การใช้ยาวาร์ฟาริน สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
ยาวาร์ฟารินคืออะไร?
วาร์ฟาริน เป็นยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการเกิดลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ
ทำไมต้องใช้ยาวาร์ฟาริน?
แพทย์จะสั่งจ่ายยานี้ให้รับประทานเมื่อร่างกายมีภาวะที่มีการสร้างลิ่มเลือดที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งลิ่มอาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสโลหิตสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งโรคหรือภาวะที่จำเป็นต้องได้รับยาวาร์ฟาริน มีดังนี้
1. หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
2. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. โรคลิ้นหัวใจรูมาติก
4. ประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด
5. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดในปอด แขน หรือขา
6. ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Protein C, S deficiency)
ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาวาร์ฟารินจะรบกวนการทำงานของวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้าลง จากกระบวนการดังกล่าวจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันในหลอดเลือดบริเวณต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด สมอง เป็นต้น
ยาวาร์ฟารินที่ใช้ในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์มีทั้งหมด 2 ยี่ห้อ ได้แก่ มาฟอแรน (Maforan®) และออฟาริน (Orfarin®) ซึ่งมี 3 ขนาด ดังนี้
จะทราบได้อย่างไรว่ายาใช้ได้ผล?
การติดตามผลการรักษาของยาวาร์ฟารินต้องติดตามจากการตรวจเลือด ซึ่งเรียกว่า "ค่าไอเอ็นอาร์" (INR: International Normalized Ratio) เป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน และค่าที่ได้จะช่วยให้แพทย์พิจารณาในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เนื่องจากขนาดยาที่น้อยเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ลิ้นหัวใจเทียมหรือเส้นเลือดต่างๆ โดยเฉพาะเส้นเลือดในสมอง และนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือขนาดยาที่มากเกินไปจะทำให้เลือดออกผิดปกติเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยค่า INR ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย
ความถี่ในการตรวจค่า INR ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยปกติควรทำการตรวจอย่างน้อยทุกๆ 1 - 3 เดือน
ยาวาร์ฟารินมีผลต่อทารกในครรภ์โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากกำลังตั้งครรภ์หรือต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
วาร์ฟารินเป็นยาที่มีประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้ หากมีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ขาดการติดตามดูแลโดยแพทย์ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยอาการหรือสิ่งผิดปกติที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันทีที่เกิดขึ้น มีดังนี้
- มีเลือดออกผิดปกติิ
- มีจ้ำเลือดหรือรอยฟกช้ำตามผิวหนัง และขยายขนาดมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เมื่อเกิดบาดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุด
- เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- เลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ อาจพบในขณะแปรงฟัน
- มีเลือดประจำเดือน หรือเลือดออกมาทางช่องคลอดปริมาณมากผิดปกติ
- ปัสสาวะสีแดงหรือน้ำตาลแดง (สีสนิม)
- มีเลือดปนมากับอุจจาระ หรืออุจจาระมีสีดำ
** หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดรับประทานยาและรีบมาพบแพทย์ทันที **
ควรรับประทานยาเวลาใด?
ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยรับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้นเคยและช่วยให้ไม่ลืมรับประทาน สามารถรับประทานยาก่อน หรือหลังอาหารได้ เนื่องจากยาไม่มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยา?
- กรณีที่ลืมรับประทานยา หากยังไม่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติ 12 ชม. ควรรีบรับประทานยาทันที
- กรณีที่ลืมรับประทานยาแต่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติมากกว่า 12 ชม. ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานยามื้อต่อไปตามเวลาปกติในขนาดยาเท่าเดิม
ตัวอย่างเช่น ปกติรับประทานยาเวลา 21.00 น. แต่ลืมรับประทานยาในเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากยังไม่ถึงเวลา 9.00 น. ของวันถัดไป สามารถรับประทานยาได้ทันที แต่หากเลยเวลา 9.00 น. ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อถัดไป ห้ามเพิ่มขนาดยาในมื้อถัดไปเองโดยเด็ดขาด เนื่องจากการรับประทานยาในขนาดที่สูงเกินไป อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติ และเป็นอันตรายได้
หากไม่สามารถรับประทานยาได้ตามที่แพทย์สั่ง กรุณาแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงสาเหตุเมื่อมาพบในครั้งหน้า เพื่อให้แพทย์พิจารณาปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับการรับประทานยาต่อไป
การใช้ยาอื่นๆ ร่วมกับยาวาร์ฟาริน
ยาหลายชนิดมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเมื่อใช้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ค่า INR เปลี่ยนแปลงได้ทั้งสูงขึ้นและลดลง เช่น
- ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด เป็นต้น
- ยาที่ลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน เช่น ยากันชักบางชนิด เป็นต้น
ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มรับประทานยาใดๆ และควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทราบทุกครั้งที่มีการเริ่มใช้ยาชนิดใหม่ หยุดใช้ยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยา ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อเองจากร้านยา ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาหม้อ เป็นต้น
อาหาร / เครื่องดื่มประเภทใดที่อาจมีผลต่อยาวาร์ฟาริน?
อาหารที่มักรบกวนการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน คือ อาหารที่มีวิตามินเคสูง มักพบในอาหารประเภทผักใบเขียว วิตามินเคมีผลทำให้ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ **แต่ไม่จำเป็นต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนี้** เนื่องจากในผักใบเขียวประกอบด้วยเกลือแร่ วิตามินชนิดต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย **สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ รับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกวัน**
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ยาวาร์ฟารินคืออะไร?
วาร์ฟาริน เป็นยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการเกิดลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ
ทำไมต้องใช้ยาวาร์ฟาริน?
แพทย์จะสั่งจ่ายยานี้ให้รับประทานเมื่อร่างกายมีภาวะที่มีการสร้างลิ่มเลือดที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งลิ่มอาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสโลหิตสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งโรคหรือภาวะที่จำเป็นต้องได้รับยาวาร์ฟาริน มีดังนี้
1. หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
2. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. โรคลิ้นหัวใจรูมาติก
4. ประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด
5. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดในปอด แขน หรือขา
6. ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Protein C, S deficiency)
ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาวาร์ฟารินจะรบกวนการทำงานของวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้าลง จากกระบวนการดังกล่าวจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันในหลอดเลือดบริเวณต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด สมอง เป็นต้น
ยาวาร์ฟารินที่ใช้ในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์มีทั้งหมด 2 ยี่ห้อ ได้แก่ มาฟอแรน (Maforan®) และออฟาริน (Orfarin®) ซึ่งมี 3 ขนาด ดังนี้
จะทราบได้อย่างไรว่ายาใช้ได้ผล?
การติดตามผลการรักษาของยาวาร์ฟารินต้องติดตามจากการตรวจเลือด ซึ่งเรียกว่า "ค่าไอเอ็นอาร์" (INR: International Normalized Ratio) เป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน และค่าที่ได้จะช่วยให้แพทย์พิจารณาในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เนื่องจากขนาดยาที่น้อยเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ลิ้นหัวใจเทียมหรือเส้นเลือดต่างๆ โดยเฉพาะเส้นเลือดในสมอง และนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือขนาดยาที่มากเกินไปจะทำให้เลือดออกผิดปกติเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยค่า INR ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย
ความถี่ในการตรวจค่า INR ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยปกติควรทำการตรวจอย่างน้อยทุกๆ 1 - 3 เดือน
ยาวาร์ฟารินมีผลต่อทารกในครรภ์โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากกำลังตั้งครรภ์หรือต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
วาร์ฟารินเป็นยาที่มีประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้ หากมีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ขาดการติดตามดูแลโดยแพทย์ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยอาการหรือสิ่งผิดปกติที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันทีที่เกิดขึ้น มีดังนี้
- มีเลือดออกผิดปกติิ
- มีจ้ำเลือดหรือรอยฟกช้ำตามผิวหนัง และขยายขนาดมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เมื่อเกิดบาดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุด
- เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- เลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ อาจพบในขณะแปรงฟัน
- มีเลือดประจำเดือน หรือเลือดออกมาทางช่องคลอดปริมาณมากผิดปกติ
- ปัสสาวะสีแดงหรือน้ำตาลแดง (สีสนิม)
- มีเลือดปนมากับอุจจาระ หรืออุจจาระมีสีดำ
** หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดรับประทานยาและรีบมาพบแพทย์ทันที **
ควรรับประทานยาเวลาใด?
ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยรับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้นเคยและช่วยให้ไม่ลืมรับประทาน สามารถรับประทานยาก่อน หรือหลังอาหารได้ เนื่องจากยาไม่มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยา?
- กรณีที่ลืมรับประทานยา หากยังไม่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติ 12 ชม. ควรรีบรับประทานยาทันที
- กรณีที่ลืมรับประทานยาแต่เลยเวลาที่เคยรับประทานตามปกติมากกว่า 12 ชม. ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานยามื้อต่อไปตามเวลาปกติในขนาดยาเท่าเดิม
ตัวอย่างเช่น ปกติรับประทานยาเวลา 21.00 น. แต่ลืมรับประทานยาในเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากยังไม่ถึงเวลา 9.00 น. ของวันถัดไป สามารถรับประทานยาได้ทันที แต่หากเลยเวลา 9.00 น. ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อถัดไป ห้ามเพิ่มขนาดยาในมื้อถัดไปเองโดยเด็ดขาด เนื่องจากการรับประทานยาในขนาดที่สูงเกินไป อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติ และเป็นอันตรายได้
หากไม่สามารถรับประทานยาได้ตามที่แพทย์สั่ง กรุณาแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงสาเหตุเมื่อมาพบในครั้งหน้า เพื่อให้แพทย์พิจารณาปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับการรับประทานยาต่อไป
การใช้ยาอื่นๆ ร่วมกับยาวาร์ฟาริน
ยาหลายชนิดมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเมื่อใช้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ค่า INR เปลี่ยนแปลงได้ทั้งสูงขึ้นและลดลง เช่น
- ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด เป็นต้น
- ยาที่ลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน เช่น ยากันชักบางชนิด เป็นต้น
ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มรับประทานยาใดๆ และควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทราบทุกครั้งที่มีการเริ่มใช้ยาชนิดใหม่ หยุดใช้ยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยา ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อเองจากร้านยา ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาหม้อ เป็นต้น
อาหาร / เครื่องดื่มประเภทใดที่อาจมีผลต่อยาวาร์ฟาริน?
อาหารที่มักรบกวนการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน คือ อาหารที่มีวิตามินเคสูง มักพบในอาหารประเภทผักใบเขียว วิตามินเคมีผลทำให้ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ **แต่ไม่จำเป็นต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนี้** เนื่องจากในผักใบเขียวประกอบด้วยเกลือแร่ วิตามินชนิดต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย **สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ รับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกวัน**
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น