ออกกำลังกายมือ สำหรับผู้ที่มีภาวะมืออ่อนแรง

มือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน ตักข้าว การทำงานบ้านไปจนถึงการประกอบอาชีพ บางสภาวะหรือบางโรคอาจทำให้มือเกิดภาวะอ่อนแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือการใส่เฝือกบริเวณแขนและมือนานๆ ทำให้ความสามารถในการหยิบจับสิ่งของลดลง การฝึกออกกำลังกายมือก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีเช่นเดิม

การหยิบจับสิ่งของมีหลายรูปแบบตั้งแต่การหยิบของชิ้นใหญ่ที่ต้องใช้ฝ่ามือและนิ้วมือทำงานร่วมกัน ไปจนถึงการหยิบสิ่งของชิ้นเล็กที่จะต้องใช้นิ้วหยิบจับ และนอกจากจะฝึกเรื่องการหยิบจับสิ่งของแล้ว ควรจะดูไปถึงความแม่นยำในการหยิบ และความสามารถในจัดการสิ่งของหลายๆ ชิ้นในมือ

ประโยชน์ของการออกกำลังมือ

  1. เพิ่มความสามารถในการหยิบจับสิ่งของที่มีรูปร่าง และขนาดที่ต่างกัน
  2. เพิ่มความแม่นยำ และความคล่องแคล่วในการหยิบของชิ้นเล็ก
  3. เพิ่มความสามารถในการจัดการสิ่งของในมือ
  4. เพิ่มแรงบีบของมือ และนิ้วมือ

การบริหารมือ สามารถบริหารได้ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

ลูกบอล ฝึกกำมือโดยใช้ลูกบอลที่มีขนาดพอดีฝ่ามือ

1. ออกแรงกำมือให้มากที่สุดค้างไว้แล้วปล่อย

2. ออกแรงบีบเป็นจังหวะ 10 ครั้ง ทำประมาณ 3 – 5 รอบ หรือทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

3. ใช้ฝ่ามือกดลูกบอลให้แบนที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ดินน้ำมัน หรือ Therapeutic putty

1. กำดินน้ำมันแล้วออกแรงบีบ

2. มือคลึงก้อนดินน้ำมันให้เป็นเส้น

3. ใช้นิ้วมือกดดินน้ำมันให้แบน

4. ใช้ปลายนิ้วบีบให้แบน

5. ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลม/ดาว

6. หาลูกปัด/เหรียญที่ซ่อนไว้

ไม้หนีบผ้า มีทั้งแบบนิ่มและแบบแข็ง ควรเลือกให้เหมาะกับแรงตนเอง

1. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้

2. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้งและด้านข้างของนิ้วชี้

3. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง

หยิบของชิ้นเล็ก ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วต่างๆ หยิบสิ่งของชิ้นเล็ก เช่น ลูกปัด หรือลูกแก้วใส่จาน

1. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หยิบลูกปัด 10 เม็ด

 

2. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วกลาง หยิบลูกปัด 10 เม็ด

3. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วนางหยิบลูกปัด 10 เม็ด

4. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วก้อยหยิบลูกปัด 10 เม็ด

อุปกรณ์อื่นๆ การฝึกหยิบจับของควรเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงขนาดของสิ่งของ และแรงในการหยิบจับของนิ้วมือ

อุปกรณ์ออกกำลังแรงบีบมือ

 

การปักหมุดพลาสติก

 

การหยิบเหรียญหยอดกระปุก

การหยิบลูกแก้ว/ลูกปัด

การคล้องโซ่

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยขณะได้รับการรักษา

แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อมีอาการดังนี้

  1. เมื่อรู้สึกเจ็บ ปวดบริเวณผิวหนัง ข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการเคลื่อนไหว
  2. เมื่อรู้สึกมีอาการเกร็งของแขนและมือเพิ่มมากขึ้น หรือมีอาการล้า

หมายเหตุ

          หลังการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเล็กน้อยหลังการเคลื่อนไหว ให้ปฏิบัติดังนี้

1. จัดท่ามือ ข้อมือ ให้อยู่ในท่าพัก สบาย เพื่อลดอาการปวดโดยสามารถทำการขยับมือ หรือข้อมือ เล็กน้อยได้ เพื่อผ่อนคลาย 

2. หากมีอาการปวดรุนแรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งประเมินและรักษาวิธีอื่นต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

มือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน ตักข้าว การทำงานบ้านไปจนถึงการประกอบอาชีพ บางสภาวะหรือบางโรคอาจทำให้มือเกิดภาวะอ่อนแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือการใส่เฝือกบริเวณแขนและมือนานๆ ทำให้ความสามารถในการหยิบจับสิ่งของลดลง การฝึกออกกำลังกายมือก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีเช่นเดิม

การหยิบจับสิ่งของมีหลายรูปแบบตั้งแต่การหยิบของชิ้นใหญ่ที่ต้องใช้ฝ่ามือและนิ้วมือทำงานร่วมกัน ไปจนถึงการหยิบสิ่งของชิ้นเล็กที่จะต้องใช้นิ้วหยิบจับ และนอกจากจะฝึกเรื่องการหยิบจับสิ่งของแล้ว ควรจะดูไปถึงความแม่นยำในการหยิบ และความสามารถในจัดการสิ่งของหลายๆ ชิ้นในมือ

ประโยชน์ของการออกกำลังมือ

  1. เพิ่มความสามารถในการหยิบจับสิ่งของที่มีรูปร่าง และขนาดที่ต่างกัน
  2. เพิ่มความแม่นยำ และความคล่องแคล่วในการหยิบของชิ้นเล็ก
  3. เพิ่มความสามารถในการจัดการสิ่งของในมือ
  4. เพิ่มแรงบีบของมือ และนิ้วมือ

การบริหารมือ สามารถบริหารได้ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

ลูกบอล ฝึกกำมือโดยใช้ลูกบอลที่มีขนาดพอดีฝ่ามือ

1. ออกแรงกำมือให้มากที่สุดค้างไว้แล้วปล่อย

2. ออกแรงบีบเป็นจังหวะ 10 ครั้ง ทำประมาณ 3 – 5 รอบ หรือทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

3. ใช้ฝ่ามือกดลูกบอลให้แบนที่สุดเท่าที่จะทำได้

ดินน้ำมัน หรือ Therapeutic putty

1. กำดินน้ำมันแล้วออกแรงบีบ

2. มือคลึงก้อนดินน้ำมันให้เป็นเส้น

3. ใช้นิ้วมือกดดินน้ำมันให้แบน

4. ใช้ปลายนิ้วบีบให้แบน

5. ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลม/ดาว

6. หาลูกปัด/เหรียญที่ซ่อนไว้

ไม้หนีบผ้า มีทั้งแบบนิ่มและแบบแข็ง ควรเลือกให้เหมาะกับแรงตนเอง
1. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้

2. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้งและด้านข้างของนิ้วชี้

3. จับไม้หนีบผ้าด้วยปลายนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง

หยิบของชิ้นเล็ก ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วต่างๆ หยิบสิ่งของชิ้นเล็ก เช่น ลูกปัด หรือลูกแก้วใส่จาน

1. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หยิบลูกปัด 10 เม็ด

2. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วกลาง หยิบลูกปัด 10 เม็ด

3. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วนางหยิบลูกปัด 10 เม็ด

4. ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วก้อยหยิบลูกปัด 10 เม็ด

อุปกรณ์อื่นๆ การฝึกหยิบจับของควรเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงขนาดของสิ่งของ และแรงในการหยิบจับของนิ้วมือ

อุปกรณ์ออกกำลังแรงบีบมือ

การปักหมุดพลาสติก

การหยิบเหรียญหยอดกระปุก

การหยิบลูกแก้ว/ลูกปัด

การคล้องโซ่

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยขณะได้รับการรักษา

แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีเมื่อมีอาการดังนี้

  1. เมื่อรู้สึกเจ็บ ปวดบริเวณผิวหนัง ข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการเคลื่อนไหว
  2. เมื่อรู้สึกมีอาการเกร็งของแขนและมือเพิ่มมากขึ้น หรือมีอาการล้า

หมายเหตุ

          หลังการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเล็กน้อยหลังการเคลื่อนไหว ให้ปฏิบัติดังนี้

1. จัดท่ามือ ข้อมือ ให้อยู่ในท่าพัก สบาย เพื่อลดอาการปวดโดยสามารถทำการขยับมือ หรือข้อมือ เล็กน้อยได้ เพื่อผ่อนคลาย 

2. หากมีอาการปวดรุนแรงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งประเมินและรักษาวิธีอื่นต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง