วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้จริงหรือ?

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใช้สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดสายพันธุ์ A และ B ที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการระบาดในช่วงหน้าฝน โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

ความแตกต่างของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไวรัสชนิดสายพันธุ์ A 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ B 1 สายพันธุ์
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไว้รัสชนิดสายพันธุ์ A 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ B 2 สายพันธุ์

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้จริงหรือไม่?

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีเฉพาะชนิดเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัวที่ตายแล้ว หรือใช้เฉพาะส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อโรค หรือโปรตีนส่วนประกอบของเชื้อที่ผลิตขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยหลักวิศวพันธุศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ จึงมีความปลอดภัยสูง มีประสิทธิภาพป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกับวัคซีนได้ 70% – 90% ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจยังมีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วงไหนและบ่อยแค่ไหน?

     ในประเทศไทยการระบาดหลักของโรคไข้หวัดใหญ่มักเกิดในช่วงหน้าฝน จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อนเข้าฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี และควรได้รับการฉีดวัคซีนปีละครั้ง เพราะวัคซีนมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของสายพันธุ์ไวรัสที่บรรจุในวัคซีนทุกปี โดยเป็นสายพันธุ์ที่คาดว่าน่าจะเกิดการระบาดในปีนั้นๆ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

 

ไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a, ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ b, ตั้งครรภ์, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ b, ผู้สูงอายุ, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคอ้วน, เด็ก 6 เดือน, ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 2020, โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไวรัสไข้หวัดใหญ่, แพ้ไข่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2020, ให้นม, พิการทางสมอง, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2563, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผลข้างเคียง, ไข้หวัดใหญ่ วัคซีน, ไข้หวัดใหญ่ 2020, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 2020 มีอะไรบ้าง, ห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

 

 

ใครควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

     บุคคลที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปสามารถได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ และควรฉีดปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคประจำถิ่นที่พบการระบาดได้ในทุกๆ ปี โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ควรได้รับวัคซีน ได้แก่

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน (วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความปลอดภัยในการใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร สามารถให้วัคซีนได้เมื่อมีความจำเป็น)
  • เด็ก อายุ 6 เดือน – 1 ปี
  • ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี
  • ผู้เป็นโรคอ้วน (น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ใครห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

 บุคคลที่ห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

  • เด็ก อายุน้อยกว่า 6 เดือน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ไข่รุนแรง
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือส่วนประกอบในวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่มีไข้สูง หรือมีโรคติดเชื้อรุนแรง (ผู้ที่มีไข้ต่ำๆ สามารถฉีดได้)

คนแพ้ไข่ทำไมต้องห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีการเลี้ยงเชื้อในเซลล์ไข่ อาจมีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ปนในวัคซีน ดังนั้นผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่อย่างรุนแรง (anaphylaxis) ควรเลี่ยงการฉีด แต่หากแพ้แพ้ไม่รุนแรง เช่น เป็นผื่น สามารถฉีดวัคซีนได้แต่ต้องเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาทีหลังฉีด

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้หรือไม่?

     สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีเฉพาะวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงไม่มีผลต่อวัคซีนชนิดอื่นๆ

วิธีปฏิบัติตัวหลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

     หลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งไม่เป็นอันตราย สามารถประคบเย็น หรือรับประทานพาราเซตามอลบรรเทาอาการ นอกจากนี้อาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งโดยทั่วไปอาการมักจะน้อย มีอาการหลังจากได้รับวัคซีนประมาณ 6 – 24 ชั่วโมง หรือ 1 – 2 วัน มักพบในเด็กเล็กมากกว่า สามารถรักษาตามอาการได้ เช่น รับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา โทร.02-419-2222 เปิดบริการทุกวัน เวลา 8:00-21:00 น.

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใช้สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดสายพันธุ์ A และ B ที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการระบาดในช่วงหน้าฝน โดยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

ความแตกต่างของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไวรัสชนิดสายพันธุ์ A 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ B 1 สายพันธุ์
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไว้รัสชนิดสายพันธุ์ A 2 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ B 2 สายพันธุ์

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้จริงหรือไม่?

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีเฉพาะชนิดเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัวที่ตายแล้ว หรือใช้เฉพาะส่วนประกอบบางส่วนของเชื้อโรค หรือโปรตีนส่วนประกอบของเชื้อที่ผลิตขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยหลักวิศวพันธุศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ จึงมีความปลอดภัยสูง มีประสิทธิภาพป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกับวัคซีนได้ 70% – 90% ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจยังมีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วงไหนและบ่อยแค่ไหน?

     ในประเทศไทยการระบาดหลักของโรคไข้หวัดใหญ่มักเกิดในช่วงหน้าฝน จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อนเข้าฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี และควรได้รับการฉีดวัคซีนปีละครั้ง เพราะวัคซีนมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของสายพันธุ์ไวรัสที่บรรจุในวัคซีนทุกปี โดยเป็นสายพันธุ์ที่คาดว่าน่าจะเกิดการระบาดในปีนั้นๆ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

ไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a, ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ b, ตั้งครรภ์, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ b, ผู้สูงอายุ, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคอ้วน, เด็ก 6 เดือน, ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 2020, โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, ไวรัสไข้หวัดใหญ่, แพ้ไข่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2020, ให้นม, พิการทางสมอง, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2563, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผลข้างเคียง, ไข้หวัดใหญ่ วัคซีน, ไข้หวัดใหญ่ 2020, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 2020 มีอะไรบ้าง, ห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ใครควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

     บุคคลที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปสามารถได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ และควรฉีดปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคประจำถิ่นที่พบการระบาดได้ในทุกๆ ปี โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ควรได้รับวัคซีน ได้แก่

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน (วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความปลอดภัยในการใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร สามารถให้วัคซีนได้เมื่อมีความจำเป็น)
  • เด็ก อายุ 6 เดือน – 1 ปี
  • ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี
  • ผู้เป็นโรคอ้วน (น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ใครห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

     บุคคลที่ห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

  • เด็ก อายุน้อยกว่า 6 เดือน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ไข่รุนแรง
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือส่วนประกอบในวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่มีไข้สูง หรือมีโรคติดเชื้อรุนแรง (ผู้ที่มีไข้ต่ำๆ สามารถฉีดได้)

คนแพ้ไข่ทำไมต้องห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีการเลี้ยงเชื้อในเซลล์ไข่ อาจมีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ปนในวัคซีน ดังนั้นผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่อย่างรุนแรง (anaphylaxis) ควรเลี่ยงการฉีด แต่หากแพ้แพ้ไม่รุนแรง เช่น เป็นผื่น สามารถฉีดวัคซีนได้แต่ต้องเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาทีหลังฉีด

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้หรือไม่?

     สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีเฉพาะวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงไม่มีผลต่อวัคซีนชนิดอื่นๆ

วิธีปฏิบัติตัวหลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

     หลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งไม่เป็นอันตราย สามารถประคบเย็น หรือรับประทานพาราเซตามอลบรรเทาอาการ นอกจากนี้อาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งโดยทั่วไปอาการมักจะน้อย มีอาการหลังจากได้รับวัคซีนประมาณ 6 – 24 ชั่วโมง หรือ 1 – 2 วัน มักพบในเด็กเล็กมากกว่า สามารถรักษาตามอาการได้ เช่น รับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา โทร.02-419-2222 เปิดบริการทุกวัน เวลา 8:00-21:00 น.


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง