ตักบาตรเติมบุญ เติมกุศลในวันขึ้นปีใหม่

การตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่เป็นประเพณีที่ประชาชนคนไทยทำต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เสริมความเป็นศิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว การเลือกสิ่งของที่จะนำมาใส่บาตรก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ เพราะ #สุขภาพของพระอยู่ในมือโยม นักกำหนดอาหารจึงมีคำแนะนำในการเลือกของที่จะนำมาใส่บาตรดังนี้

การจัดชุดตักบาตรอาหารสด

     ยามนิมนต์พระให้ฉันอาหารควรหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเมนูอาหาร ควรใช้คำพูดเพียง ขอนิมนต์ฉันเช้า หรือขอนิมนต์ฉันเพล (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙”)

1. ข้าว เลือกข้าวไม่ขัดสีหุงสุกใหม่ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดงมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นต้น

2. กับข้าว เลือกกับข้าวที่ปรุงสุกใหม่โดยการ ต้ม นึ่ง ตุ๋น ย่าง และผัดด้วยน้ำมันปริมาณน้อย แทนการทอดหรือแกงกะทิ พยายามเลือกกับข้าวที่มีผัก และเนื้อสัตว์ไม่ติดมันเป็นส่วนประกอบ โดยต้องปรุงให้สุก พยายามหลีกเลี่ยงกับข้าวที่ปรุงประกอบจากของหมักดอง และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ปลากระป๋องในซอสรสชาติต่าง ๆ ปลาเค็ม ไส้กรอก กุนเชียง เพราะมีโซเดียมสูง

เมนูตัวอย่างที่แนะนำ เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มยำปลาน้ำใส น้ำพริกผักต้ม ผัดผัก ผัดขิง ผัดกะเพราหมูชิ้น ยำปลาทูน่าในน้ำแร่ ไข่ต้ม (โดยไข่แดงต้องสุกเท่านั้น) เป็นต้น

3. ผลไม้ หรือขนมหวาน ผลไม้ควรเลือกผลไม้สดมากกว่าผลไม้แปรรูป หากมีเปลือกและเมล็ดควรปอกเปลือกและคว้านหรือแกะเมล็ดให้เรียบร้อย หากเป็นผลไม้ที่ขนาดใหญ่ควรหั่นเป็นชิ้นพอดีคำก่อนถวายให้แด่พระสงฆ์ ขนมหวาน พยายามหลีกเลี่ยงขนมที่มีรสชาติหวานจัด หรือขนมที่มีส่วนประกอบจากกะทิ หากเป็นขนมชิ้นแนะนำให้เลือกชิ้นเล็กหรืออ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง

4. น้ำปานะ เครื่องดื่มที่พระสงฆ์สามารถฉันหลังจากเพลไปแล้ว พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถฉันน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำดอกไม้ได้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มดอกมะทราง น้ำอ้อยสด (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒) เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมีเครื่องดื่มใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งต้องอาศัยการตีความตามพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ส่วนนมสดหรือนมถั่วเหลืองเป็นปานะที่มีการถกเถียงกันในหมู่พระสงฆ์อย่างมาก มหานิกายตีความว่าฉันได้ ธรรมยุตตีความว่าฉันไม่ได้ โดยส่วนมากเป็นพระสายปฏิบัติและเคร่งมาก ๆ เท่านั้นที่จะไม่ฉันน้ำปานะบางชนิด น้ำปานะที่นักกำหนดอาหารแนะนำ ได้แก่ นมวัวรสจืดไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมสูตรหวานน้อย ชากาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น หากต้องการใส่บาตรด้วยน้ำที่มีรสหวานจากการใส่น้ำตาลให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในขนาดเล็กที่สุด และอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง เลือกน้ำปานะเป็นน้ำสูตรหวานน้อย ขนาดบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อให้ท่านสามารถฉันในปริมาณที่เหมาะสมได้

การจัดชุดตักบาตรอาหารแห้ง

     ไม่ควรถวายอาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร อาหารกระป๋องหลังเที่ยงวันกับพระสงฆ์โดยตรง ให้มอบแก่ผู้ติดตามแทน (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗”)

1. ข้าวสาร เดิมพระพุทธเจ้าไม่ให้เก็บไว้ในกุฏิ รวมถึงไม่ให้ทำอาหารฉันเองถือเป็นอาบัติ ควรเก็บวัตถุทานไว้นอกกุฏิและให้ผู้อื่นเป็นผู้ปรุงประกอบอาหารให้ จึงฉันได้ไม่อาบัติ แต่ในภายหลังเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในวงกว้าง พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้เก็บวัตถุทาน และอนุญาตให้ปรุงประกอบอาหารได้ในยามที่จำเป็น (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒) เลือกข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดงมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี แบ่งใส่ถุงที่สามารถปิดสนิท เพื่อรักษาคุณภาพของข้าวให้อยู่ได้นาน (นอกเทศกาลควรบริจาคข้าวสารที่โรงทานของวัดมากกว่า)

2. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พยายามเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อซอง ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง เครื่องดื่มชงกึ่งสำเร็จรูปควรเลือกสูตรน้ำตาลน้อยไม่เกิน 10 กรัมต่อ 1 ซอง ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง (นอกเทศกาลควรบริจาคข้าวสารที่โรงทานของวัดมากกว่า)

3. อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋องและผักกระป๋อง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่บุบหรือมีรอยเปิด ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้งผลไม้ กระป๋องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง แนะนำเลือกบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กหรือเลือกเป็นผลไม้สดแทนจะดีกว่า (นอกเทศกาลควรบริจาคที่โรงทานของวัดมากกว่า)

4. เงินสด ตามพระธรรมวินัย การจับต้องเงินเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (อาบัติสถานเบา) (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘”) หากต้องการบริจาคปัจจัยให้ใส่ซองแล้วมอบให้แก่ผู้ติดตามของพระสงฆ์ให้เป็นผู้จัดหาสิ่งของให้

การให้ทานของสัตตบุรุษ ประกอบไปด้วย 5 ข้อดังนี้

1. การให้ทานด้วยความศรัทธา คือ ให้ทานด้วยความเต็มใจ และเชื่อว่าผลของกรรมมีอยู่จริง

2. การให้ทานด้วยความเคารพ คือ ให้ทานด้วยกิริยาที่นอบน้อม เลือกของดีมีประโยชน์ให้แก่ผู้รับ

3. การให้ทานตามกาลอันสมควร คือ ให้ทานแก่ผู้ที่ต้องการในเวลาที่เหมาะสม นับว่าเป็นการทำทานที่ไม่สามารถทำได้สม่ำเสมอ พระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นทานที่ให้ผลมาก

4. การให้ทานที่มีจิตอนุเคราะห์ คือ ให้ทานโดยมิได้หวังผลตอบแทน ให้ด้วยความเต็มใจ

5. การให้ทานโดยไม่กระทบตนเองหรือผู้อื่น คือ ให้ทานโดยที่ไม่ได้กระทบต่อคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น ไม่ยกตนข่มผู้ที่ให้ทานน้อยกว่า

     การเลือกสิ่งของที่จะนำมาถวายพระสงฆ์ หากเลือกในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพของท่านย่อมเกิดผลบุญที่ดีกว่าการถวายตามความชอบของผู้วายชนม์ ทานจะบริสุทธิ์ หากใจของผู้ให้นั้นบริสุทธิ์ หลังใส่บาตรอย่าลืมกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา ญาติ ครูบาอาจารย์ เทวดา เปรต และเจ้ากรรมนายเวรด้วย

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

การตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่เป็นประเพณีที่ประชาชนคนไทยทำต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เสริมความเป็นศิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว การเลือกสิ่งของที่จะนำมาใส่บาตรก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ เพราะ #สุขภาพของพระอยู่ในมือโยม นักกำหนดอาหารจึงมีคำแนะนำในการเลือกของที่จะนำมาใส่บาตรดังนี้

การจัดชุดตักบาตรอาหารสด

     ยามนิมนต์พระให้ฉันอาหารควรหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเมนูอาหาร ควรใช้คำพูดเพียง ขอนิมนต์ฉันเช้า หรือขอนิมนต์ฉันเพล (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙”)

1. ข้าว เลือกข้าวไม่ขัดสีหุงสุกใหม่ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดงมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นต้น

2. กับข้าว เลือกกับข้าวที่ปรุงสุกใหม่โดยการ ต้ม นึ่ง ตุ๋น ย่าง และผัดด้วยน้ำมันปริมาณน้อย แทนการทอดหรือแกงกะทิ พยายามเลือกกับข้าวที่มีผัก และเนื้อสัตว์ไม่ติดมันเป็นส่วนประกอบ โดยต้องปรุงให้สุก พยายามหลีกเลี่ยงกับข้าวที่ปรุงประกอบจากของหมักดอง และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ปลากระป๋องในซอสรสชาติต่าง ๆ ปลาเค็ม ไส้กรอก กุนเชียง เพราะมีโซเดียมสูง

เมนูตัวอย่างที่แนะนำ เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มยำปลาน้ำใส น้ำพริกผักต้ม ผัดผัก ผัดขิง ผัดกะเพราหมูชิ้น ยำปลาทูน่าในน้ำแร่ ไข่ต้ม (โดยไข่แดงต้องสุกเท่านั้น) เป็นต้น

3. ผลไม้ หรือขนมหวาน ผลไม้ควรเลือกผลไม้สดมากกว่าผลไม้แปรรูป หากมีเปลือกและเมล็ดควรปอกเปลือกและคว้านหรือแกะเมล็ดให้เรียบร้อย หากเป็นผลไม้ที่ขนาดใหญ่ควรหั่นเป็นชิ้นพอดีคำก่อนถวายให้แด่พระสงฆ์ ขนมหวาน พยายามหลีกเลี่ยงขนมที่มีรสชาติหวานจัด หรือขนมที่มีส่วนประกอบจากกะทิ หากเป็นขนมชิ้นแนะนำให้เลือกชิ้นเล็กหรืออ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง

4. น้ำปานะ เครื่องดื่มที่พระสงฆ์สามารถฉันหลังจากเพลไปแล้ว พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถฉันน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำดอกไม้ได้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มดอกมะทราง น้ำอ้อยสด (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒) เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมีเครื่องดื่มใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งต้องอาศัยการตีความตามพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ส่วนนมสดหรือนมถั่วเหลืองเป็นปานะที่มีการถกเถียงกันในหมู่พระสงฆ์อย่างมาก มหานิกายตีความว่าฉันได้ ธรรมยุตตีความว่าฉันไม่ได้ โดยส่วนมากเป็นพระสายปฏิบัติและเคร่งมาก ๆ เท่านั้นที่จะไม่ฉันน้ำปานะบางชนิด น้ำปานะที่นักกำหนดอาหารแนะนำ ได้แก่ นมวัวรสจืดไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมสูตรหวานน้อย ชากาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น หากต้องการใส่บาตรด้วยน้ำที่มีรสหวานจากการใส่น้ำตาลให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในขนาดเล็กที่สุด และอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง เลือกน้ำปานะเป็นน้ำสูตรหวานน้อย ขนาดบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อให้ท่านสามารถฉันในปริมาณที่เหมาะสมได้

การจัดชุดตักบาตรอาหารแห้ง

     ไม่ควรถวายอาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร อาหารกระป๋องหลังเที่ยงวันกับพระสงฆ์โดยตรง ให้มอบแก่ผู้ติดตามแทน (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗”)

1. ข้าวสาร เดิมพระพุทธเจ้าไม่ให้เก็บไว้ในกุฏิ รวมถึงไม่ให้ทำอาหารฉันเองถือเป็นอาบัติ ควรเก็บวัตถุทานไว้นอกกุฏิและให้ผู้อื่นเป็นผู้ปรุงประกอบอาหารให้ จึงฉันได้ไม่อาบัติ แต่ในภายหลังเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในวงกว้าง พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้เก็บวัตถุทาน และอนุญาตให้ปรุงประกอบอาหารได้ในยามที่จำเป็น (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒) เลือกข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดงมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี แบ่งใส่ถุงที่สามารถปิดสนิท เพื่อรักษาคุณภาพของข้าวให้อยู่ได้นาน (นอกเทศกาลควรบริจาคข้าวสารที่โรงทานของวัดมากกว่า)

2. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พยายามเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อซอง ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง เครื่องดื่มชงกึ่งสำเร็จรูปควรเลือกสูตรน้ำตาลน้อยไม่เกิน 10 กรัมต่อ 1 ซอง ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง (นอกเทศกาลควรบริจาคข้าวสารที่โรงทานของวัดมากกว่า)

3. อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋องและผักกระป๋อง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่บุบหรือมีรอยเปิด ตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุก่อนทุกครั้งผลไม้ กระป๋องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง แนะนำเลือกบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กหรือเลือกเป็นผลไม้สดแทนจะดีกว่า (นอกเทศกาลควรบริจาคที่โรงทานของวัดมากกว่า)

4. เงินสด ตามพระธรรมวินัย การจับต้องเงินเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (อาบัติสถานเบา) (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ “โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘”) หากต้องการบริจาคปัจจัยให้ใส่ซองแล้วมอบให้แก่ผู้ติดตามของพระสงฆ์ให้เป็นผู้จัดหาสิ่งของให้

การให้ทานของสัตตบุรุษ ประกอบไปด้วย 5 ข้อดังนี้

1. การให้ทานด้วยความศรัทธา คือ ให้ทานด้วยความเต็มใจ และเชื่อว่าผลของกรรมมีอยู่จริง

2. การให้ทานด้วยความเคารพ คือ ให้ทานด้วยกิริยาที่นอบน้อม เลือกของดีมีประโยชน์ให้แก่ผู้รับ

3. การให้ทานตามกาลอันสมควร คือ ให้ทานแก่ผู้ที่ต้องการในเวลาที่เหมาะสม นับว่าเป็นการทำทานที่ไม่สามารถทำได้สม่ำเสมอ พระพุทธเจ้าจึงนับว่าเป็นทานที่ให้ผลมาก

4. การให้ทานที่มีจิตอนุเคราะห์ คือ ให้ทานโดยมิได้หวังผลตอบแทน ให้ด้วยความเต็มใจ

5. การให้ทานโดยไม่กระทบตนเองหรือผู้อื่น คือ ให้ทานโดยที่ไม่ได้กระทบต่อคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น ไม่ยกตนข่มผู้ที่ให้ทานน้อยกว่า

     การเลือกสิ่งของที่จะนำมาถวายพระสงฆ์ หากเลือกในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพของท่านย่อมเกิดผลบุญที่ดีกว่าการถวายตามความชอบของผู้วายชนม์ ทานจะบริสุทธิ์ หากใจของผู้ให้นั้นบริสุทธิ์ หลังใส่บาตรอย่าลืมกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา ญาติ ครูบาอาจารย์ เทวดา เปรต และเจ้ากรรมนายเวรด้วย

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง