การฉีดยาเข้าข้อเข่า
ข้อเข่า ประกอบด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง ลูกสะบ้าทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว กระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าที่ทำหน้ารองรับการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเข่าช่วยสร้างความมั่นคงของเข่าและหมอนรองกระดูกทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกบริเวณเข่า ช่วยดูดซับและกระจายแรงจากน้ำหนักตัว การรักษาอาการปวดเข่าด้วยการฉีดยาแต่ละประเภทนั้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติม
อาการปวดเข่าเกิดได้จากสาเหตุ ดังนี้
- เส้นเอ็น (Ligament) หากมีการใช้งานซ้ำ ๆ เช่น นักกีฬาที่มีการใช้งานเข่าซ้ำ ๆ อาจส่งผลให้เส้นเอ็นลูกสะบ้าทำงานหนักทำให้อักเสบหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา เช่น เกิดการล้มเข่าบิด
- กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดเข่าได้เช่นกัน ที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกอ่อนลูกสะบ้า โดยอาจเป็นร่วมกับเอ็นลูกสะบ้าอักเสบได้ เกิดจากมีการกระแทกซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบหรือสึกหรอขึ้นบริเวณกระดูกอ่อน หรือจากการงอเข่า นั่งยองเป็นประจำ การใช้งานข้อเข่าในการเดินขึ้นลงบันไดเยอะ
- หมอนรองกระดูก (Meniscus) ปัญหาของหมอนรองกระดูกอาจเกิดจากความเสื่อมของเนื้อหมอนรองกระดูกจากการใช้งานตามอายุทำให้กระดูกอ่อนเกิดการเสียดสีกัน เกิดการสึกหรอไปเรื่อย ๆ กลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ ทั้งนี้สาเหตุอื่น ๆ เช่น การหกล้มหรือลื่นไถลผิดท่าอาจจะทำให้หมอนรองกระดูกที่มีความเสื่อมอยู่แล้วฉีกขาดรุนแรงมากขึ้นได้
- ภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็จะมีอาการปวดเช่นกัน โดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากปวดด้านในข้อเข่า หากอาการเสื่อมเป็นรุนแรงขึ้นก็จะทำให้ปวดทั่ว ๆ หัวเข่าตามมา
ยาหรือสารที่ใช้ฉีดในข้อเข่า
- ฉีดสเตียรอยด์เข่า คือการฉีดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกายที่บาดเจ็บ การฉีดยาประเภทนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเข่าที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ โดยตัวยาจะเข้าไปช่วยลดการอักเสบเฉพาะจุดในบริเวณข้อเข่า สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการปวดอักเสบได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง ออกฤทธิ์อยู่ประมาณ 6 ถึง 12 สัปดาห์
- การฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) คือการฉีดสารหล่อลื่นที่เรียกว่าน้ำไขข้อเทียม เข้าไปในช่องข้อเข่าโดยตัวยาทำหน้าที่เหมือนสารหล่อลื่นผิวข้อ ดูดซับแรงกระแทก และช่วยให้พื้นผิวกระดูกอ่อนในข้อเข่าไม่เสียดสีกันรุนแรง ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ความถี่ในการฉีดมีตั้งแต่แบบครั้งเดียวไปจนถึงการฉีดทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 ถึง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน จะเห็นผลการรักษาได้ในช่วง 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังฉีด ออกฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 3 ถึง 6 เดือน
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma หรือ PRP) โดยการเจาะเลือดผู้ป่วยมาเข้าเครื่องปั่นความเร็วสูง เพื่อแยกเกล็ดเลือดออกจากเลือดส่วนอื่นๆ และฉีดเกล็ดเลือดกลับเข้าไปยังบริเวณข้อเข่าที่กระดูกอ่อนผิวข้อมีความเสียหาย โดยเกล็ดเลือดนี้จะมีสารช่วยซ่อมแซมการหายของเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มแรกของโรคเข่าเสื่อม ก่อนรับการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการฉีดสเตียรอยด์เข่าเป็นเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์ และหยุดใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ รวมถึงห้ามกินยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 5 วันก่อนทำการรักษา
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังฉีดยาเข้าข้อเข่า
- แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณที่ฉีดหากมีอาการปวด
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหลังฉีดยาประมาณ 3 วัน เช่น ขึ้นลงบันได นั่งยอง ๆ วิ่งออกกำลังกายหนักเกินไป
- ประมาณ 1-2 ชั่วโมงแรกหลังฉีดอาจมีอาการชาบริเวณที่ฉีดหรือบริเวณใกล้เคียงอาจมีอาการบวมหลังฉีดประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นอาการปวดจะค่อยๆดีขึ้น
- หากมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด ให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาแก้ปวด หรือมีอาการบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ให้ติดต่อศูนย์ออร์โธปิดิกส์เพื่อประสานงานแพทย์ผู้ทำการรักษาทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A
ข้อเข่า ประกอบด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง ลูกสะบ้าทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว กระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าที่ทำหน้ารองรับการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเข่าช่วยสร้างความมั่นคงของเข่าและหมอนรองกระดูกทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกบริเวณเข่า ช่วยดูดซับและกระจายแรงจากน้ำหนักตัว การรักษาอาการปวดเข่าด้วยการฉีดยาแต่ละประเภทนั้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติม
อาการปวดเข่าเกิดได้จากสาเหตุ ดังนี้
- เส้นเอ็น (Ligament) หากมีการใช้งานซ้ำ ๆ เช่น นักกีฬาที่มีการใช้งานเข่าซ้ำ ๆ อาจส่งผลให้เส้นเอ็นลูกสะบ้าทำงานหนักทำให้อักเสบหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา เช่น เกิดการล้มเข่าบิด
- กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดเข่าได้เช่นกัน ที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกอ่อนลูกสะบ้า โดยอาจเป็นร่วมกับเอ็นลูกสะบ้าอักเสบได้ เกิดจากมีการกระแทกซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบหรือสึกหรอขึ้นบริเวณกระดูกอ่อน หรือจากการงอเข่า นั่งยองเป็นประจำ การใช้งานข้อเข่าในการเดินขึ้นลงบันไดเยอะ
- หมอนรองกระดูก (Meniscus) ปัญหาของหมอนรองกระดูกอาจเกิดจากความเสื่อมของเนื้อหมอนรองกระดูกจากการใช้งานตามอายุทำให้กระดูกอ่อนเกิดการเสียดสีกัน เกิดการสึกหรอไปเรื่อย ๆ กลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ ทั้งนี้สาเหตุอื่น ๆ เช่น การหกล้มหรือลื่นไถลผิดท่าอาจจะทำให้หมอนรองกระดูกที่มีความเสื่อมอยู่แล้วฉีกขาดรุนแรงมากขึ้นได้
- ภาวะข้อเข่าเสื่อม ก็จะมีอาการปวดเช่นกัน โดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากปวดด้านในข้อเข่า หากอาการเสื่อมเป็นรุนแรงขึ้นก็จะทำให้ปวดทั่ว ๆ หัวเข่าตามมา
ยาหรือสารที่ใช้ฉีดในข้อเข่า
- ฉีดสเตียรอยด์เข่า คือการฉีดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกายที่บาดเจ็บ การฉีดยาประเภทนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเข่าที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ โดยตัวยาจะเข้าไปช่วยลดการอักเสบเฉพาะจุดในบริเวณข้อเข่า สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการปวดอักเสบได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง ออกฤทธิ์อยู่ประมาณ 6 ถึง 12 สัปดาห์
- การฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic acid) คือการฉีดสารหล่อลื่นที่เรียกว่าน้ำไขข้อเทียม เข้าไปในช่องข้อเข่าโดยตัวยาทำหน้าที่เหมือนสารหล่อลื่นผิวข้อ ดูดซับแรงกระแทก และช่วยให้พื้นผิวกระดูกอ่อนในข้อเข่าไม่เสียดสีกันรุนแรง ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ความถี่ในการฉีดมีตั้งแต่แบบครั้งเดียวไปจนถึงการฉีดทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 ถึง 5 สัปดาห์ติดต่อกัน จะเห็นผลการรักษาได้ในช่วง 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังฉีด ออกฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 3 ถึง 6 เดือน
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma หรือ PRP) โดยการเจาะเลือดผู้ป่วยมาเข้าเครื่องปั่นความเร็วสูง เพื่อแยกเกล็ดเลือดออกจากเลือดส่วนอื่นๆ และฉีดเกล็ดเลือดกลับเข้าไปยังบริเวณข้อเข่าที่กระดูกอ่อนผิวข้อมีความเสียหาย โดยเกล็ดเลือดนี้จะมีสารช่วยซ่อมแซมการหายของเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มแรกของโรคเข่าเสื่อม ก่อนรับการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการฉีดสเตียรอยด์เข่าเป็นเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์ และหยุดใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ รวมถึงห้ามกินยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นเวลา 5 วันก่อนทำการรักษา
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังฉีดยาเข้าข้อเข่า
- แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณที่ฉีดหากมีอาการปวด
- หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหลังฉีดยาประมาณ 3 วัน เช่น ขึ้นลงบันได นั่งยอง ๆ วิ่งออกกำลังกายหนักเกินไป
- ประมาณ 1-2 ชั่วโมงแรกหลังฉีดอาจมีอาการชาบริเวณที่ฉีดหรือบริเวณใกล้เคียงอาจมีอาการบวมหลังฉีดประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นอาการปวดจะค่อยๆดีขึ้น
- หากมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด ให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาแก้ปวด หรือมีอาการบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ให้ติดต่อศูนย์ออร์โธปิดิกส์เพื่อประสานงานแพทย์ผู้ทำการรักษาทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A