กินยาเยอะ เสี่ยงมะเร็งตับหรือเปล่า?

     ตับ เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น เป็นแหล่งสะสมอาหาร ช่วยขจัดสารพิษหรือยาออกจากเลือด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยาบางชนิดให้เกิดการออกฤทธิ์ดีขึ้น หากตับเกิดการอักเสบอาจส่งผลให้การทำงานของตับบกพร่อง และเกิดผลเสียต่อร่างกาย ในบางกรณีภาวะตับอักเสบอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ หากผู้ป่วยไม่ทำการรักษาหรือไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

     โรคตับ เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • เกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  • เกิดจากอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซิน
  • เกิดจากการใช้ยา เช่น ได้รับสูตรยาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการซื้อยารับประทานเองจากร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ การได้รับปริมาณยาเกินขนาด สาเหตุอาจเกิดได้ทั้งจากการไม่ตั้งใจหรือได้รับยาซ้ำซ้อน ขาดการติดตามการใช้ยาอย่างเหมาะสม

ตัวอย่างยาที่มีผลต่อตับหากใช้ไม่ถูกวิธี

     1. คีโตโคนาโซล (ketoconazole)

     เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากเขื้อรา มักจะถูกใช้ในกรณีที่ใช้ยารักษาเชื้อราตัวอื่นไม่ได้ผลแล้ว ไม่ให้ใช้คีโตโคนาโซลชนิดรับประทานสำหรับการติดเชื้อที่เล็บหรือผิวหนัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ควรติดตามการทำงานของตับอย่างเหมาะสมในระหว่างที่ได้รับยานี้

     2. พาราเซตามอล (paracetamol)

     เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ที่ปลอดภัยที่สุดหากใช้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปยานี้ถูกใช้เป็นยารักษาตามอาการ เช่น เวลาปวด มีไข้ หลังจากยาเข้าสู่ร่างกายจะมีกระบวนการทำลายยาที่ตับ ในบางกรณีการรับประทานยาพาราเซตามอลในขนาดที่สูงเกินขนาดที่แนะนำ ตับอาจทำลายยาไม่ทัน และบางครั้งอาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ ในบางกรณีหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลให้เกิดตับวายจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

     กรณีตัวอย่างของการรับประทานยาพาราเซตามอลที่อาจส่งผลต่อตับ

     - ผู้ที่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยาทั้งๆ ที่ไม่มีอาการ เช่น รับประทานยาดักไว้ก่อนเพื่อป้องกันการเกิดไข้ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการ หรือรับประทานยาพาราเซตามอลติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีความจำเป็น

     - ผู้ที่รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด โดยไม่ได้ตั้งใจหรือได้รับยาซ้ำซ้อน เช่น การรับประทานยาพาราเซตามอลร่วมกับยาอื่นที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลในเวลาเดียวกัน โดยไม่ทราบว่ามียาพาราเซตามอลผสมอยู่ด้วย หรือบางรายน้ำหนักตัวน้อยแต่รับประทานยาเกินขนาดที่เหมาะสม

     - ผู้ที่ใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น บางรายดื่มแอลกอฮอล์แล้วเกิดอาการปวดศีรษะจึงรับประทานยาพาราเซตามอลแก้ปวด กรณีนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบได้

     3. ยาสมุนไพร

     ยาสมุนไพรบางชนิดที่ควรระมัดระวัง เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ขี้เหล็ก เห็ดเผาะ หากรับประทานไม่ถูกวิธีก็อาจจะเสี่ยงเป็นโรคตับอักเสบได้เช่นกัน

การได้รับยาเกินขนาด

     อาการที่เกิดขึ้น มักพบหลังจากได้รับยาเกินขนาดไปแล้ว ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่ค่อยพบอาการ ไม่มีอาการบ่งชี้ชัดเจน แต่ในบางรายอาจพบอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบอาการแทรกซ้อนของตับวาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ฯลฯ

     สิ่งที่ทำได้เพื่อเป็นการปกป้องตับ คือ ไม่รับประทานยาเกินขนาด ไม่รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากไม่ทราบว่ารับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ เภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222

     ตับ เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น เป็นแหล่งสะสมอาหาร ช่วยขจัดสารพิษหรือยาออกจากเลือด นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยาบางชนิดให้เกิดการออกฤทธิ์ดีขึ้น หากตับเกิดการอักเสบอาจส่งผลให้การทำงานของตับบกพร่อง และเกิดผลเสียต่อร่างกาย ในบางกรณีภาวะตับอักเสบอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ หากผู้ป่วยไม่ทำการรักษาหรือไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

     โรคตับ เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • เกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  • เกิดจากอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซิน
  • เกิดจากการใช้ยา เช่น ได้รับสูตรยาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการซื้อยารับประทานเองจากร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ การได้รับปริมาณยาเกินขนาด สาเหตุอาจเกิดได้ทั้งจากการไม่ตั้งใจหรือได้รับยาซ้ำซ้อน ขาดการติดตามการใช้ยาอย่างเหมาะสม

ตัวอย่างยาที่มีผลต่อตับหากใช้ไม่ถูกวิธี

     1. คีโตโคนาโซล (ketoconazole)

     เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากเขื้อรา มักจะถูกใช้ในกรณีที่ใช้ยารักษาเชื้อราตัวอื่นไม่ได้ผลแล้ว ไม่ให้ใช้คีโตโคนาโซลชนิดรับประทานสำหรับการติดเชื้อที่เล็บหรือผิวหนัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ควรติดตามการทำงานของตับอย่างเหมาะสมในระหว่างที่ได้รับยานี้

     2. พาราเซตามอล (paracetamol)

     เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ที่ปลอดภัยที่สุดหากใช้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปยานี้ถูกใช้เป็นยารักษาตามอาการ เช่น เวลาปวด มีไข้ หลังจากยาเข้าสู่ร่างกายจะมีกระบวนการทำลายยาที่ตับ ในบางกรณีการรับประทานยาพาราเซตามอลในขนาดที่สูงเกินขนาดที่แนะนำ ตับอาจทำลายยาไม่ทัน และบางครั้งอาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ ในบางกรณีหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลให้เกิดตับวายจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

     กรณีตัวอย่างของการรับประทานยาพาราเซตามอลที่อาจส่งผลต่อตับ

     - ผู้ที่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยาทั้งๆ ที่ไม่มีอาการ เช่น รับประทานยาดักไว้ก่อนเพื่อป้องกันการเกิดไข้ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการ หรือรับประทานยาพาราเซตามอลติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีความจำเป็น

     - ผู้ที่รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด โดยไม่ได้ตั้งใจหรือได้รับยาซ้ำซ้อน เช่น การรับประทานยาพาราเซตามอลร่วมกับยาอื่นที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลในเวลาเดียวกัน โดยไม่ทราบว่ามียาพาราเซตามอลผสมอยู่ด้วย หรือบางรายน้ำหนักตัวน้อยแต่รับประทานยาเกินขนาดที่เหมาะสม

     - ผู้ที่ใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น บางรายดื่มแอลกอฮอล์แล้วเกิดอาการปวดศีรษะจึงรับประทานยาพาราเซตามอลแก้ปวด กรณีนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบได้

     3. ยาสมุนไพร

     ยาสมุนไพรบางชนิดที่ควรระมัดระวัง เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ขี้เหล็ก เห็ดเผาะ หากรับประทานไม่ถูกวิธีก็อาจจะเสี่ยงเป็นโรคตับอักเสบได้เช่นกัน

การได้รับยาเกินขนาด

     อาการที่เกิดขึ้น มักพบหลังจากได้รับยาเกินขนาดไปแล้ว ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ มักไม่ค่อยพบอาการ ไม่มีอาการบ่งชี้ชัดเจน แต่ในบางรายอาจพบอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบอาการแทรกซ้อนของตับวาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ฯลฯ

     สิ่งที่ทำได้เพื่อเป็นการปกป้องตับ คือ ไม่รับประทานยาเกินขนาด ไม่รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากไม่ทราบว่ารับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ เภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง