล้ว ต้องสังเกตหมุดหรือครอบฟันมีการขยับหรือไม่ ซึ่งอาจจะหลวมหลุดได้ ถ้าหลวมให้ติดต่อกลับมาเพื่อรับการไขให้แน่นทันที
10. ในระหว่างรอการยึดเกาะของรากเทียม หรือหลังการรักษาเสร็จแล้ว มีอาการเจ็บ เหงือกบวม ให้รีบติดต่อมาเพื่อรับการรักษาทันที
11. หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัดหมาย โทรติดต่อนัดหมายศูนย์ทันตกรรม โทร. 1474 หรือ Line: @siphcallcenter
ข้อห้ามซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด
1. ห้ามดูดแผล หรือเอานิ้วและวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
2. ห้ามบ้วนน้ำลายภายหลังการทำการผ่าตัด ภายใน 1 - 2 ชั่วโมง
3. ห้ามสูบบุหรี่ กินหมาก และดื่มสุรา ภายใน 24 ชั่วโมง
4. ห้ามออกกำลังกาย ภายใน 24 ชั่วโมง ในผู้มีภาวะเสี่ยงควรงดออกกำลังกาย 5 - 7 วันหลังผ่าตัด
5. ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ หรือบ้วนน้ำแรง ๆ หลังผ่าตัด 3 วัน
วิธีการประเมินภาวการณ์แข็งตัวของเลือด
ระยะเวลาปกติที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือดจนเลือดหยุดไหลประมาณ 7 – 10 นาที หลังจากทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด และเลือดจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่กรณีมีบาดแผลในช่องปาก จะเป็นแผลเปิดที่มีน้ำลายมาสัมผัสตลอดเวลา ทำให้มีเลือดออกได้นานกว่าปกติ ดังนั้นควรทราบวิธีการประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด ดังนี้
1. มีเลือดออก ให้กัดผ้าก๊อซนาน 10 – 15 นาที ถ้าเลือดไม่ชุ่มจนออกนอกผ้าก๊อซ แสดงว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดปกติ ให้กัดผ้าก๊อซจนครบ 1 ชั่วโมง
2. เมื่อกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชั่วโมง ทำการประเมินอีกครั้ง โดยคายผ้าทิ้ง รอดูว่าในช่องปากมีเลือดออกมาอีกหรือไม่ใน 10 นาที ถ้ายังมีเลือดซึมออกมา ให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมงแล้วประเมินอีกครั้ง ผ้าก๊อซที่กัดต้องไม่ชุ่มเลือด หรืออาจมีส่วนของผ้าที่ยังมีสีขาวอยู่ และภายใน 10 นาทีหลังประเมินไม่พบเลือดออกอีก แสดงว่าเลือดหยุดได้ดี
3. ถ้าหลังกัดผ้าก๊อซแล้ว 15 นาที ยังรู้สึกว่ามีเลือดออกมากเป็นลิ่ม ถ้ามีปัญหาเลือดออกในช่วงเวลา 7:00 – 20:00 น. ให้พบทันตแพทย์ที่ศูนย์ทันตกรรม หรือนอกเวลาทำการให้พบแพทย์ที่คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยโทรแจ้งที่เบอร์ 1474
การรักษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การปลูกกระดูกในบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่สันเหงือก หรือบริเวณโพรงอากาศแมกซิลลา โดยใช้กระดูกมาจากบริเวณขากรรไกร สะโพก หรือจะเป็นกระดูกเทียมขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของกระดูกที่ต้องการ ซึ่งการปลูกกระดูกจะกระทำต่อเมื่อบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียมมีปริมาณกระดูกไม่เพียงพอ หลังการผ่าตัดปลูกกระดูก 4 – 6 เดือน จึงจะฝังรากฟันเทียมได้
2. การปลูกเนื้อเยื่อ ใช้ในกรณีที่มีเนื้อเหงือกไม่เพียงพอ ต้องนำเหงือกจากบริเวณเพดานปากมาปลูก หลังปลูกเหงือก 6 – 8 สัปดาห์ จึงฝังรากฟันเทียมได้ หรืออาจทำร่วมกับการผ่าตัดรากเทียมระยะที่ 2 ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A