กินอย่างไร? หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

การปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

   ผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเทียมอาจกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ถ้าไม่ควบคุม หรือไม่ดูแลน้ำหนักตัว ข้อเข่าที่เปลี่ยนไปอาจจะเสื่อมลงทำให้ต้องกลับมาผ่าตัดใหม่ ดังนั้นการดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หรือลดน้ำหนักตัวเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ต่อข้อเทียมของผู้ป่วยในระยะยาวได้ โดยผู้ป่วยควรจะบริโภคอาหารตามแผนการรับประทานอาหารของนักกำหนดอาหาร หรือใช้วิธีการ “แบ่งจานอาหารสุขภาพ” เพื่อกำหนดปริมาณของอาหารที่ควรบริโภคในแต่ละวันให้เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำเปล่า การรับประทานผัก ธัญพืชและผลไม้ ซึ่งอุดมไปด้วยใยอาหารที่จะช่วยเรื่องการขับถ่าย เพราะหลังการผ่าตัดอาจทำให้ไม่สามารถยืนได้เป็นเวลานานทำให้ระบบการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำงานผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้ ทั้งนี้ในการดื่มนมวัวเสริมจะช่วยในเรื่องความแข็งแรงของกระดูก แพทย์อาจพิจารณาเสริมแคลเซียมและวิตามินดี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

อาหารสำหรับผู้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

   อาหารและโภชนาการมีส่วนสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต่าง ๆ การที่มีภาวะโภชนาการที่ดีก่อนการผ่าตัดสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและผลข้างเคียงต่างๆ จากการผ่าตัดได้

   ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กก./ตร.ม.) ถ้ารับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร เพื่อปรับเปลี่ยนสัดส่วนของอาหารที่รับประทานและพิจารณารับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์ตามความเหมาะสมก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด เพราะการขาดสารอาหารก็มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นตัวและพักฟื้นในโรงพยาบาล นอกจากนั้นผลการวิจัยในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ ตร.ม.) มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติหรือมีดัชนีมวลกายมาตรฐาน (18.5 -  22.9 กก./ ตร.ม.) ดังนั้นในผู้ป่วยดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ตร.ม. การลดน้ำหนักจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และลดผลข้างเคียงต่างๆ จากการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับใกล้เคียงมาตรฐานหรืออย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ซึ่งนักกำหนดอาหารสามารถช่วยวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยในช่วงก่อนผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

การวางแผนการรับประทานอาหาร

   ภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและภาวะอ้วนลงพุงสามารถควบคุมและทำให้ดีขึ้นได้ โดยอาศัยการวางแผนการรับประทานอาหาร คือ การควบคุมพลังงานและกำหนดปริมาณของอาหารแต่ละชนิดที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม ซึ่งมีวิธีที่นำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ นั่นคือ หลักการ "จานอาหารสุขภาพ" (Plate Method) 

   หลักการจานอาหารสุขภาพ (Plate Method) หรือทฤษฎี 2:1:1 นั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีหลังๆ เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย คนที่ต้องการลดน้ำหนักหันมาใช้วิธีนี้ที่ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือคำนวณพลังงานให้วุ่นวาย เมื่อเข้าใจหลักการแล้วคนทั่วไปก็สามารถนำไปปฎิบัติได้เลย

   เมื่อเริ่มรับประทานอาหาร 1 มื้อ ให้แบ่งจานอาหารทรงกลมแบน 1 จานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว (จานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นจึงตักอาหารที่จะรับประทานวางบนจานดังนี้ ผัก 2 ส่วน ข้าวและแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำสามารถรับประทานพร้อมกับผลไม้ 1 ส่วนและนมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร)

ปริมาณอาหารแต่ละหมวดที่ควรตักในจานสุขภาพ

  • ผัก - สามารถรับประทานได้เท่าที่ต้องการ เลือกรับประทานได้ทั้งผักสุกและผักสด แต่ควรระวังผักที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ เผือก มันฝรั่ง มันเทศ แห้ว และมันแกว เนื่องจากให้พลังงานเหมือนกับการรับประทานข้าว
  • เนื้อสัตว์ - เป็นแหล่งของโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ปริมาณของเนื้อสัตว์ในจานไม่ควรเกิน 90 กรัม
    กินข้าวต่อมื้อ โดยเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไขมันต่ำ คือ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้ออกไก่
    (ไม่เอาหนัง) เนื้อหมูสันใน ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งการปรุงควรเลี่ยงการทอดน้ำมันท่วม เน้นการปรุงแบบ อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ ผัด (น้ำมันน้อยที่สุด) ต้ม (ไม่ควรใส่กะทิ)
  • ข้าวและแป้ง - เป็นแหล่งของพลังงานที่สำคัญของร่างกาย จึงไม่ควรอดหรืองดแป้ง แต่ควรรับประทานแต่พอดี ควรเลือกทานเป็นข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสีนิล ขนมปังโฮลวีต โฮลเกรน ธัญพืชต่างๆ เพราะอุดมไปด้วยใยอาหารและวิตามินที่ดีต่อร่างกาย
  • ไขมัน - หากการปรุงประกอบอาหารจำเป็นต้องใช้น้ำมัน เนย มายองเนส หรือน้ำสลัด ไม่ควรใช้เกิน 2 ช้อนชาต่อมื้อ ถึงแม้ไขมันจะจำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายก็ต้องการไขมันแค่เพียง 6 ซ้อนชาต่อวัน
  • ผลไม้ - ควรรับประทาน 1 จานเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 นิ้ว) ต่อมื้อ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ แคนตาลูป แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน
  • นม - ควรเลือกเป็นนมวัวพร่องมันเนย ซึ่งมีไขมันน้อย โดยปริมาณที่รับประทานต่อมื้อคือ 240 มิลลิลิตร เพราะนมเป็นแหล่งของแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกจึงควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว หากไม่ชอบดื่มนมวัวสามารถดื่มนมถั่วเหลืองหวานน้อยหรือโยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติแทนได้

   เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น ก็สามารถควบคุมน้ำหนักได้โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการนับพลังงาน เพราะการจดปริมาณอาหารและคำนวณพลังงานของอาหารทุกอย่างที่รับประทานจะทำให้ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักรู้สึกท้อและล้มเลิกได้ง่าย วิธีแบ่งจานอาหารสุขภาพนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางที่สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้ผู้ป่วยและคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก รู้สึกสนุกและมีความสุขไปกับการจัดจานอาหารสุขภาพของตนเองอีกด้วย ดังนั้นการลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ตร.ม. จะช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นตัวจากการผ่าตัดและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหลังผ่าตัดแล้ว ยังช่วยลดแรงกดต่อข้อเทียมที่จะผ่าตัดได้อีกด้วย นอกจากนั้นการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการคุมอาหารจะสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี และเป็นการบริหารข้อที่ผ่าตัดมาด้วย โดยนักกายภาพบำบัดจะแนะนำวิธีการออกกำลังกาย หรือบริหารข้อเข่าที่ถูกต้องต่อไป

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

การปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

   ผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเทียมอาจกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ถ้าไม่ควบคุม หรือไม่ดูแลน้ำหนักตัว ข้อเข่าที่เปลี่ยนไปอาจจะเสื่อมลงทำให้ต้องกลับมาผ่าตัดใหม่ ดังนั้นการดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หรือลดน้ำหนักตัวเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ต่อข้อเทียมของผู้ป่วยในระยะยาวได้ โดยผู้ป่วยควรจะบริโภคอาหารตามแผนการรับประทานอาหารของนักกำหนดอาหาร หรือใช้วิธีการ “แบ่งจานอาหารสุขภาพ” เพื่อกำหนดปริมาณของอาหารที่ควรบริโภคในแต่ละวันให้เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำเปล่า การรับประทานผัก ธัญพืชและผลไม้ ซึ่งอุดมไปด้วยใยอาหารที่จะช่วยเรื่องการขับถ่าย เพราะหลังการผ่าตัดอาจทำให้ไม่สามารถยืนได้เป็นเวลานานทำให้ระบบการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำงานผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้ ทั้งนี้ในการดื่มนมวัวเสริมจะช่วยในเรื่องความแข็งแรงของกระดูก แพทย์อาจพิจารณาเสริมแคลเซียมและวิตามินดี ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

อาหารสำหรับผู้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

   อาหารและโภชนาการมีส่วนสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต่าง ๆ การที่มีภาวะโภชนาการที่ดีก่อนการผ่าตัดสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและผลข้างเคียงต่างๆ จากการผ่าตัดได้

   ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กก./ตร.ม.) ถ้ารับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร เพื่อปรับเปลี่ยนสัดส่วนของอาหารที่รับประทานและพิจารณารับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์ตามความเหมาะสมก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด เพราะการขาดสารอาหารก็มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นตัวและพักฟื้นในโรงพยาบาล นอกจากนั้นผลการวิจัยในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ ตร.ม.) มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติหรือมีดัชนีมวลกายมาตรฐาน (18.5 -  22.9 กก./ ตร.ม.) ดังนั้นในผู้ป่วยดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ตร.ม. การลดน้ำหนักจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด และลดผลข้างเคียงต่างๆ จากการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับใกล้เคียงมาตรฐานหรืออย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ซึ่งนักกำหนดอาหารสามารถช่วยวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยในช่วงก่อนผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

การวางแผนการรับประทานอาหาร

   ภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและภาวะอ้วนลงพุงสามารถควบคุมและทำให้ดีขึ้นได้ โดยอาศัยการวางแผนการรับประทานอาหาร คือ การควบคุมพลังงานและกำหนดปริมาณของอาหารแต่ละชนิดที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม ซึ่งมีวิธีที่นำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ นั่นคือ หลักการ "จานอาหารสุขภาพ" (Plate Method) 

   หลักการจานอาหารสุขภาพ (Plate Method) หรือทฤษฎี 2:1:1 นั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีหลังๆ เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย คนที่ต้องการลดน้ำหนักหันมาใช้วิธีนี้ที่ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือคำนวณพลังงานให้วุ่นวาย เมื่อเข้าใจหลักการแล้วคนทั่วไปก็สามารถนำไปปฎิบัติได้เลย

   เมื่อเริ่มรับประทานอาหาร 1 มื้อ ให้แบ่งจานอาหารทรงกลมแบน 1 จานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว (จานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นจึงตักอาหารที่จะรับประทานวางบนจานดังนี้ ผัก 2 ส่วน ข้าวและแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำสามารถรับประทานพร้อมกับผลไม้ 1 ส่วนและนมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 มิลลิลิตร)

ปริมาณอาหารแต่ละหมวดที่ควรตักในจานสุขภาพ

  • ผัก - สามารถรับประทานได้เท่าที่ต้องการ เลือกรับประทานได้ทั้งผักสุกและผักสด แต่ควรระวังผักที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ เผือก มันฝรั่ง มันเทศ แห้ว และมันแกว เนื่องจากให้พลังงานเหมือนกับการรับประทานข้าว
  • เนื้อสัตว์ - เป็นแหล่งของโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ปริมาณของเนื้อสัตว์ในจานไม่ควรเกิน 90 กรัม
    กินข้าวต่อมื้อ โดยเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไขมันต่ำ คือ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้ออกไก่
    (ไม่เอาหนัง) เนื้อหมูสันใน ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งการปรุงควรเลี่ยงการทอดน้ำมันท่วม เน้นการปรุงแบบ อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ ผัด (น้ำมันน้อยที่สุด) ต้ม (ไม่ควรใส่กะทิ)
  • ข้าวและแป้ง - เป็นแหล่งของพลังงานที่สำคัญของร่างกาย จึงไม่ควรอดหรืองดแป้ง แต่ควรรับประทานแต่พอดี ควรเลือกทานเป็นข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสีนิล ขนมปังโฮลวีต โฮลเกรน ธัญพืชต่างๆ เพราะอุดมไปด้วยใยอาหารและวิตามินที่ดีต่อร่างกาย
  • ไขมัน - หากการปรุงประกอบอาหารจำเป็นต้องใช้น้ำมัน เนย มายองเนส หรือน้ำสลัด ไม่ควรใช้เกิน 2 ช้อนชาต่อมื้อ ถึงแม้ไขมันจะจำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายก็ต้องการไขมันแค่เพียง 6 ซ้อนชาต่อวัน
  • ผลไม้ - ควรรับประทาน 1 จานเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 นิ้ว) ต่อมื้อ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ แคนตาลูป แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน
  • นม - ควรเลือกเป็นนมวัวพร่องมันเนย ซึ่งมีไขมันน้อย โดยปริมาณที่รับประทานต่อมื้อคือ 240 มิลลิลิตร เพราะนมเป็นแหล่งของแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกจึงควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว หากไม่ชอบดื่มนมวัวสามารถดื่มนมถั่วเหลืองหวานน้อยหรือโยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติแทนได้

   เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น ก็สามารถควบคุมน้ำหนักได้โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการนับพลังงาน เพราะการจดปริมาณอาหารและคำนวณพลังงานของอาหารทุกอย่างที่รับประทานจะทำให้ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักรู้สึกท้อและล้มเลิกได้ง่าย วิธีแบ่งจานอาหารสุขภาพนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางที่สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้ผู้ป่วยและคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก รู้สึกสนุกและมีความสุขไปกับการจัดจานอาหารสุขภาพของตนเองอีกด้วย ดังนั้นการลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ตร.ม. จะช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นตัวจากการผ่าตัดและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหลังผ่าตัดแล้ว ยังช่วยลดแรงกดต่อข้อเทียมที่จะผ่าตัดได้อีกด้วย นอกจากนั้นการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการคุมอาหารจะสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี และเป็นการบริหารข้อที่ผ่าตัดมาด้วย โดยนักกายภาพบำบัดจะแนะนำวิธีการออกกำลังกาย หรือบริหารข้อเข่าที่ถูกต้องต่อไป

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง