ยาพาราเซตามอล รักษาอาการปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

ยาพาราเซตามอลแก้อะไร?

     พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ พาราเซตามอลที่เป็นยาเดี่ยวจะบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง เช่น แผลผ่าตัดใหญ่ หรือมะเร็ง

วิธีใช้ยาพาราเซตามอลรูปแบบปกติทั่วไป (สำหรับผู้ที่มีภาวะตับและไตปกติ)

  • ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เป็น 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
  • รับประทานยาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ใน 1 วัน ไม่ควรรับประทานเกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาอาการปวดเบื้องต้น
  • ไม่รับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ถ้ารับประทานยาแล้วไข้ไม่ลดภายใน 3 วัน หรืออาการปวดในเด็กไม่บรรเทาภายใน 5 วัน หรือในผู้ใหญ่ไม่บรรเทาภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้

พาราเซตามอล 650 mg ชนิดเม็ดออกฤทธิ์นาน 8 ชั่วโมง (สำหรับผู้ที่มีภาวะตับและไตปกติ)

  • ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่  44 กิโลกรัมขึ้นไป รับประทานครั้งละ 2 เม็ด แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 44 กิโลกรัม หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ให้ใช้ยานี้เพราะจะได้รับยาเกินขนาดที่แนะนำซึ่งอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้
  • กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามหัก เคี้ยว บด แบ่งเม็ดยา หรือละลายน้ำ เพราะจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด

อาการของการใช้ยาเกินขนาด

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ
  • มีอาการอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีภาวะแทรกซ้อน หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ปวดแบบไหนที่รับประทานยาพาราเซตามอลไม่ได้ผล?

  1. อาการปวดรุนแรง เช่น ปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่งคือการให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7 - 10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียวไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าวห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป 

  2. อาการปวดที่มีลักษณะอาการแปลก ๆ อาการปวดโดยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษา เช่น ปวดตื้อ หรือกดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการปวดบางชนิดที่พบได้ในผู้ป่วย เช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพัก ๆ ปวดเหมือนเข็มเล็ก ๆ ทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช็อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง 

  3. อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2 - 3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้นผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่น ปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3 - 4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามอลเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  1. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเพราะอาจทําให้ได้รับยาเกินขนาด
  2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ หากดื่มสุราเป็นประจํา เป็นโรคตับหรือโรคไต
  3. หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการ เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ หน้ามืด ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  4. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้หากมีภาวะพร่องเอนไซม์จี6พีดี (G6PD) หรือกำลังใช้ยาวาร์ฟารินซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง เพราะอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น

วิธีเก็บรักษายา

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พ้นแสงแดด และความร้อน
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร. 1474 กด 2

ยาพาราเซตามอลแก้อะไร?

     พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ พาราเซตามอลที่เป็นยาเดี่ยวจะบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง เช่น แผลผ่าตัดใหญ่ หรือมะเร็ง

วิธีใช้ยาพาราเซตามอลรูปแบบปกติทั่วไป (สำหรับผู้ที่มีภาวะตับและไตปกติ)

  • ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เป็น 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
  • รับประทานยาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ใน 1 วัน ไม่ควรรับประทานเกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาอาการปวดเบื้องต้น
  • ไม่รับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ถ้ารับประทานยาแล้วไข้ไม่ลดภายใน 3 วัน หรืออาการปวดในเด็กไม่บรรเทาภายใน 5 วัน หรือในผู้ใหญ่ไม่บรรเทาภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้

พาราเซตามอล 650 mg ชนิดเม็ดออกฤทธิ์นาน 8 ชั่วโมง (สำหรับผู้ที่มีภาวะตับและไตปกติ)

  • ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่  44 กิโลกรัมขึ้นไป รับประทานครั้งละ 2 เม็ด แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 44 กิโลกรัม หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ให้ใช้ยานี้เพราะจะได้รับยาเกินขนาดที่แนะนำซึ่งอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้
  • กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามหัก เคี้ยว บด แบ่งเม็ดยา หรือละลายน้ำ เพราะจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด

อาการของการใช้ยาเกินขนาด

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ
  • มีอาการอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีภาวะแทรกซ้อน หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ปวดแบบไหนที่รับประทานยาพาราเซตามอลไม่ได้ผล?

  1. อาการปวดรุนแรง เช่น ปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่งคือการให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7 - 10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียวไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าวห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป 

  2. อาการปวดที่มีลักษณะอาการแปลก ๆ อาการปวดโดยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษา เช่น ปวดตื้อ หรือกดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการปวดบางชนิดที่พบได้ในผู้ป่วย เช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพัก ๆ ปวดเหมือนเข็มเล็ก ๆ ทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช็อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง 

  3. อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2 - 3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้นผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่น ปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3 - 4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามอลเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  1. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเพราะอาจทําให้ได้รับยาเกินขนาด
  2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ หากดื่มสุราเป็นประจํา เป็นโรคตับหรือโรคไต
  3. หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการ เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ หน้ามืด ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  4. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้หากมีภาวะพร่องเอนไซม์จี6พีดี (G6PD) หรือกำลังใช้ยาวาร์ฟารินซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง เพราะอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น

วิธีเก็บรักษายา

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พ้นแสงแดด และความร้อน
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร. 1474 กด 2


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง