ผลข้างเคียงจากยา Vs. อาการแพ้ยาต่างกันอย่างไร?

คำถามเรื่องยาที่หลายคนมักจะถามกันบ่อยอีกหนึ่งเรื่องคือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและอาการแพ้ยาเหมือนกันหรือไม่? เพราะหากมองแบบผิวเผินทั้ง 2 แบบมีผลจากการใช้ยาเหมือนกันแต่ผลลัพธ์นั้นจะเป็นแบบเดียวกันด้วยหรือเปล่า?

     ผลข้างเคียงจากยา (Side Effect) กับอาการแพ้ยา (Drug Allergy) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้หลังจากที่เราใช้ยาเหมือนกัน ทำให้เกิดความสับสนระหว่าง 2 ภาวะนี้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกัน สิ่งแรกที่เกิดเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบเห็นได้บ่อย เช่น หลังกินยาแล้วง่วงนอน มีอาการใจสั่น คลื่นไส้หรืออาเจียน มักจะเข้าใจกันว่าเป็นอาการแพ้ยา ซึ่งความจริงแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการข้างเคียงจากยา (Side effect) และ  การแพ้ยา (Drug allergy) บทความนี้จะบอกถึงกลไกของและลักษณะอาการที่มักพบบ่อยจาก 2 ภาวะนี้ เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย

     ลักษณะอาการผลข้างเคียงจากยา และอาการแพ้ยาเป็นภาวะที่แตกต่างกันจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

ผลข้างเคียงจากยา

     ผลข้างเคียงจากยาพบได้บ่อยกว่าอาการแพ้ยา เกิดจากกลไกการทำงานของยาที่มีต่อร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้จากยาทุกชนิด อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงอาการที่รุนแรง เช่น ชนิดของยา อายุ โรคประจำตัว ปริมาณการใช้ยา หรือการใช้ยาสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นร่วมด้วย

     ผลข้างเคียงจากยามักเป็นอาการที่ไม่ค่อยรุนแรง เช่น ปากแห้ง ง่วงซึม ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ หรือปัสสาวะบ่อย โดยมากอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองหลังจากที่หยุดใช้ยา แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่ยาอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายไปจนถึงเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่พบได้น้อย

อาการแพ้ยา

     อาการแพ้ยาเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารบางชนิดในตัวยาผิดปกติไป สามารถเกิดขึ้นได้จากยาและสมุนไพรทุกชนิด โดยอาจเกิดในครั้งแรกที่ใช้ยาหรือเกิดเมื่อใช้ยาชนิดเดิมซ้ำได้ด้วยเช่นกัน

     ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้สูง คือ คนในครอบครัวมีประวัติแพ้ยา ต้องใช้ยาในปริมาณมากใช้ยาซ้ำ หรือใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีประวัติเกิดอาการแพ้ชนิดอื่นอย่างแพ้อาหาร สามารถแบ่งอาการแพ้ยาได้เป็น 2 ลักษณะคือ แบบฉับพลัน และแบบไม่ฉับพลัน 

     อาการแพ้ยาแบบไม่ฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับยาไปแล้วเกิน 1 ชั่วโมง และอาการมักไม่ค่อยรุนแรง เช่น มีผื่นแดงขึ้น คันตา หรือปวดตามข้อ แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่เกิดอาการรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์ทันที เช่น ผิวลอก เกิดแผลพุพอง ไข้ขึ้น อ่อนเพลีย หน้าบวม หรือเกิดแผลบริเวณเยื่อบุดวงตา ริมฝีปาก

     ส่วนอาการแพ้ยาแบบฉับพลันหรือทางการแพทย์เรียกว่า Anaphylaxis อาการมักจะแสดงภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา ถือเป็นอาการแพ้รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายหลายส่วน เช่น

  • หายใจไม่ออก 
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง
  • ใบหน้าและริมฝีปากบวม
  • ท้องเสีย
  • เกิดลมพิษ 
  • เวียนศีรษะ
  • ชัก
  • สูญเสียการรับรู้รอบตัว หรือหมดสติ

     อาการแพ้ยาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน หากอาการรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอาการแพ้ยาแบบฉับพลัน ผู้ที่เกิดอาการแพ้ยาในลักษณะข้างต้นควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที  

     อาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงจากยาอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้เหมือนกัน ก่อนใช้ยาใด ๆ ควรอ่านฉลากยาเสมอ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงจากยาและอาการอันตรายที่ควรรีบไปพบแพทย์ หากเกิดอาการผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์ พร้อมกับนำยาที่ใช้ติดตัวไปด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2

คำถามเรื่องยาที่หลายคนมักจะถามกันบ่อยอีกหนึ่งเรื่องคือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและอาการแพ้ยาเหมือนกันหรือไม่? เพราะหากมองแบบผิวเผินทั้ง 2 แบบมีผลจากการใช้ยาเหมือนกันแต่ผลลัพธ์นั้นจะเป็นแบบเดียวกันด้วยหรือเปล่า?

     ผลข้างเคียงจากยา (Side Effect) กับอาการแพ้ยา (Drug Allergy) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้หลังจากที่เราใช้ยาเหมือนกัน ทำให้เกิดความสับสนระหว่าง 2 ภาวะนี้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกัน สิ่งแรกที่เกิดเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบเห็นได้บ่อย เช่น หลังกินยาแล้วง่วงนอน มีอาการใจสั่น คลื่นไส้หรืออาเจียน มักจะเข้าใจกันว่าเป็นอาการแพ้ยา ซึ่งความจริงแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการข้างเคียงจากยา (Side effect) และ  การแพ้ยา (Drug allergy) บทความนี้จะบอกถึงกลไกของและลักษณะอาการที่มักพบบ่อยจาก 2 ภาวะนี้ เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย

     ลักษณะอาการผลข้างเคียงจากยา และอาการแพ้ยาเป็นภาวะที่แตกต่างกันจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

ผลข้างเคียงจากยา

     ผลข้างเคียงจากยาพบได้บ่อยกว่าอาการแพ้ยา เกิดจากกลไกการทำงานของยาที่มีต่อร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้จากยาทุกชนิด อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงอาการที่รุนแรง เช่น ชนิดของยา อายุ โรคประจำตัว ปริมาณการใช้ยา หรือการใช้ยาสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นร่วมด้วย

     ผลข้างเคียงจากยามักเป็นอาการที่ไม่ค่อยรุนแรง เช่น ปากแห้ง ง่วงซึม ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ หรือปัสสาวะบ่อย โดยมากอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองหลังจากที่หยุดใช้ยา แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่ยาอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายไปจนถึงเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่พบได้น้อย

อาการแพ้ยา

     อาการแพ้ยาเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารบางชนิดในตัวยาผิดปกติไป สามารถเกิดขึ้นได้จากยาและสมุนไพรทุกชนิด โดยอาจเกิดในครั้งแรกที่ใช้ยาหรือเกิดเมื่อใช้ยาชนิดเดิมซ้ำได้ด้วยเช่นกัน

     ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้สูง คือ คนในครอบครัวมีประวัติแพ้ยา ต้องใช้ยาในปริมาณมากใช้ยาซ้ำ หรือใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีประวัติเกิดอาการแพ้ชนิดอื่นอย่างแพ้อาหาร สามารถแบ่งอาการแพ้ยาได้เป็น 2 ลักษณะคือ แบบฉับพลัน และแบบไม่ฉับพลัน 

     อาการแพ้ยาแบบไม่ฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับยาไปแล้วเกิน 1 ชั่วโมง และอาการมักไม่ค่อยรุนแรง เช่น มีผื่นแดงขึ้น คันตา หรือปวดตามข้อ แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่เกิดอาการรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์ทันที เช่น ผิวลอก เกิดแผลพุพอง ไข้ขึ้น อ่อนเพลีย หน้าบวม หรือเกิดแผลบริเวณเยื่อบุดวงตา ริมฝีปาก

     ส่วนอาการแพ้ยาแบบฉับพลันหรือทางการแพทย์เรียกว่า Anaphylaxis อาการมักจะแสดงภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา ถือเป็นอาการแพ้รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายหลายส่วน เช่น

  • หายใจไม่ออก 
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง
  • ใบหน้าและริมฝีปากบวม
  • ท้องเสีย
  • เกิดลมพิษ 
  • เวียนศีรษะ
  • ชัก
  • สูญเสียการรับรู้รอบตัว หรือหมดสติ

     อาการแพ้ยาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน หากอาการรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอาการแพ้ยาแบบฉับพลัน ผู้ที่เกิดอาการแพ้ยาในลักษณะข้างต้นควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที  

     อาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงจากยาอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้เหมือนกัน ก่อนใช้ยาใด ๆ ควรอ่านฉลากยาเสมอ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงจากยาและอาการอันตรายที่ควรรีบไปพบแพทย์ หากเกิดอาการผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์ พร้อมกับนำยาที่ใช้ติดตัวไปด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง