ฟันปลอมชนิดถอดได้ ทดแทนฟันที่สูญเสีย

ฟันปลอมชนิดถอดได้ (Removable Denture) คือ ฟันปลอมที่ทำขึ้นเพื่อผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติเหลืออยู่หรือไม่มีฟันเหลืออยู่เลย สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ ตัวซี่ฟันปลอมทำด้วยพลาสติกหรือคอมโพสิต มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ และมีฐานที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ โดยจะวางบนสันเหงือกหรือเพดานปาก

 

 

ฟันปลอมชนิดถอดได้เหมาะกับใคร?

  1. ผู้มีฟันบางตำแหน่งหรือทั้งขากรรไกรถูกถอนออกไป
  2. ผู้สูญเสียฟันธรรมชาติจำนวนมาก จนไม่สามารถทำฟันปลอมชนิดติดแน่นแบบสะพานได้
  3. ผู้เคยมีปัญหาโรคเหงือกอักเสบหรือฟันผุรุนแรงจนต้องถอนฟันหลายซี่
  4. ผู้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ ฟันปลอมชนิดนี้สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบติดแน่น

พิจารณาข้อดีข้อด้อยก่อนทำฟันปลอมชนิดถอดได้

ประโยชน์ของการทำฟันปลอมชนิดถอดได้ คือ ช่วยทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่สูญเสียฟันดีขึ้น กลับมาใช้งานบดเคี้ยวอาหารได้ กรณีมีการถอนฟันเพิ่มหรือสันเหงือกด้านท้ายยุบตามอายุ อาจต้องมาทำการแก้ไขหรือทำใหม่ สามารถพิจารณาจากข้อดีและข้อด้อย ดังนี้

ข้อดี

  1. มีความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ
  2. สามารถทดแทนการบดเคี้ยวได้ประมาณ 60% ของฟันธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของผู้ป่วย
  3. เสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู่ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ โดยเฉพาะฟันหน้า
  4. ช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป เนื่องจากสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ละเอียดดีขึ้น
  5. ป้องกันฟันที่อยู่ข้างเคียงไม่ให้ล้มเอียงหรือฟันคู่สบยื่นยาวเข้ามาในช่องว่างที่สูญเสียฟัน
  6. สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย มีทั้งแบบฐานฟันปลอมที่ทำจากพลาสติกและทำด้วยโลหะ

ข้อด้อย

  1. การใส่ฟันปลอมทั้งปากโดยที่ไม่มีฟันธรรมชาติเป็นตัวยึด ความสามารถในการยึดติดจะมีไม่มากพอจำเป็นต้องยึดกับสันเหงือกและเพดาน ผู้ใส่ฟันปลอมทั้งปากต้องมีการปรับตัวและฝึกการใส่ฟันปลอม
  2. ระยะแรกมักรู้สึกว่าฟันปลอมมีขนาดใหญ่ เกะกะ เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงเมื่อเกิดความเคยชิน
  3. ฟันปลอมชนิดถอดได้ขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น อาจเกิดความรำคาญขณะพูดหรือเคี้ยวอาหาร
  4. ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวต่ำกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น เนื่องจากรับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่า
  5. เมื่อใช้งานไปนานๆ อาจมีปัญหาเรื่องการหลวม ขยับ หลุด ขณะใช้งาน เนื่องจากสันเหงือกมีการละลายตัวต้องกลับมาทำใหม่หรือเติมฐานฟันปลอม

 

การเตรียมตัวก่อนทำฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. ฟันที่เหลือในช่องปากต้องแข็งแรง ไม่ผุ ไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ ถ้าตรวจพบฟันผุให้พิจารณาอุดฟัน รักษารากฟัน หรือถอนออก
  2. สันเหงือกบริเวณที่ต้องการใส่โค้งมน ไม่มีสันกระดูกแหลมคม เหงือกแข็งแรงและแน่น
  3. ทันตแพทย์อาจพิจารณาตัดปุ่มกระดูกที่เพดานของขากรรไกรบนหรือปุ่มกระดูกด้านลิ้นของขากรรไกรล่างที่มาขัดขวางการใส่ฟันปลอม
  4. เยื่อบุช่องปากปกติ ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพใดๆ

ขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดถอดได้

   การทำฟันปลอมชนิดถอดได้มีหลายขั้นตอน ผู้ป่วยจะต้องมาพบทันตแพทย์ประมาณ 5 – 6 ครั้ง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟัน บันทึกการสบฟัน
  2. กรณีทำฟันปลอมทั้งปากต้องพิมพ์ปากซ้ำโดยใช้ถาดพิมพ์ปากเฉพาะบุคคล เพื่อคัดลอกขอบเขตของฟันปลอมที่กว้างสุดเท่าที่จะไม่รบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อ
  3. กำหนดตำแหน่งของซี่ฟันที่จะใส่
  4. ทันตแพทย์จะลองเรียงฟันในปากผู้ป่วยเพื่อให้ดูสีและรูปร่างซี่ฟันว่าพอใจหรือไม่
  5. ใส่ฟันปลอมพร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการดูแลรักษาและการทำความสะอาด
  6. กลับมาพบทันตแพทย์ภายหลังใส่ฟันปลอม 7 - 14 วัน โดยประมาณ

ภาวะแทรกซ้อนของการทำฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. อาจมีอาการเจ็บขณะบดเคี้ยวอาหาร เนื่องจากฐานฟันปลอมกดทับ ควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไข
  2. เมื่อใส่ฟันปลอมไปนานๆ รูปร่างสันเหงือกอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้หลวมได้ ควรกลับมาเสริมฐานฟันปลอมให้แน่นดังเดิม
  3. หากใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ตลอดเวลา อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดการอักเสบ หากระคายเคืองมากอาจเกิดเป็นก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงขึ้นที่บริเวณขอบหรือใต้ฐานฟันปลอม มักพบได้บ่อยกับฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้

การดูแลรักษาฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. ควรถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  2. ทำความสะอาดฟันปลอมเมื่อเลิกใช้งาน โดยใช้แปรงสีฟันแปรงที่ฟันปลอมให้ทั่วทุกซี่ฟัน และฐานของฟันปลอม ควรใช้แปรงร่วมกับน้ำสบู่ก็ได้ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปแช่น้ำเปล่าไว้ในภาชนะหรือกล่องที่มีฝาปิด
  3. ไม่ควรใส่ตลอดเวลา ควรถอดทำความสะอาด แช่น้ำไว้เมื่อเข้านอน เพื่อลดแรงกดทับของฐานฟันปลอมต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก
  4. ควรพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจเป็นระยะ เนื่องจากเมื่อใส่ฟันปลอมไประยะเวลาหนึ่งสันเหงือกมักยุบตัวลงทำให้ฐานฟันปลอมไม่พอดีกับสันเหงือก การสบของฟันปลอมกับคู่สบเกิดคลาดเคลื่อนจากที่ทำไว้ ส่งผลให้การเคี้ยวอาหารไม่สมบูรณ์และเกิดแผลได้
  5. กรณีใส่ฟันปลอมทั้งปากหากต้องการให้ฟันปลอมติดแน่นมากขึ้น อาจทำฟันปลอมฐานพลาสติกร่วมกับการฝังรากฟันเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A

ฟันปลอมชนิดถอดได้ (Removable Denture) คือ ฟันปลอมที่ทำขึ้นเพื่อผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติเหลืออยู่หรือไม่มีฟันเหลืออยู่เลย สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ ตัวซี่ฟันปลอมทำด้วยพลาสติกหรือคอมโพสิต มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ และมีฐานที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ โดยจะวางบนสันเหงือกหรือเพดานปาก

 

 

ฟันปลอมชนิดถอดได้เหมาะกับใคร?

  1. ผู้มีฟันบางตำแหน่งหรือทั้งขากรรไกรถูกถอนออกไป
  2. ผู้สูญเสียฟันธรรมชาติจำนวนมาก จนไม่สามารถทำฟันปลอมชนิดติดแน่นแบบสะพานได้
  3. ผู้เคยมีปัญหาโรคเหงือกอักเสบหรือฟันผุรุนแรงจนต้องถอนฟันหลายซี่
  4. ผู้ที่ไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ ฟันปลอมชนิดนี้สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบติดแน่น

พิจารณาข้อดีข้อด้อยก่อนทำฟันปลอมชนิดถอดได้

ประโยชน์ของการทำฟันปลอมชนิดถอดได้ คือ ช่วยทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่สูญเสียฟันดีขึ้น กลับมาใช้งานบดเคี้ยวอาหารได้ กรณีมีการถอนฟันเพิ่มหรือสันเหงือกด้านท้ายยุบตามอายุ อาจต้องมาทำการแก้ไขหรือทำใหม่ สามารถพิจารณาจากข้อดีและข้อด้อย ดังนี้

ข้อดี

  1. มีความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ
  2. สามารถทดแทนการบดเคี้ยวได้ประมาณ 60% ของฟันธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของผู้ป่วย
  3. เสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู่ที่สูญเสียฟันธรรมชาติ โดยเฉพาะฟันหน้า
  4. ช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป เนื่องจากสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ละเอียดดีขึ้น
  5. ป้องกันฟันที่อยู่ข้างเคียงไม่ให้ล้มเอียงหรือฟันคู่สบยื่นยาวเข้ามาในช่องว่างที่สูญเสียฟัน
  6. สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย มีทั้งแบบฐานฟันปลอมที่ทำจากพลาสติกและทำด้วยโลหะ

ข้อด้อย

  1. การใส่ฟันปลอมทั้งปากโดยที่ไม่มีฟันธรรมชาติเป็นตัวยึด ความสามารถในการยึดติดจะมีไม่มากพอจำเป็นต้องยึดกับสันเหงือกและเพดาน ผู้ใส่ฟันปลอมทั้งปากต้องมีการปรับตัวและฝึกการใส่ฟันปลอม
  2. ระยะแรกมักรู้สึกว่าฟันปลอมมีขนาดใหญ่ เกะกะ เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงเมื่อเกิดความเคยชิน
  3. ฟันปลอมชนิดถอดได้ขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น อาจเกิดความรำคาญขณะพูดหรือเคี้ยวอาหาร
  4. ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวต่ำกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น เนื่องจากรับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่า
  5. เมื่อใช้งานไปนานๆ อาจมีปัญหาเรื่องการหลวม ขยับ หลุด ขณะใช้งาน เนื่องจากสันเหงือกมีการละลายตัวต้องกลับมาทำใหม่หรือเติมฐานฟันปลอม

 

การเตรียมตัวก่อนทำฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. ฟันที่เหลือในช่องปากต้องแข็งแรง ไม่ผุ ไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ ถ้าตรวจพบฟันผุให้พิจารณาอุดฟัน รักษารากฟัน หรือถอนออก
  2. สันเหงือกบริเวณที่ต้องการใส่โค้งมน ไม่มีสันกระดูกแหลมคม เหงือกแข็งแรงและแน่น
  3. ทันตแพทย์อาจพิจารณาตัดปุ่มกระดูกที่เพดานของขากรรไกรบนหรือปุ่มกระดูกด้านลิ้นของขากรรไกรล่างที่มาขัดขวางการใส่ฟันปลอม
  4. เยื่อบุช่องปากปกติ ไม่มีรอยโรคหรือพยาธิสภาพใดๆ

ขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดถอดได้

   การทำฟันปลอมชนิดถอดได้มีหลายขั้นตอน ผู้ป่วยจะต้องมาพบทันตแพทย์ประมาณ 5 – 6 ครั้ง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟัน บันทึกการสบฟัน
  2. กรณีทำฟันปลอมทั้งปากต้องพิมพ์ปากซ้ำโดยใช้ถาดพิมพ์ปากเฉพาะบุคคล เพื่อคัดลอกขอบเขตของฟันปลอมที่กว้างสุดเท่าที่จะไม่รบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อ
  3. กำหนดตำแหน่งของซี่ฟันที่จะใส่
  4. ทันตแพทย์จะลองเรียงฟันในปากผู้ป่วยเพื่อให้ดูสีและรูปร่างซี่ฟันว่าพอใจหรือไม่
  5. ใส่ฟันปลอมพร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการดูแลรักษาและการทำความสะอาด
  6. กลับมาพบทันตแพทย์ภายหลังใส่ฟันปลอม 7 - 14 วัน โดยประมาณ

ภาวะแทรกซ้อนของการทำฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. อาจมีอาการเจ็บขณะบดเคี้ยวอาหาร เนื่องจากฐานฟันปลอมกดทับ ควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไข
  2. เมื่อใส่ฟันปลอมไปนานๆ รูปร่างสันเหงือกอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้หลวมได้ ควรกลับมาเสริมฐานฟันปลอมให้แน่นดังเดิม
  3. หากใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ตลอดเวลา อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดการอักเสบ หากระคายเคืองมากอาจเกิดเป็นก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงขึ้นที่บริเวณขอบหรือใต้ฐานฟันปลอม มักพบได้บ่อยกับฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้

การดูแลรักษาฟันปลอมชนิดถอดได้

  1. ควรถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  2. ทำความสะอาดฟันปลอมเมื่อเลิกใช้งาน โดยใช้แปรงสีฟันแปรงที่ฟันปลอมให้ทั่วทุกซี่ฟัน และฐานของฟันปลอม ควรใช้แปรงร่วมกับน้ำสบู่ก็ได้ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปแช่น้ำเปล่าไว้ในภาชนะหรือกล่องที่มีฝาปิด
  3. ไม่ควรใส่ตลอดเวลา ควรถอดทำความสะอาด แช่น้ำไว้เมื่อเข้านอน เพื่อลดแรงกดทับของฐานฟันปลอมต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก
  4. ควรพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจเป็นระยะ เนื่องจากเมื่อใส่ฟันปลอมไประยะเวลาหนึ่งสันเหงือกมักยุบตัวลงทำให้ฐานฟันปลอมไม่พอดีกับสันเหงือก การสบของฟันปลอมกับคู่สบเกิดคลาดเคลื่อนจากที่ทำไว้ ส่งผลให้การเคี้ยวอาหารไม่สมบูรณ์และเกิดแผลได้
  5. กรณีใส่ฟันปลอมทั้งปากหากต้องการให้ฟันปลอมติดแน่นมากขึ้น อาจทำฟันปลอมฐานพลาสติกร่วมกับการฝังรากฟันเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง