ห้องน้ำสาธารณะ รู้ก่อนใช้ห่างไกลเชื้อโรค

ห้องน้ำสาธารณะ..เข้าอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค 

  1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อย ๆ เป็นต้น
  2. อย่าสัมผัสโดยตรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวหรืออุปกรณ์ภายในห้องน้ำ เช่น ลูกบิดประตู ฝาปิดชักโครก ที่กดชักโครก และฝารองนั่ง อาจใช้ทิชชูจับสิ่งสัมผัสต่าง ๆ
  3. กดชักโครกก่อนทำธุระ ควรกดชักโครกก่อนทุกครั้ง แนะนำให้ปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในชักโครก กรณีที่เป็นสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง ให้ตักน้ำราดแทน เพื่อให้สะอาดมากขึ้น
  4. ทำความสะอาดก่อนนั่ง เนื่องจากฝารองที่นั่งชักโครกอาจปนเปื้อนเชื้อโรค ก่อนนั่งควรทำความสะอาดฝาชักโครก ด้วยกระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อ หรือพกกระดาษรองนั่งไปปูบนฝาชักโครกก่อนขับถ่าย และระวังอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมมากับน้ำได้
  5. ใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลา แต่ควรใช้เวลาในการทำกิจธุระในห้องน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก ควรเลือกดูห้องที่สะอาดที่สุด และหลังขับถ่ายเสร็จ ควรปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ
  6. ไม่เหยียบโถส้วม หลายคนใช้บริการห้องน้ำสาธารณะผิดวิธี โดยใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่ง เพราะคิดว่าจะทำให้ไม่สัมผัสกับเชื้อโรค แต่จริง ๆ แล้ว ระหว่างที่ขับถ่ายอาจจะมีการกระเด็นของน้ำในโถ ซึ่งเป็นที่รวมเชื้อโรคเปื้อนได้มากกว่าการนั่งธรรมดา
  7. ไม่ตักน้ำที่เปิดไว้ การใช้น้ำล้างทำความสะอาด ไม่แนะนำให้ตักในส่วนที่มีอยู่ในถังเดิมใช้ แต่ควรรองจากก๊อกโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในถังน้ำ เพราะบางคนเอามือจุ่มล้างในถัง หากเป็นสายฉีดก็ควรฉีดน้ำให้ไหลทิ้งประมาณ 1 นาที เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ปะปนบริเวณรอบ ๆ สายฉีดได้
  8. ล้างมือทุกครั้งก่อน – หลังเข้าห้องน้ำ เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จเรียบร้อย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดมากับมือของเรา ควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เริ่มต้นล้างมือ โดยฟอกฝ่ามือด้านหน้า ด้านหลัง ง่ามนิ้วมือด้านหน้า ด้านหลัง ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง รวมทั้งฟอกหัวแม่มือ ขัดสิ่งสกปรกบริเวณซอกเล็บและข้อมือ ล้างสบู่ออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ หากไม่มีสบู่ให้ใช้น้ำสะอาดล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง และงดการใช้อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันภายในห้องน้ำ เช่น ผ้าเช็ดมือ ทั้งนี้ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ตา ปาก

6 จุดเสี่ยงที่ต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษในห้องน้ำสาธารณะ

  1. ราวจับ
  2. ที่กดโถส้วม
  3. ลูกบิดประตู
  4. ที่รองนั่ง
  5. ที่จับสายฉีดชำระ
  6. ก๊อกน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมอนามัย

เรียบเรียงโดย: หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

ห้องน้ำสาธารณะ..เข้าอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค 

  1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อย ๆ เป็นต้น
  2. อย่าสัมผัสโดยตรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวหรืออุปกรณ์ภายในห้องน้ำ เช่น ลูกบิดประตู ฝาปิดชักโครก ที่กดชักโครก และฝารองนั่ง อาจใช้ทิชชูจับสิ่งสัมผัสต่าง ๆ
  3. กดชักโครกก่อนทำธุระ ควรกดชักโครกก่อนทุกครั้ง แนะนำให้ปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในชักโครก กรณีที่เป็นสุขภัณฑ์แบบนั่งยอง ให้ตักน้ำราดแทน เพื่อให้สะอาดมากขึ้น
  4. ทำความสะอาดก่อนนั่ง เนื่องจากฝารองที่นั่งชักโครกอาจปนเปื้อนเชื้อโรค ก่อนนั่งควรทำความสะอาดฝาชักโครก ด้วยกระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อ หรือพกกระดาษรองนั่งไปปูบนฝาชักโครกก่อนขับถ่าย และระวังอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมมากับน้ำได้
  5. ใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลา แต่ควรใช้เวลาในการทำกิจธุระในห้องน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก ควรเลือกดูห้องที่สะอาดที่สุด และหลังขับถ่ายเสร็จ ควรปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ
  6. ไม่เหยียบโถส้วม หลายคนใช้บริการห้องน้ำสาธารณะผิดวิธี โดยใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่ง เพราะคิดว่าจะทำให้ไม่สัมผัสกับเชื้อโรค แต่จริง ๆ แล้ว ระหว่างที่ขับถ่ายอาจจะมีการกระเด็นของน้ำในโถ ซึ่งเป็นที่รวมเชื้อโรคเปื้อนได้มากกว่าการนั่งธรรมดา
  7. ไม่ตักน้ำที่เปิดไว้ การใช้น้ำล้างทำความสะอาด ไม่แนะนำให้ตักในส่วนที่มีอยู่ในถังเดิมใช้ แต่ควรรองจากก๊อกโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในถังน้ำ เพราะบางคนเอามือจุ่มล้างในถัง หากเป็นสายฉีดก็ควรฉีดน้ำให้ไหลทิ้งประมาณ 1 นาที เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ปะปนบริเวณรอบ ๆ สายฉีดได้
  8. ล้างมือทุกครั้งก่อน – หลังเข้าห้องน้ำ เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จเรียบร้อย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดมากับมือของเรา ควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เริ่มต้นล้างมือ โดยฟอกฝ่ามือด้านหน้า ด้านหลัง ง่ามนิ้วมือด้านหน้า ด้านหลัง ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง รวมทั้งฟอกหัวแม่มือ ขัดสิ่งสกปรกบริเวณซอกเล็บและข้อมือ ล้างสบู่ออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ หากไม่มีสบู่ให้ใช้น้ำสะอาดล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง และงดการใช้อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันภายในห้องน้ำ เช่น ผ้าเช็ดมือ ทั้งนี้ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ตา ปาก

6 จุดเสี่ยงที่ต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษในห้องน้ำสาธารณะ

  1. ราวจับ
  2. ที่กดโถส้วม
  3. ลูกบิดประตู
  4. ที่รองนั่ง
  5. ที่จับสายฉีดชำระ
  6. ก๊อกน้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมอนามัย

เรียบเรียงโดย: หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง