โรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     การนอน เป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าในแต่ละวันเราพบเจอกับเหตุการณ์อะไรที่หนักหน่วงมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้น แต่การนอนหลับยาวๆ แบบข้ามวันข้ามคืนแทนที่จะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น แต่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายหรือร่างกายกำลังส่งสัญญาณโรคง่วงนอนมากผิดปกติก็เป็นได้

ทำความรู้จักโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) เป็นโรคที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนมากทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน มีอาการนอนหลับเกินพอดี ขึ้เซา นอนมากเท่าไหร่ก็ยังไม่เพียงพอ งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลาที่รับประทานอาหาร พูดคุยกับผู้อื่นก็สามารถนอนหลับได้ หากได้นอนแล้วอาจตื่นยากกว่าปกติ มีระยะเวลาในการนอนมากกว่า 8 ชั่วโมง และมีอาการอ่อนเพลียอยากกลับไปนอนอีก

สาเหตุของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม หรือบุคลิกส่วนตัว แต่เป็นโรคที่เกิดจากทางร่างกายและจิตใจ มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงควรระมัดระวังสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  • อดนอนบ่อยและเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายรู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • นาฬิกาชีวิตแปรปรวน เวลานอนผิดปกติ เช่น การเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาที่ต่างกันมากๆ
  • ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้นอนมากเกินไป
  • นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมองต่างๆ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ผลเสียของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคง่วงนอนมากผิดปกติ ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ความจำแย่ลง หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล และยังมีผลเสียอื่นๆ เช่น

  • ทำร้ายสมอง เพราะการนอนมากเกินไปทำให้สมองเฉื่อยชา คิดหรือทำอะไรเชื่องช้า ไร้ชีวิตชีวา มึนงงตลอดเวลา ขยับร่างกายน้อยลงส่งผลให้กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อประสิทธิภาพลดลง
  • ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ชีวิตไม่ค่อยมีความสุข เพราะฮอร์โมนด้านความสุข เช่น เซโรโทนินและเอ็นดอร์ฟินที่สัมพันธ์กับการนอนลดลง
  • อ้วนง่าย เพราะร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย อาจทำให้โรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • มีบุตรยาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะเป็นปกติเมื่อมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
  • เสี่ยงต่อการหยุดหายใจเฉียบพลันหรือไหลตาย เพราะเนื้อสมองตายเนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมองที่นานเกินกว่าเวลานอนปกติของคนทั่วไป
  • อายุสั้น มีผลวิจัยในปี 2010 ออกมาว่า ผู้ที่นอนนานเกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน จะมีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะร่างกายไม่ได้ขยับ ไม่ได้เพิ่มออกซิเจนให้อวัยวะภายใน

 

 

วิธีป้องกันโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

  • เข้านอนตรงเวลาทุกวัน กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมติดต่อกัน นอนหลับพักผ่อน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป หากตื่นแล้วให้ลุกจากเตียง ไม่ต่อเวลาในการนอนออกไปอีก
  • ใช้ยานอนหลับเท่าที่จำเป็นหรือตามแพทย์สั่ง หากนอนไม่หลับควรปรับวิธีการนอนด้วยตัวเอง เพราะการรับประทานยาเป็นประจำอาจทำให้ดื้อยา หรือส่งผลเสียต่อตับ และระบบประสาทได้
  • หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวัน หรือหากงีบกลางวันไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน และจบลงด้วยการนอนนานมากขึ้นกว่าเดิม
  • อาบน้ำก่อนนอน เพื่อให้ร่างกายสะอาด สบายเนื้อสบายตัว
  • รองท้องก่อนนอน เช่น ดื่มนมอุ่นๆ ช่วยให้อิ่มท้อง หลับสบาย ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น
  • หากิจกรรมก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวและผ่อนคลาย
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ งดเครื่องดื่มชา กาแฟ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง แป้ง น้ำตาล

     การนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอจะช่วยป้องกันโรคง่วงนอนมากเกินไปได้ และทำให้ร่างกายคุ้นชิน สร้างระบบนาฬิกาชีวภาพที่จะช่วยให้ตื่นนอนอย่างสดชื่น นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกาย แต่หากทำตามคำแนะนำทั้งหมดแล้วยังมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 

     การนอน เป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าในแต่ละวันเราพบเจอกับเหตุการณ์อะไรที่หนักหน่วงมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้น แต่การนอนหลับยาวๆ แบบข้ามวันข้ามคืนแทนที่จะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น แต่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายหรือร่างกายกำลังส่งสัญญาณโรคง่วงนอนมากผิดปกติก็เป็นได้

ทำความรู้จักโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) เป็นโรคที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนมากทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน มีอาการนอนหลับเกินพอดี ขึ้เซา นอนมากเท่าไหร่ก็ยังไม่เพียงพอ งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลาที่รับประทานอาหาร พูดคุยกับผู้อื่นก็สามารถนอนหลับได้ หากได้นอนแล้วอาจตื่นยากกว่าปกติ มีระยะเวลาในการนอนมากกว่า 8 ชั่วโมง และมีอาการอ่อนเพลียอยากกลับไปนอนอีก

สาเหตุของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม หรือบุคลิกส่วนตัว แต่เป็นโรคที่เกิดจากทางร่างกายและจิตใจ มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงควรระมัดระวังสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  • อดนอนบ่อยและเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายรู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • นาฬิกาชีวิตแปรปรวน เวลานอนผิดปกติ เช่น การเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาที่ต่างกันมากๆ
  • ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้นอนมากเกินไป
  • นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมองต่างๆ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ผลเสียของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

     โรคง่วงนอนมากผิดปกติ ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ความจำแย่ลง หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล และยังมีผลเสียอื่นๆ เช่น

  • ทำร้ายสมอง เพราะการนอนมากเกินไปทำให้สมองเฉื่อยชา คิดหรือทำอะไรเชื่องช้า ไร้ชีวิตชีวา มึนงงตลอดเวลา ขยับร่างกายน้อยลงส่งผลให้กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อประสิทธิภาพลดลง
  • ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ชีวิตไม่ค่อยมีความสุข เพราะฮอร์โมนด้านความสุข เช่น เซโรโทนินและเอ็นดอร์ฟินที่สัมพันธ์กับการนอนลดลง
  • อ้วนง่าย เพราะร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย อาจทำให้โรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • มีบุตรยาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะเป็นปกติเมื่อมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
  • เสี่ยงต่อการหยุดหายใจเฉียบพลันหรือไหลตาย เพราะเนื้อสมองตายเนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมองที่นานเกินกว่าเวลานอนปกติของคนทั่วไป
  • อายุสั้น มีผลวิจัยในปี 2010 ออกมาว่า ผู้ที่นอนนานเกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน จะมีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะร่างกายไม่ได้ขยับ ไม่ได้เพิ่มออกซิเจนให้อวัยวะภายใน

วิธีป้องกันโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

  • เข้านอนตรงเวลาทุกวัน กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมติดต่อกัน นอนหลับพักผ่อน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป หากตื่นแล้วให้ลุกจากเตียง ไม่ต่อเวลาในการนอนออกไปอีก
  • ใช้ยานอนหลับเท่าที่จำเป็นหรือตามแพทย์สั่ง หากนอนไม่หลับควรปรับวิธีการนอนด้วยตัวเอง เพราะการรับประทานยาเป็นประจำอาจทำให้ดื้อยา หรือส่งผลเสียต่อตับ และระบบประสาทได้
  • หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวัน หรือหากงีบกลางวันไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน และจบลงด้วยการนอนนานมากขึ้นกว่าเดิม
  • อาบน้ำก่อนนอน เพื่อให้ร่างกายสะอาด สบายเนื้อสบายตัว
  • รองท้องก่อนนอน เช่น ดื่มนมอุ่นๆ ช่วยให้อิ่มท้อง หลับสบาย ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น
  • หากิจกรรมก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวและผ่อนคลาย
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ งดเครื่องดื่มชา กาแฟ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง แป้ง น้ำตาล

     การนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอจะช่วยป้องกันโรคง่วงนอนมากเกินไปได้ และทำให้ร่างกายคุ้นชิน สร้างระบบนาฬิกาชีวภาพที่จะช่วยให้ตื่นนอนอย่างสดชื่น นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกาย แต่หากทำตามคำแนะนำทั้งหมดแล้วยังมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง