การอุดฟัน รู้ครบจบทุกเรื่อง (Fill Teeth)

     การอุดฟัน เป็นการบูรณะฟันแบบหนึ่งโดยใช้วัสดุอุดฟันเข้าไปเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป เพื่อให้ได้รูปร่างฟันคงเดิม สามารถใช้งานได้ตามปกติ ช่วยกำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุไม่ให้ลุกลามต่อ บูรณะเนื้อฟันส่วนที่สูญเสียไป และเป็นการยึดเนื้อฟันเข้าด้วยกันกรณีฟันร้าว

     การเตรียมตัวก่อนการอุดฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. หากมีโรคประจำตัว และมียาที่ต้องรับประทานประจำ ควรรับประทานอาหารและยาตามปกติ
  3. ในเด็กควรเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้ที่มีความวิตกกังวลสูงหรือไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

     ขั้นตอนการอุดฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา และทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะอุดให้ชัดเจน
  2. หากผู้ป่วยกังวลถึงอาการเสียวขณะทำฟัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดยาชาบริเวณที่ทำการรักษาก่อน และอาจใส่แผ่นยางกันน้ำลายร่วมด้วย
  3. กรณีที่มีวัสดุอุดฟันเก่าอยู่ ทันตแพทย์อาจพิจาราณาทำการรื้อวัสดุเก่าออกบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อให้เห็นสภาพฟันผุทั้งหมด และทำการกำจัดส่วนที่ผุด้วยวิธีการตักหรือกรอออก
  4. หากฟันผุลึกมากต้องอุดฟันด้วยวัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการเสียวฟัน และกระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อฟันเพิ่มขึ้นในโพรงประสาทฟัน
  5. ทันตแพทย์จะใช้กรดอ่อนกัดผิวฟันเล็กน้อย ทาสารยึดติด ฉายแสงสีฟ้า อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน และทำการฉายแสงให้เกิดการแข็งตัว
  6. กรอขัดแต่งการสบฟันให้พอดีกับระดับการบดเคี้ยว ขัดเรียบ และขัดมันตามลำดับ
  7. หลังจากอุดฟัน ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการอุดฟันในทุกครั้ง

     ข้อดีของการอุดฟัน

  1. ลดการผุลุกลาม และลดอาการเสียวฟัน
  2. เสริมเนื้อฟันส่วนที่หายไปให้กลับมาแข็งแรง และใช้งานได้อีกครั้ง
  3. เป็นการบูรณะฟันที่รวดเร็ว

     ข้อเสียของการอุดฟัน

  1. อาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา 
  2. วัสดุอุดสีเหมือนฟันให้ความแข็งแรงน้อยกว่าชิ้นงานโลหะหรือครอบฟัน ไม่สามารถทำการรักษาในกรณีสูญเสียเนื้อฟันเป็นจำนวนมากได้
  3. การฉีดยาชาเพื่ออุดฟัน อาจทำให้ไม่สามารถประเมินการสบฟันได้ถูกต้อง

     ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการอุดฟัน

  1. อาจพบอาการเสียวฟันภายหลังการรักษา 1 - 2 สัปดาห์
  2. กรณีฟันผุลึกมากอาจมีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันระดับเซลโมเลกุล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ภายหลังอุดฟันอาจมีอาการปวดได้ ซึ่งการแก้ไขต้องมารับการรักษารากฟัน หรือวิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุดฟัน

     คำแนะนำหลังการอุดฟัน

  1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันเคี้ยวอาหารแข็ง เพื่อป้องกันการแตกของวัสดุอุด หรือเกิดความเสียหายต่อฟันได้
  2. อาจมีการเสียวฟัน เมื่อรับประทานอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ภายหลังการอุดฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว อาการเหล่านี้ควรหายไปเองภายใน 2 - 3 สัปดาห์
  3. หากมีอาการเจ็บฟันเวลาเคี้ยวอาหารภายหลังการอุด อาจเกิดจากวัสดุอุดฟันสูงเกิน ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที
  4. หากวัสดุอุดฟันหลุดให้กลับมาอุดใหม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเกิดฟันผุลุกลามจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  5. ควรทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  6. ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน

ข้อมูลจาก: ทพญ. กมลชนก ศรีเมืองธน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A

 

     การอุดฟัน เป็นการบูรณะฟันแบบหนึ่งโดยใช้วัสดุอุดฟันเข้าไปเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป เพื่อให้ได้รูปร่างฟันคงเดิม สามารถใช้งานได้ตามปกติ ช่วยกำจัดเนื้อฟันส่วนที่ผุไม่ให้ลุกลามต่อ บูรณะเนื้อฟันส่วนที่สูญเสียไป และเป็นการยึดเนื้อฟันเข้าด้วยกันกรณีฟันร้าว

     การเตรียมตัวก่อนการอุดฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหาร และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. หากมีโรคประจำตัว และมียาที่ต้องรับประทานประจำ ควรรับประทานอาหารและยาตามปกติ
  3. ในเด็กควรเข้ารับการรักษาห่างจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้ที่มีความวิตกกังวลสูงหรือไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา ทันตแพทย์อาจพิจารณาทำการรักษาภายใต้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

     ขั้นตอนการอุดฟัน

  1. ทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา และทำการยืนยันแผนการรักษากับผู้ป่วย โดยระบุตำแหน่งฟันที่จะอุดให้ชัดเจน
  2. หากผู้ป่วยกังวลถึงอาการเสียวขณะทำฟัน ทันตแพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดยาชาบริเวณที่ทำการรักษาก่อน และอาจใส่แผ่นยางกันน้ำลายร่วมด้วย
  3. กรณีที่มีวัสดุอุดฟันเก่าอยู่ ทันตแพทย์อาจพิจาราณาทำการรื้อวัสดุเก่าออกบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อให้เห็นสภาพฟันผุทั้งหมด และทำการกำจัดส่วนที่ผุด้วยวิธีการตักหรือกรอออก
  4. หากฟันผุลึกมากต้องอุดฟันด้วยวัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการเสียวฟัน และกระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อฟันเพิ่มขึ้นในโพรงประสาทฟัน
  5. ทันตแพทย์จะใช้กรดอ่อนกัดผิวฟันเล็กน้อย ทาสารยึดติด ฉายแสงสีฟ้า อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน และทำการฉายแสงให้เกิดการแข็งตัว
  6. กรอขัดแต่งการสบฟันให้พอดีกับระดับการบดเคี้ยว ขัดเรียบ และขัดมันตามลำดับ
  7. หลังจากอุดฟัน ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการอุดฟันในทุกครั้ง

     ข้อดีของการอุดฟัน

  1. ลดการผุลุกลาม และลดอาการเสียวฟัน
  2. เสริมเนื้อฟันส่วนที่หายไปให้กลับมาแข็งแรง และใช้งานได้อีกครั้ง
  3. เป็นการบูรณะฟันที่รวดเร็ว

     ข้อเสียของการอุดฟัน

  1. อาจมีความเจ็บปวด และเกิดความเครียดขณะรับการรักษา 
  2. วัสดุอุดสีเหมือนฟันให้ความแข็งแรงน้อยกว่าชิ้นงานโลหะหรือครอบฟัน ไม่สามารถทำการรักษาในกรณีสูญเสียเนื้อฟันเป็นจำนวนมากได้
  3. การฉีดยาชาเพื่ออุดฟัน อาจทำให้ไม่สามารถประเมินการสบฟันได้ถูกต้อง

     ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการอุดฟัน

  1. อาจพบอาการเสียวฟันภายหลังการรักษา 1 - 2 สัปดาห์
  2. กรณีฟันผุลึกมากอาจมีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันระดับเซลโมเลกุล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ภายหลังอุดฟันอาจมีอาการปวดได้ ซึ่งการแก้ไขต้องมารับการรักษารากฟัน หรือวิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุดฟัน

     คำแนะนำหลังการอุดฟัน

  1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันเคี้ยวอาหารแข็ง เพื่อป้องกันการแตกของวัสดุอุด หรือเกิดความเสียหายต่อฟันได้
  2. อาจมีการเสียวฟัน เมื่อรับประทานอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ภายหลังการอุดฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว อาการเหล่านี้ควรหายไปเองภายใน 2 - 3 สัปดาห์
  3. หากมีอาการเจ็บฟันเวลาเคี้ยวอาหารภายหลังการอุด อาจเกิดจากวัสดุอุดฟันสูงเกิน ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที
  4. หากวัสดุอุดฟันหลุดให้กลับมาอุดใหม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเกิดฟันผุลุกลามจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้
  5. ควรทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
  6. ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน

ข้อมูลจาก: ทพญ. กมลชนก ศรีเมืองธน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3  โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง