โรคไข้รากสาดใหญ่ ระวังไว้เมื่อไปเที่ยวป่า

     ในช่วงหน้าหนาวนักท่องเที่ยวมักอยากจะไปกางเต้นท์สัมผัสอากาศเย็น ชมทะเลหมอกสวยๆ ในป่าเขา ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกตัวไรอ่อนที่อาศัยอยู่ในป่ากัด ซึ่งอาจติดเชื้อและป่วยเป็นโรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) ได้

ทำความรู้จักโรคไข้รากสาดใหญ่

     โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ซึ่งมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะ อาศัยอยู่ตามกอไม้กอหญ้าใกล้กับพื้นดิน จะกัดคนหรือสัตว์เพื่อกินน้ำเหลืองเป็นอาหาร โดยตัวไรอ่อนจะไต่ตามยอดหญ้าแล้วกระโดดเกาะตามเสื้อผ้าของคนและกัดผิวหนังที่สัมผัสกับเสื้อผ้า ปกติเราจะมองไม่เห็นตัวไรอ่อนเพราะมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนใหญ่จะกัดที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ รอบเอว

อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่

     หากถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัดประมาณ 10 – 12 วัน จะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น ไอ ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย บริเวณที่ถูกกัดอาจมีผื่นแดงขนาดเล็กค่อยๆ นูนหรือใหญ่ขึ้น อาจพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (Eschar) แต่ไม่ปวดและไม่คัน บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

 

 

การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่

  1. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อที่ปิดคอ เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว
  2. ทายากันยุง ส่วนที่อยู่นอกร่มผ้าให้ทาโลชั่นกันยุงที่มีส่วนผสมของสาร DEET หรือใช้สมุนไพรทากันยุง
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีตัวไรอ่อนชุกชุม ไม่ว่าจะเป็นป่าโปร่ง ป่าละเมาะ บริเวณที่มีการปลูกป่าใหม่หรือตั้งรกรากใหม่ ทุ่งหญ้า ชายป่า หรือบริเวณต้นไม้ใหญ่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง
  4. หลังออกจากป่า แนะนำให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย สระผม และนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดด้วยผงซักฟอกเข้มข้น เพราะตัวไรอ่อนอาจติดมากับร่างกายหรือเสื้อผ้าได้

     หากไปเที่ยวป่าเขากลับมาแล้วมีอาการไข้ หรืออาการข้างต้น ภายใน 2 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการรักษาโดยเร็วช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     ในช่วงหน้าหนาวนักท่องเที่ยวมักอยากจะไปกางเต้นท์สัมผัสอากาศเย็น ชมทะเลหมอกสวยๆ ในป่าเขา ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกตัวไรอ่อนที่อาศัยอยู่ในป่ากัด ซึ่งอาจติดเชื้อและป่วยเป็นโรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) ได้

ทำความรู้จักโรคไข้รากสาดใหญ่

     โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ซึ่งมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะ อาศัยอยู่ตามกอไม้กอหญ้าใกล้กับพื้นดิน จะกัดคนหรือสัตว์เพื่อกินน้ำเหลืองเป็นอาหาร โดยตัวไรอ่อนจะไต่ตามยอดหญ้าแล้วกระโดดเกาะตามเสื้อผ้าของคนและกัดผิวหนังที่สัมผัสกับเสื้อผ้า ปกติเราจะมองไม่เห็นตัวไรอ่อนเพราะมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนใหญ่จะกัดที่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ รอบเอว

อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่

     หากถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัดประมาณ 10 – 12 วัน จะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น ไอ ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย บริเวณที่ถูกกัดอาจมีผื่นแดงขนาดเล็กค่อยๆ นูนหรือใหญ่ขึ้น อาจพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (Eschar) แต่ไม่ปวดและไม่คัน บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

 

 

การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่

  1. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อที่ปิดคอ เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว
  2. ทายากันยุง ส่วนที่อยู่นอกร่มผ้าให้ทาโลชั่นกันยุงที่มีส่วนผสมของสาร DEET หรือใช้สมุนไพรทากันยุง
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีตัวไรอ่อนชุกชุม ไม่ว่าจะเป็นป่าโปร่ง ป่าละเมาะ บริเวณที่มีการปลูกป่าใหม่หรือตั้งรกรากใหม่ ทุ่งหญ้า ชายป่า หรือบริเวณต้นไม้ใหญ่ที่แสงแดดส่องไม่ถึง
  4. หลังออกจากป่า แนะนำให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย สระผม และนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดด้วยผงซักฟอกเข้มข้น เพราะตัวไรอ่อนอาจติดมากับร่างกายหรือเสื้อผ้าได้

     หากไปเที่ยวป่าเขากลับมาแล้วมีอาการไข้ หรืออาการข้างต้น ภายใน 2 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเข้าป่าให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการรักษาโดยเร็วช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง