กระดูกพรุน ดูแลก่อน ป้องกันได้

     โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของเนื้อกระดูก ที่เกิดเนื่องจากมีความไม่สมดุลในกระบวนการปรับรูปเซลล์กระดูก โดยเซลล์สลายกระดูกทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะเพิ่มขึ้น โดยการสร้างและการสลายกระดูกเป็นกระบวนการซับซ้อนและเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต 

     ในวัยเด็ก การสร้างกระดูกเกิดมากกว่าการสลาย  มวลกระดูกจึงเพิ่มขึ้นตามอายุ จนมีความหนาแน่นกระดูกสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 25-30 ปี เนื้อกระดูกจะคงที่จนถึงช่วงอายุประมาณ 35-40 ปี จากนั้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การสร้างกระดูกเกิดน้อยลง และไม่สมดุลกับการสลายที่เพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะการหักในตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อสะโพก

โรคกระดูกพรุนมีอาการอย่างไร

     โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุและเป็นภัยเงียบ เนื่องจากไม่มีอาการแสดงใด ๆ มีเพียงแต่เนื้อกระดูกบางลง ทั้งนี้ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็เมื่อเกิดกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้ม ตกบันไดตกจากเก้าอี้ บางครั้ง ผู้สูงอายุที่มีการไออย่างรุนแรง หรือก้มยกของก็อาจทำให้กระดูกสันหลังยุบได้

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน

     โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี แต่ในเพศหญิงอาจเริ่มตรวจพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี หรือภายหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งปกติจะช่วยทำหน้าที่พยุงความหนาแน่นของกระดูกไว้  โดยแบ่งตามปัจจัยเสี่ยงออกเป็น

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น อายุมากขึ้น เพศหญิง ชนชาติเอเชีย มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ บิดามารดามีประวัติกระดูกข้อสะโพกหัก
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น
  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 19 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี หรือตัดรังไข่ 2 ข้าง
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายลดลงช่วงวัยทอง ฮอร์โมนไทรอยด์สูง ต่อมพาราไทรอยด์และต่อมหมวกไตทำงานมากผิดปกติ
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคข้อ โรคตับ โรคไต โรคมะเร็งบางชนิด โรคทางเดินอาหาร

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

     การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density ; BMD) ร่วมกับ การตรวจค่าทางชีวเคมีของกระบวนการสร้างและการสลายของกระดูก ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทำให้วางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน

     ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือการเกิดกระดูกหัก กระดูกที่หักเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเคลื่อนไหวได้ลดลง ช่วยเหลือตัวเองลำบาก ปวดหลังเรื้อรัง หลังโกง หลังค่อม ส่วนสูงลดลง เสียสมดุลการเดิน  เดินไม่ได้/พิการ แผลกดทับ (กรณีเป็นผู้ป่วยติดเตียง) และการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้องและทรวงอกผิดปกติ หรือบางครั้งนำไปสู่การเสียชีวิต โดยทุกๆ 3 วินาที จะมีภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเกิดขึ้น

จะรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
     แพทย์ผู้รักษาจะประเมิน อธิบาย และตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและ/หรือ ญาติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยยาต้านโรคกระดูกพรุนในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก

  • ยาที่ช่วยลดการสลายของกระดูก (Antiresorptive agents) ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน (สัปดาห์ละเม็ด หรือ เดือนละเม็ด) ชนิดฉีดที่ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

 

  • ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก (Anabolic agents) ยาชนิดนี้จะฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุกวัน และในปัจจุบันยังมียาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ทั้งลดการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกโดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุกเดือนอีกด้วย             

 

มีวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือไม่

     การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง โดยการเสริมสร้างมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กและทำให้มวลกระดูกมีค่าสูงสุดในช่วงอายุที่ควรมีความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุด เป็นการสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรง และมีคุณภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ จากนั้นความหนาแน่นของมวลกระดูกเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมถอยของร่างกาย มีโรคประจำตัว และใช้ยาหลายชนิด จึงมีโอกาสหกล้มง่าย และเกิดกระดูกหักได้บ่อย ดังนั้น ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนสำหรับประชาชนทุกวัย คือ

  1. ออกกำลังกายที่เหมาะสมที่เป็นการลงน้ำหนัก และมีการใช้แรงต้าน ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่น วิ่งเหยาะ เดินสลับวิ่ง เต้นแอโรบิก เดินขึ้นบันได ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ฟุตบอล บาสเกตบอล กระโดดเชือก เป็นต้น ในกรณีผู้สูงอายุ ไม่ควรวิ่ง หรือเล่นกีฬาหนักๆ แต่ควรออกกำลังกายที่เบาลง ได้แก่ การเดิน วิ่งเหยาะ รำมวยจีน รำจี้กง รำไท้ฉี
  2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก นม โยเกิร์ต ชีส ถั่วเหลือง ผักใบเขียว และธัญพืช เป็นต้น
  3. ออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ช่วงเช้า หรือช่วงเย็นที่แดดไม่แรงมาก 15-20 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อสังเคราะห์วิตามินดี จะช่วยให้แคลเซียมในร่างกายเข้าสู่กระแสเลือดได้ดียิ่งขึ้น โดยเวลาที่เหมาะสม คือ 6.00 – 9.00 น. และ 16.00 – 18.00 น.
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์/กาแฟเกินขนาดเป็นประจำ และสูบบุหรี่ จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเพิ่มการสลายกระดูก และเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากอาการมึนเมาได้
  5. แนะนำตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะชายวัย 50 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรมีการตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อคัดกรองโรคกระดูกพรุน
  6. ปรับสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อลดโอกาสการหกล้ม เช่น เก็บสายไฟไม่ให้เกะกะตามพื้นเพื่อมิให้สะดุดสายไฟ เช็ดพื้นที่เปียกน้ำทันทีติดแผ่นยางกันลื่นในพื้นห้องน้ำ ติดแสงไฟให้สว่างเพียงพอ เปลี่ยนแว่นสายตาหากมองภาพไม่ชัด จัดพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

     โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของเนื้อกระดูก ที่เกิดเนื่องจากมีความไม่สมดุลในกระบวนการปรับรูปเซลล์กระดูก โดยเซลล์สลายกระดูกทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะเพิ่มขึ้น โดยการสร้างและการสลายกระดูกเป็นกระบวนการซับซ้อนและเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต 

     ในวัยเด็ก การสร้างกระดูกเกิดมากกว่าการสลาย  มวลกระดูกจึงเพิ่มขึ้นตามอายุ จนมีความหนาแน่นกระดูกสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 25-30 ปี เนื้อกระดูกจะคงที่จนถึงช่วงอายุประมาณ 35-40 ปี จากนั้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การสร้างกระดูกเกิดน้อยลง และไม่สมดุลกับการสลายที่เพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะการหักในตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อสะโพก

โรคกระดูกพรุนมีอาการอย่างไร

     โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุและเป็นภัยเงียบ เนื่องจากไม่มีอาการแสดงใด ๆ มีเพียงแต่เนื้อกระดูกบางลง ทั้งนี้ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็เมื่อเกิดกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้ม ตกบันไดตกจากเก้าอี้ บางครั้ง ผู้สูงอายุที่มีการไออย่างรุนแรง หรือก้มยกของก็อาจทำให้กระดูกสันหลังยุบได้

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน

     โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี แต่ในเพศหญิงอาจเริ่มตรวจพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี หรือภายหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งปกติจะช่วยทำหน้าที่พยุงความหนาแน่นของกระดูกไว้  โดยแบ่งตามปัจจัยเสี่ยงออกเป็น

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น อายุมากขึ้น เพศหญิง ชนชาติเอเชีย มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ บิดามารดามีประวัติกระดูกข้อสะโพกหัก
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น
  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 19 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี หรือตัดรังไข่ 2 ข้าง
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายลดลงช่วงวัยทอง ฮอร์โมนไทรอยด์สูง ต่อมพาราไทรอยด์และต่อมหมวกไตทำงานมากผิดปกติ
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคข้อ โรคตับ โรคไต โรคมะเร็งบางชนิด โรคทางเดินอาหาร

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

     การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density ; BMD) ร่วมกับ การตรวจค่าทางชีวเคมีของกระบวนการสร้างและการสลายของกระดูก ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทำให้วางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน

     ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุดของโรคกระดูกพรุนคือการเกิดกระดูกหัก กระดูกที่หักเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเคลื่อนไหวได้ลดลง ช่วยเหลือตัวเองลำบาก ปวดหลังเรื้อรัง หลังโกง หลังค่อม ส่วนสูงลดลง เสียสมดุลการเดิน  เดินไม่ได้/พิการ แผลกดทับ (กรณีเป็นผู้ป่วยติดเตียง) และการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้องและทรวงอกผิดปกติ หรือบางครั้งนำไปสู่การเสียชีวิต โดยทุกๆ 3 วินาที จะมีภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเกิดขึ้น

จะรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
     แพทย์ผู้รักษาจะประเมิน อธิบาย และตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและ/หรือ ญาติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยยาต้านโรคกระดูกพรุนในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก

  • ยาที่ช่วยลดการสลายของกระดูก (Antiresorptive agents) ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน (สัปดาห์ละเม็ด หรือ เดือนละเม็ด) ชนิดฉีดที่ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

 

  • ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก (Anabolic agents) ยาชนิดนี้จะฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุกวัน และในปัจจุบันยังมียาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ทั้งลดการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกโดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุกเดือนอีกด้วย             

 

มีวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือไม่

     การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง โดยการเสริมสร้างมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กและทำให้มวลกระดูกมีค่าสูงสุดในช่วงอายุที่ควรมีความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุด เป็นการสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรง และมีคุณภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ จากนั้นความหนาแน่นของมวลกระดูกเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมถอยของร่างกาย มีโรคประจำตัว และใช้ยาหลายชนิด จึงมีโอกาสหกล้มง่าย และเกิดกระดูกหักได้บ่อย ดังนั้น ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนสำหรับประชาชนทุกวัย คือ

  1. ออกกำลังกายที่เหมาะสมที่เป็นการลงน้ำหนัก และมีการใช้แรงต้าน ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่น วิ่งเหยาะ เดินสลับวิ่ง เต้นแอโรบิก เดินขึ้นบันได ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ฟุตบอล บาสเกตบอล กระโดดเชือก เป็นต้น ในกรณีผู้สูงอายุ ไม่ควรวิ่ง หรือเล่นกีฬาหนักๆ แต่ควรออกกำลังกายที่เบาลง ได้แก่ การเดิน วิ่งเหยาะ รำมวยจีน รำจี้กง รำไท้ฉี
  2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก นม โยเกิร์ต ชีส ถั่วเหลือง ผักใบเขียว และธัญพืช เป็นต้น
  3. ออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ช่วงเช้า หรือช่วงเย็นที่แดดไม่แรงมาก 15-20 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อสังเคราะห์วิตามินดี จะช่วยให้แคลเซียมในร่างกายเข้าสู่กระแสเลือดได้ดียิ่งขึ้น โดยเวลาที่เหมาะสม คือ 6.00 – 9.00 น. และ 16.00 – 18.00 น.
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์/กาแฟเกินขนาดเป็นประจำ และสูบบุหรี่ จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเพิ่มการสลายกระดูก และเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากอาการมึนเมาได้
  5. แนะนำตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะชายวัย 50 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรมีการตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อคัดกรองโรคกระดูกพรุน
  6. ปรับสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อลดโอกาสการหกล้ม เช่น เก็บสายไฟไม่ให้เกะกะตามพื้นเพื่อมิให้สะดุดสายไฟ เช็ดพื้นที่เปียกน้ำทันทีติดแผ่นยางกันลื่นในพื้นห้องน้ำ ติดแสงไฟให้สว่างเพียงพอ เปลี่ยนแว่นสายตาหากมองภาพไม่ชัด จัดพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง