ขี้หลงขี้ลืม เสี่ยงโรคอัลไซเมอร์จริงหรือ?
หลายคนคงมีความเข้าใจว่าอาการขี้หลงขี้ลืมเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่เป็นธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่พบว่าผู้สูงอายุจะเป็นโรคอัลไซเมอร์กันทุกคน ทำให้เข้าใจว่าความชราไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นความเสื่อมถอยของสมอง
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) คือโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบบ่อยที่สุด ส่งผลต่อสมองส่วนที่ใช้ในการควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา ทำให้มีอาการหลงลืม มีระดับอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี
อาการของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ ไม่ได้มีแค่อาการความจำเสื่อม หรือหลงๆ ลืมๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอาการทางอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โกรธง่าย เศร้าง่าย หรือหลงทิศหลงทางง่ายกว่าคนทั่วไป โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะเริ่มต้น เช่น ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น วางของผิดที่ ถามคำถามซ้ำคำเดิมๆ
- ระยะกลาง เช่น จำชื่อคนรู้จักไม่ได้ หลงทาง มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้
- ระยะปลาย เช่น ประสาทหลอน อาละวาด กลืนอาหารลำบาก เคลื่อนไหวตัวเองลำบาก น้ำหนักลด
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ เกิดจากการฝ่อของสมอง ส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ซึ่งสาเหตุของการฝ่อของสมองยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้
- อายุ เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป โอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 5 ปี
- พันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยง
- กลุ่มอาการดาวน์ เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเกิดการสะสมของอะไมลอยด์ขึ้นในสมอง
- ศีรษะได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจะยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์
- โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกิน
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ทุกวันนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาให้หายขาด แต่มีวิธีการรักษาตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย รวมถึงการดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค การป้องกันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของโรคอัลไซเมอร์ได้ เช่น กระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัวโดยการอ่านหนังสือ เล่นเกมที่ต้องใช้ความคิดหรือความจำ นอกจากนี้การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอจะช่วยให้สมองสดชื่นและชะลอความเสื่อมของโรคได้ เช่น การวิ่ง การเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ควรรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้สามารถป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอัลไซเมอร์ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D
หลายคนคงมีความเข้าใจว่าอาการขี้หลงขี้ลืมเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่เป็นธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่พบว่าผู้สูงอายุจะเป็นโรคอัลไซเมอร์กันทุกคน ทำให้เข้าใจว่าความชราไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นความเสื่อมถอยของสมอง
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) คือโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบบ่อยที่สุด ส่งผลต่อสมองส่วนที่ใช้ในการควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา ทำให้มีอาการหลงลืม มีระดับอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างได้ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี
อาการของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ ไม่ได้มีแค่อาการความจำเสื่อม หรือหลงๆ ลืมๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอาการทางอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โกรธง่าย เศร้าง่าย หรือหลงทิศหลงทางง่ายกว่าคนทั่วไป โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะเริ่มต้น เช่น ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น วางของผิดที่ ถามคำถามซ้ำคำเดิมๆ
- ระยะกลาง เช่น จำชื่อคนรู้จักไม่ได้ หลงทาง มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้
- ระยะปลาย เช่น ประสาทหลอน อาละวาด กลืนอาหารลำบาก เคลื่อนไหวตัวเองลำบาก น้ำหนักลด
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ เกิดจากการฝ่อของสมอง ส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ซึ่งสาเหตุของการฝ่อของสมองยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้
- อายุ เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป โอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 5 ปี
- พันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์ สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยง
- กลุ่มอาการดาวน์ เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเกิดการสะสมของอะไมลอยด์ขึ้นในสมอง
- ศีรษะได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจะยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์
- โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกิน
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ทุกวันนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาให้หายขาด แต่มีวิธีการรักษาตามอาการของผู้ป่วยในแต่ละราย รวมถึงการดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค การป้องกันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของโรคอัลไซเมอร์ได้ เช่น กระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัวโดยการอ่านหนังสือ เล่นเกมที่ต้องใช้ความคิดหรือความจำ นอกจากนี้การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอจะช่วยให้สมองสดชื่นและชะลอความเสื่อมของโรคได้ เช่น การวิ่ง การเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ควรรีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้สามารถป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอัลไซเมอร์ได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D