เท้าแบน ลูกเป็นหรือเปล่า?

เท้าแบน (pes planus หรือ flat foot) คืออะไร

เป็นภาวะที่ไม่มีอุ้งเท้า สำหรับการวินิจฉัยจะมีการตรวจร่างกายและการพิมพ์รอยเท้า ซึ่งเท้าแบนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด  คือ  เท้าแบนชนิดติดแข็ง อุ้งเท้าจะแบนทั้งในขณะที่ยืนลงน้ำหนักและยกเท้าขึ้น  และเท้าแบนชนิดยืดหยุ่น อุ้งเท้าจะแบนขณะที่ยืนลงน้ำหนักแต่จะมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือให้ยืนเขย่งเท้าซึ่งเท้าแบนชนิดนี้พบได้บ่อยกว่า  

สาเหตุของเท้าแบน

ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน สันนิษฐานได้ว่าเท้าแบนเกิดจากความผิดปกติของการเรียงตัวของกระดูกภายในเท้า ซึ่งเท้าแบนในเด็กส่วนใหญ่จะเกิดจากพันธุกรรมและมักจะเป็นเท้าแบนแบบไม่ติดแข็ง

อาการ

เด็กจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าตามยาวด้านใน ปวดเท้า ปวดขา และปวดน่อง ซึ่งมักเกิดจากไปทำกิจกรรมที่ใช้เท้ามากเกินไป เช่น การยืนหรือเดินมากไป แต่จะมีส่วนน้อยที่คุณพ่อคุณแม่พาเด็กมาเพราะมีอาการ โดยทั่วไปมักจะพามาพบแพทย์ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลูกเดินไม่สวย มีคนทักว่าลูกเดินเหมือนเป็ด หรือมีคุณพ่อคุณแม่ของเด็กที่มีเท้าแบนคนอื่นสังเกตุเห็นแล้วทัก

ในการตรวจร่างกายจะพบว่าอุ้งเท้าด้านในแบนลงขณะยืนลงน้ำหนักและมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือให้ยืนเขย่งเท้า ในบางรายอาจมีการผิดรูปของเท้า ซึ่งลักษณะของการผิดรูปที่พบบ่อย คือ มีเท้าผิดรูป โดยมีเท้าส่วนหน้าปัดออก และเท้าส่วนหลังบิดออกนอก กระดูกข้อเท้าจะเทลงทางด้านใน พิมพ์รอยเท้าอุ้งเท้าน้อยลงหรือไม่มีอุ้งเท้า    

การรักษา

การรักษาเริ่มต้นจากต้องแยกให้ได้ว่าเด็กมีเท้าแบนจริงๆ หรือเป็นเพียงเท้าอูมที่มีไขมันใต้ฝ่าเท้า ในช่วงเด็กอายุ 1 ขวบ เด็กจะดูเหมือนไม่มีอุ้งเท้าเพราะมีไขมันใต้ฝ่าเท้ามาก แต่จะเห็นอุ้งเท้าชัดเจนขึ้นเมื่ออายุ 3 - 4 ปี   หากเป็นเท้าแบน สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำความเข้าใจว่าเท้าแบนในเด็กเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นการจัดเรียงตัวของกระดูกเท้าที่ทำให้ส่วนอุ้งเท้ามีความสูงน้อยกว่าอุ้งเท้าลักษณะอื่น การรักษาซึ่งประกอบด้วยการปรับรองเท้าและการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมไม่สามารถทำให้เด็กเท้าแบนกลายเป็นคนที่มีอุ้งเท้าปกติหรืออุ้งเท้าสูงได้ แต่การรักษาจะช่วยให้ส้นเท้าไม่บิดผิดรูปมากขึ้น ทำให้เด็กสามารถยืนหรือเดินได้ โดยไม่มีปัญหาปวดที่อุ้งเท้าหรือบริเวณน่อง อย่างไรก็ตามเด็กเท้าแบนจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เท้าแบนเสมอ เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจจะคาดหวังว่าการใส่รองเท้าจะช่วยทำให้เด็กมีอุ้งเท้ามากขึ้นในอนาคต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

เท้าแบน (pes planus หรือ flat foot) คืออะไร

เป็นภาวะที่ไม่มีอุ้งเท้า สำหรับการวินิจฉัยจะมีการตรวจร่างกายและการพิมพ์รอยเท้า ซึ่งเท้าแบนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด  คือ  เท้าแบนชนิดติดแข็ง อุ้งเท้าจะแบนทั้งในขณะที่ยืนลงน้ำหนักและยกเท้าขึ้น  และเท้าแบนชนิดยืดหยุ่น อุ้งเท้าจะแบนขณะที่ยืนลงน้ำหนักแต่จะมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือให้ยืนเขย่งเท้าซึ่งเท้าแบนชนิดนี้พบได้บ่อยกว่า  

สาเหตุของเท้าแบน

ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน สันนิษฐานได้ว่าเท้าแบนเกิดจากความผิดปกติของการเรียงตัวของกระดูกภายในเท้า ซึ่งเท้าแบนในเด็กส่วนใหญ่จะเกิดจากพันธุกรรมและมักจะเป็นเท้าแบนแบบไม่ติดแข็ง

อาการ

เด็กจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าตามยาวด้านใน ปวดเท้า ปวดขา และปวดน่อง ซึ่งมักเกิดจากไปทำกิจกรรมที่ใช้เท้ามากเกินไป เช่น การยืนหรือเดินมากไป แต่จะมีส่วนน้อยที่คุณพ่อคุณแม่พาเด็กมาเพราะมีอาการ โดยทั่วไปมักจะพามาพบแพทย์ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลูกเดินไม่สวย มีคนทักว่าลูกเดินเหมือนเป็ด หรือมีคุณพ่อคุณแม่ของเด็กที่มีเท้าแบนคนอื่นสังเกตุเห็นแล้วทัก

ในการตรวจร่างกายจะพบว่าอุ้งเท้าด้านในแบนลงขณะยืนลงน้ำหนักและมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือให้ยืนเขย่งเท้า ในบางรายอาจมีการผิดรูปของเท้า ซึ่งลักษณะของการผิดรูปที่พบบ่อย คือ มีเท้าผิดรูป โดยมีเท้าส่วนหน้าปัดออก และเท้าส่วนหลังบิดออกนอก กระดูกข้อเท้าจะเทลงทางด้านใน พิมพ์รอยเท้าอุ้งเท้าน้อยลงหรือไม่มีอุ้งเท้า    

การรักษา

การรักษาเริ่มต้นจากต้องแยกให้ได้ว่าเด็กมีเท้าแบนจริงๆ หรือเป็นเพียงเท้าอูมที่มีไขมันใต้ฝ่าเท้า ในช่วงเด็กอายุ 1 ขวบ เด็กจะดูเหมือนไม่มีอุ้งเท้าเพราะมีไขมันใต้ฝ่าเท้ามาก แต่จะเห็นอุ้งเท้าชัดเจนขึ้นเมื่ออายุ 3 - 4 ปี   หากเป็นเท้าแบน สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำความเข้าใจว่าเท้าแบนในเด็กเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นการจัดเรียงตัวของกระดูกเท้าที่ทำให้ส่วนอุ้งเท้ามีความสูงน้อยกว่าอุ้งเท้าลักษณะอื่น การรักษาซึ่งประกอบด้วยการปรับรองเท้าและการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมไม่สามารถทำให้เด็กเท้าแบนกลายเป็นคนที่มีอุ้งเท้าปกติหรืออุ้งเท้าสูงได้ แต่การรักษาจะช่วยให้ส้นเท้าไม่บิดผิดรูปมากขึ้น ทำให้เด็กสามารถยืนหรือเดินได้ โดยไม่มีปัญหาปวดที่อุ้งเท้าหรือบริเวณน่อง อย่างไรก็ตามเด็กเท้าแบนจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เท้าแบนเสมอ เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจจะคาดหวังว่าการใส่รองเท้าจะช่วยทำให้เด็กมีอุ้งเท้ามากขึ้นในอนาคต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง