เทคนิคเพิ่มการกินผักและผลไม้

     การกินผักและผลไม้ อย่างน้อยวันละ 5 ส่วนหรือ ประมาณ 400 กรัม (ผักสุก 6 ทัพพี และผลไม้ 2 ส่วน) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคมะเร็งบางชนิดได้

     เคล็ดลับเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการกินผักและผลไม้ คือกินให้หลากหลาย (หลากชนิด หลายสีสัน) แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและมีการกินอาหารนอกบ้าน โดยส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียว มีผักเป็นส่วนประกอบน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ทำให้เรากินผักและผลไม้ได้ไม่เพียงพอ

นักกำหนดอาหาร จึงมีเทคนิคเพิ่มการกินผักและผลไม้ ดังนี้

  1. หากกินอาหารนอกบ้าน แนะนำให้ขอเพิ่มผักหรือสั่งเมนูที่มีผักด้วยทุกครั้ง
  2. เพิ่มผักในอาหารจานโปรด เช่น ใส่แครอทหรือหอมหัวใหญ่ลงในข้าวผัด ใส่ใบโหระพา เห็ด ชะอม หอมแดง หรือมะเขือเทศลงในไข่เจียว
  3. ซื้อผักและผลไม้สดติดไว้ในตู้เย็นไว้กินคู่กับมื้ออาหาร เพื่อเพิ่มการกินผักมากขึ้น และกินผลไม้ในมื้อว่าง แนะนำซื้อผักและผลไม้ที่สามารถเก็บได้นาน เช่น กะหล่ำปลี ผักคอส บร็อคโคลี แตงกวา แอปเปิล ส้ม บลูเบอร์รี่ เป็นต้น
  4. เพิ่มท็อปปิ้งเป็นผลไม้สดแทนผลไม้เชื่อมในโยเกิร์ตไขมันต่ำ

 

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ

     การกินผักและผลไม้ อย่างน้อยวันละ 5 ส่วนหรือ ประมาณ 400 กรัม (ผักสุก 6 ทัพพี และผลไม้ 2 ส่วน) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคมะเร็งบางชนิดได้

     เคล็ดลับเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการกินผักและผลไม้ คือกินให้หลากหลาย (หลากชนิด หลายสีสัน) แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและมีการกินอาหารนอกบ้าน โดยส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียว มีผักเป็นส่วนประกอบน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ทำให้เรากินผักและผลไม้ได้ไม่เพียงพอ

นักกำหนดอาหาร จึงมีเทคนิคเพิ่มการกินผักและผลไม้ ดังนี้

  1. หากกินอาหารนอกบ้าน แนะนำให้ขอเพิ่มผักหรือสั่งเมนูที่มีผักด้วยทุกครั้ง
  2. เพิ่มผักในอาหารจานโปรด เช่น ใส่แครอทหรือหอมหัวใหญ่ลงในข้าวผัด ใส่ใบโหระพา เห็ด ชะอม หอมแดง หรือมะเขือเทศลงในไข่เจียว
  3. ซื้อผักและผลไม้สดติดไว้ในตู้เย็นไว้กินคู่กับมื้ออาหาร เพื่อเพิ่มการกินผักมากขึ้น และกินผลไม้ในมื้อว่าง แนะนำซื้อผักและผลไม้ที่สามารถเก็บได้นาน เช่น กะหล่ำปลี ผักคอส บร็อคโคลี แตงกวา แอปเปิล ส้ม บลูเบอร์รี่ เป็นต้น
  4. เพิ่มท็อปปิ้งเป็นผลไม้สดแทนผลไม้เชื่อมในโยเกิร์ตไขมันต่ำ

 

ข้อมูลจาก: นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง