ดูแลฟันซี่แรก เริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิด

ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร?

     ผู้ปกครองหลายคนอาจคิดว่าฟันน้ำนมนั้นอยู่ได้ชั่วคราว เมื่อโตขึ้นก็หลุดออก ทำให้ไม่จำเป็นต้องดูแลหรือไม่ได้พาลูกมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก เพราะคิดว่ารอฟันแท้ขึ้นก่อนแล้วค่อยพาลูกมาตรวจฟันก็ยังทัน แต่ความคิดนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะฟันน้ำนมมีประโยชน์สำหรับเด็ก เนื่องจากช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจน และยังช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ฟันแท้อาจเกิดปัญหาฟันซ้อนหรือฟันเกได้

เคล็ดลับดูแลช่องปากเด็กแต่ละวัย

  • แรกเกิด ผู้ปกครองสามารถเริ่มดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กแรกเกิดได้ โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดสันเหงือกและลิ้น ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว เพราะฝ้าขาวเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
  • ฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก - 3 ปี เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม มีจำนวนขนแปรง 3 x 4-6 แถว ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ปริมาณแตะพอชื้นหรือขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร หลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองออก
  • เด็กอายุ 3 – 6 ปี เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม มีจำนวนขนแปรง 4 x 7-8 แถว ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดหรือเท่าความกว้างของหน้าตัดแปรงฟัน หลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองออก
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม ขนาดเหมาะสมกับช่องปาก ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าความยาวของหน้าตัดแปรงฟันหลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้บ้วนฟองทิ้งหรือบ้วนน้ำน้อยๆ

 

#ศูนย์ทันตกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ดูแลฟันซี่แรก #แปรงฟันเด็ก #ยาสีฟันเด็ก #ฟันผุ #ลิ้นเป็นฝ้าขาว #ฟันน้ำนม #น้ำยาบ้วนปาก #ไหมขัดฟัน #ตรวจฟัน #อาการเสียวฟัน #ปวดฟัน #ฟันแท้ #ฟันแท้ขึ้น #ฟูลออไรด์ #First Tooth

 

ความจำเป็นของการใช้ฟลูออไรด์ในเด็ก

     โดยทั่วไปทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และไหมขัดฟัน เพื่อทำความสะอาดช่องปาก แต่สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้ฟลูออไรด์เม็ดหรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน โดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของทันตแพทย์

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์อายุเท่าไหร่ดี?

     ผู้ปกครองควรพาลูกมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือเมื่อฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตั้งแต่การแปรงฟัน การทำความสะอาดช่องปาก การปรับพฤติกรรม การบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

การเตรียมตัวก่อนพาเด็กไปพบทันตแพทย์

  1. สร้างทัศนคติและประสบการณ์ที่ดีในการทำฟัน โดยผู้ปกครองแสดงบทบาทสมมติเป็นคุณหมอตรวจฟันให้เด็ก แล้วสลับกันให้เด็กเป็นคุณหมอตรวจฟันให้ผู้ปกครอง อาจให้เด็กดูวิดีโอหรือนิทานเกี่ยวกับการไปหาหมอฟัน ช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับทันตแพทย์มากขึ้นและไม่ตกใจเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์จริง
  2. เมื่อผู้ปกครองหรือคนในครอบครัวต้องไปทำฟัน อาจพาเด็กไปด้วยเพื่อสัมผัสกับบรรยากาศภายในห้องตรวจและสร้างความคุ้นเคย
  3. งดน้ำและอาหาร 2-3 ชั่วโมงก่อนมาทำฟัน เนื่องจากคอของเด็กยังตื้น เวลานอนตรวจฟันอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้

การปรับพฤติกรรมเด็กระหว่างทำฟัน

1. บอก แสดง ทำ (Tell Show Do)

     บอก ทันตแพทย์จะบอกว่ากำลังทำอะไร ใช้เครื่องมือแบบไหน ทำงานอย่างไร เพื่อให้เด็กคลายความกังวล

     แสดง ทันตแพทย์จะแสดงเหตุการณ์จำลองให้เด็กทราบ เช่น ใช้หัวขัดฟันลองขัดที่เล็บของเด็กให้ดูก่อน

     ทำ ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทำหัตถการจริงในช่องปากของเด็ก

2. การใช้เสียง (Voice Control)

     เด็กบางคนอาจอาละวาดเสียงดัง ไม่ฟังที่ทันตแพทย์พูด ดังนั้นเพื่อให้เกิดการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างทันตแพทย์กับเด็ก จึงจำเป็นจะต้องใช้เสียงที่ดังขึ้นเพื่อให้เด็กหยุดอาละวาด และกลับมารับฟังพร้อมให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์มากที่สุด

3. แยกเด็กกับผู้ปกครอง (Parent Separation)

     บ่อยครั้งที่เด็กมักงอแง อ้อนผู้ปกครอง เมื่อแยกให้ผู้ปกครองรอด้านนอกห้องตรวจ มักจะให้ความร่วมมือได้ดีกว่า

4. ใช้เครื่องมือจำกัดการเคลื่อนไหว (Restraint)

     บางครั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องใช้เครื่องจำกัดความเคลื่อนไหว เช่น ที่ห่อตัว เครื่องมือช่วยอ้าปาก ซึ่งไม่ใช่การลงโทษหรือทรมานเด็ก แต่เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลฟันน้ำนม

1. เด็กกินนมมื้อดึก ฟันจะผุไหม?

     การกินนมมื้อดึก อาจมีความเสี่ยงทำให้เด็กฟันผุได้ เนื่องจากแบคทีเรียสามารถนำน้ำตาลในนมไปทำปฏิกิริยาจนเกิดกรด และกัดกร่อนฟันทำให้ฟันผุ

2. ฟันน้ำนมผุไม่ต้องพาไปพบทันตแพทย์ เพราะเดี๋ยวก็หลุดจริงหรือ?

     เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะฟันน้ำนมนอกจากมีหน้าที่ในการออกเสียงแล้ว ยังมีหน้าที่ในการบดเคี้ยว หากเด็กฟันผุจนเกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ทางอ้อมด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำคัญในการกั้นที่ว่างตามธรรมชาติให้ฟันแท้ขึ้น หากสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ฟันแท้อาจขึ้นซ้อน เก หรือล้มเอียงได้

3. เด็กอนุบาลจำเป็นต้องแปรงฟันตอนกลางวันหรือไม่?

     ในเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือเช้าและก่อนนอน ถ้าสามารถแปรงได้มากกว่านั้นก็ส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปาก

4. ถ้าฟันน้ำนมหลุดเร็วกว่าวัยจะมีผลเสียหรือไม่?

     อาจส่งผลเสียต่อฟันแท้ เพราะฟันแท้อาจขึ้นมาเร็ว ทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้เร็ว ผู้ปกครองจึงควรดูแลทำความสะอาดช่องปากของเด็กอย่างเคร่งครัดมากขึ้น

5. ควรให้ลูกเลิกขวดนมตอนอายุเท่าไหร่?

     ควรเลิกขวดนมประมาณ 1 ขวบหรือ 1 ขวบครึ่ง เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ และถ้าดูดขวดนมเกิน 4 ขวบ จะส่งผลต่อโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟันหน้าด้านบนยื่นได้

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ "ดูแลอย่างครบครัน ตั้งแต่ฟันซี่แรก" >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน 

ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร?

     ผู้ปกครองหลายคนอาจคิดว่าฟันน้ำนมนั้นอยู่ได้ชั่วคราว เมื่อโตขึ้นก็หลุดออก ทำให้ไม่จำเป็นต้องดูแลหรือไม่ได้พาลูกมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก เพราะคิดว่ารอฟันแท้ขึ้นก่อนแล้วค่อยพาลูกมาตรวจฟันก็ยังทัน แต่ความคิดนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะฟันน้ำนมมีประโยชน์สำหรับเด็ก เนื่องจากช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจน และยังช่วยให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ฟันแท้อาจเกิดปัญหาฟันซ้อนหรือฟันเกได้

เคล็ดลับดูแลช่องปากเด็กแต่ละวัย

  • แรกเกิด ผู้ปกครองสามารถเริ่มดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กแรกเกิดได้ โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดสันเหงือกและลิ้น ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว เพราะฝ้าขาวเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
  • ฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก - 3 ปี เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม มีจำนวนขนแปรง 3 x 4-6 แถว ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ปริมาณแตะพอชื้นหรือขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร หลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองออก
  • เด็กอายุ 3 – 6 ปี เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม มีจำนวนขนแปรง 4 x 7-8 แถว ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดหรือเท่าความกว้างของหน้าตัดแปรงฟัน หลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดฟองออก
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป เลือกแปรงสีฟันหน้าตัดตรงขนแปรงอ่อนนุ่ม ขนาดเหมาะสมกับช่องปาก ร่วมกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าความยาวของหน้าตัดแปรงฟันหลังแปรงฟันเสร็จแล้วให้บ้วนฟองทิ้งหรือบ้วนน้ำน้อยๆ

#ศูนย์ทันตกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ดูแลฟันซี่แรก #แปรงฟันเด็ก #ยาสีฟันเด็ก #ฟันผุ #ลิ้นเป็นฝ้าขาว #ฟันน้ำนม #น้ำยาบ้วนปาก #ไหมขัดฟัน #ตรวจฟัน #อาการเสียวฟัน #ปวดฟัน #ฟันแท้ #ฟันแท้ขึ้น #ฟูลออไรด์ #First Tooth

ความจำเป็นของการใช้ฟลูออไรด์ในเด็ก

     โดยทั่วไปทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และไหมขัดฟัน เพื่อทำความสะอาดช่องปาก แต่สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาให้ใช้ฟลูออไรด์เม็ดหรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน โดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของทันตแพทย์

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์อายุเท่าไหร่ดี?

     ผู้ปกครองควรพาลูกมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือเมื่อฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก ตั้งแต่การแปรงฟัน การทำความสะอาดช่องปาก การปรับพฤติกรรม การบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

การเตรียมตัวก่อนพาเด็กไปพบทันตแพทย์

  1. สร้างทัศนคติและประสบการณ์ที่ดีในการทำฟัน โดยผู้ปกครองแสดงบทบาทสมมติเป็นคุณหมอตรวจฟันให้เด็ก แล้วสลับกันให้เด็กเป็นคุณหมอตรวจฟันให้ผู้ปกครอง อาจให้เด็กดูวิดีโอหรือนิทานเกี่ยวกับการไปหาหมอฟัน ช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับทันตแพทย์มากขึ้นและไม่ตกใจเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์จริง
  2. เมื่อผู้ปกครองหรือคนในครอบครัวต้องไปทำฟัน อาจพาเด็กไปด้วยเพื่อสัมผัสกับบรรยากาศภายในห้องตรวจและสร้างความคุ้นเคย
  3. งดน้ำและอาหาร 2-3 ชั่วโมงก่อนมาทำฟัน เนื่องจากคอของเด็กยังตื้น เวลานอนตรวจฟันอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้

การปรับพฤติกรรมเด็กระหว่างทำฟัน

1. บอก แสดง ทำ (Tell Show Do)

     บอก ทันตแพทย์จะบอกว่ากำลังทำอะไร ใช้เครื่องมือแบบไหน ทำงานอย่างไร เพื่อให้เด็กคลายความกังวล

     แสดง ทันตแพทย์จะแสดงเหตุการณ์จำลองให้เด็กทราบ เช่น ใช้หัวขัดฟันลองขัดที่เล็บของเด็กให้ดูก่อน

     ทำ ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทำหัตถการจริงในช่องปากของเด็ก

2. การใช้เสียง (Voice Control)

     เด็กบางคนอาจอาละวาดเสียงดัง ไม่ฟังที่ทันตแพทย์พูด ดังนั้นเพื่อให้เกิดการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างทันตแพทย์กับเด็ก จึงจำเป็นจะต้องใช้เสียงที่ดังขึ้นเพื่อให้เด็กหยุดอาละวาด และกลับมารับฟังพร้อมให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์มากที่สุด

3. แยกเด็กกับผู้ปกครอง (Parent Separation)

     บ่อยครั้งที่เด็กมักงอแง อ้อนผู้ปกครอง เมื่อแยกให้ผู้ปกครองรอด้านนอกห้องตรวจ มักจะให้ความร่วมมือได้ดีกว่า

4. ใช้เครื่องมือจำกัดการเคลื่อนไหว (Restraint)

     บางครั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องใช้เครื่องจำกัดความเคลื่อนไหว เช่น ที่ห่อตัว เครื่องมือช่วยอ้าปาก ซึ่งไม่ใช่การลงโทษหรือทรมานเด็ก แต่เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างปลอดภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดูแลฟันน้ำนม

1. เด็กกินนมมื้อดึก ฟันจะผุไหม?

     การกินนมมื้อดึก อาจมีความเสี่ยงทำให้เด็กฟันผุได้ เนื่องจากแบคทีเรียสามารถนำน้ำตาลในนมไปทำปฏิกิริยาจนเกิดกรด และกัดกร่อนฟันทำให้ฟันผุ

2. ฟันน้ำนมผุไม่ต้องพาไปพบทันตแพทย์ เพราะเดี๋ยวก็หลุดจริงหรือ?

     เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะฟันน้ำนมนอกจากมีหน้าที่ในการออกเสียงแล้ว ยังมีหน้าที่ในการบดเคี้ยว หากเด็กฟันผุจนเกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน จะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ทางอ้อมด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำคัญในการกั้นที่ว่างตามธรรมชาติให้ฟันแท้ขึ้น หากสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ฟันแท้อาจขึ้นซ้อน เก หรือล้มเอียงได้

3. เด็กอนุบาลจำเป็นต้องแปรงฟันตอนกลางวันหรือไม่?

     ในเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือเช้าและก่อนนอน ถ้าสามารถแปรงได้มากกว่านั้นก็ส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปาก

4. ถ้าฟันน้ำนมหลุดเร็วกว่าวัยจะมีผลเสียหรือไม่?

     อาจส่งผลเสียต่อฟันแท้ เพราะฟันแท้อาจขึ้นมาเร็ว ทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้เร็ว ผู้ปกครองจึงควรดูแลทำความสะอาดช่องปากของเด็กอย่างเคร่งครัดมากขึ้น

5. ควรให้ลูกเลิกขวดนมตอนอายุเท่าไหร่?

     ควรเลิกขวดนมประมาณ 1 ขวบหรือ 1 ขวบครึ่ง เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ และถ้าดูดขวดนมเกิน 4 ขวบ จะส่งผลต่อโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟันหน้าด้านบนยื่นได้

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ "ดูแลอย่างครบครัน ตั้งแต่ฟันซี่แรก" >>คลิกที่นี่<<

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง