การรักษามะเร็งตับโดยการให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางสายสวนหลอดเลือด

     โรคมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตปริมาณมากด้วยโรคนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการดื่มแอลกอฮอล์ หากตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งตับก็สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาหลักของโรคมะเร็งตับ คือการผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อตับบางส่วนออก แต่บางกรณีอาจมีผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา (interventional radiology) ได้แก่ การรักษาด้วยการจี้ก้อนเนื้องอก (tumor ablation) และการให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางสายสวนหลอดเลือด (Transarterial chemoembolization; TACE)

 

     TACE คือ วิธีรักษามะเร็งตับชนิดหนึ่ง โดยแพทย์จะฉีดยาเคมีบำบัดเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนมะเร็งโดยตรง จากนั้นจะอุดหลอดเลือดเหล่านั้นเพื่อตัดเส้นทางการเลี้ยงของก้อนมะเร็ง
ทำให้ก้อนมะเร็งขาดเลือดและตายไปในที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือผู้ป่วยที่ต้องการลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วย TACE จะทำซ้ำทุก ๆ 6-8 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเติบโตอีก

 

ขั้นตอนการรักษา

  1. ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง และจะได้รับการตรวจวัดสัญญาณชีพก่อน ระหว่าง และหลังทำการตรวจรักษา เป็นระยะ ๆ
  2. แพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการสอดสายสวน เช่น ขาหนีบขวา หรือข้อมือซ้าย
  3. แพทย์ทำการใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อไปถึงหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนเนื้องอก
  4. ระหว่างตรวจรักษา จะมีการตรวจเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ และอาจได้รับคำสั่งให้ หายใจเข้า/ออก หรือกลั้นหายใจ
  5. ใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง
  6. หลังการตรวจ แพทย์จะนำอุปกรณ์สายสวนออกให้ทั้งหมด และกดแผลให้เลือดหยุดประมาณ 15-30 นาที

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา

  1. หลังการรักษาผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงอีก 6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันเลือดออกที่ขาหนีบและเฝ้า ระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  2. ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ คลื่นไส้ หรือปวดท้องเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 2-3 วัน
  3. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน

 

ข้อบ่งชี้ในการรักษา

  1. ก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดหรือจี้ก้อนเนื้องอกได้
  2. ใช้ลดขนาดก้อนก่อนเข้ารับการผ่าตัดตับ
  3. ใช้ควบคุมก้อนเนื้องอกระหว่างรอรับการรักษาด้วยการเปลี่ยนตับ

 

ข้อห้ามและข้อจำกัดในการรักษา

  1. ผู้ป่วยมะเร็งตับในขั้น Child’s class C
  2. ผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งตับไปอวัยวะอื่น ๆ

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการรักษา

1. ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

  • ไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังทำการตรวจรักษา

2. ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย

  • เลือดออก หรือมีก้อนเลือดบริเวณที่ใส่สายสวน
  • ติดเชื้อ หรือเป็นฝีในตับ
  • ตับวาย

 

     ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรค มักไม่มีอาการผิดปกติ เมื่อก้อนเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน, เบื่ออาหาร, น้ำหนักตัวลดลง, ท้องมาน, ขาบวม, ปัสสาวะมีเหลืองเข้ม, ตาและตัวเหลือง หรือดีซ่าน ถ้าผู้ป่วยมะเร็งตับมาพบแพทย์ด้วยอาการเหล่านี้ มักตรวจพบเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือเป็นมะเร็งในระยะลุกลาม ดังนั้นการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะมีอาการชัดเจน จะสามารถให้การรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ได้ผลดีขึ้น หากไม่แน่ใจหรือสงสัยในความผิดปกติ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดทันที

 

บทความโดย : รศ. นพ. สมราช ธรรมธรวัฒน์

อ้างอิงจาก https://www.sicir.org ศูนย์รังสีร่วมรักษาศิริราช โรงพยาบาลศิริราช

     โรคมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตปริมาณมากด้วยโรคนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการดื่มแอลกอฮอล์ หากตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งตับก็สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาหลักของโรคมะเร็งตับ คือการผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อตับบางส่วนออก แต่บางกรณีอาจมีผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา (interventional radiology) ได้แก่ การรักษาด้วยการจี้ก้อนเนื้องอก (tumor ablation) และการให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางสายสวนหลอดเลือด (Transarterial chemoembolization; TACE)

 

     TACE คือ วิธีรักษามะเร็งตับชนิดหนึ่ง โดยแพทย์จะฉีดยาเคมีบำบัดเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนมะเร็งโดยตรง จากนั้นจะอุดหลอดเลือดเหล่านั้นเพื่อตัดเส้นทางการเลี้ยงของก้อนมะเร็ง
ทำให้ก้อนมะเร็งขาดเลือดและตายไปในที่สุด วิธีนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือผู้ป่วยที่ต้องการลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วย TACE จะทำซ้ำทุก ๆ 6-8 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเติบโตอีก

 

ขั้นตอนการรักษา

  1. ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง และจะได้รับการตรวจวัดสัญญาณชีพก่อน ระหว่าง และหลังทำการตรวจรักษา เป็นระยะ ๆ
  2. แพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการสอดสายสวน เช่น ขาหนีบขวา หรือข้อมือซ้าย
  3. แพทย์ทำการใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อไปถึงหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงก้อนเนื้องอก
  4. ระหว่างตรวจรักษา จะมีการตรวจเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ และอาจได้รับคำสั่งให้ หายใจเข้า/ออก หรือกลั้นหายใจ
  5. ใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง
  6. หลังการตรวจ แพทย์จะนำอุปกรณ์สายสวนออกให้ทั้งหมด และกดแผลให้เลือดหยุดประมาณ 15-30 นาที

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา

  1. หลังการรักษาผู้ป่วยต้องนอนราบบนเตียงอีก 6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันเลือดออกที่ขาหนีบและเฝ้า ระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  2. ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ คลื่นไส้ หรือปวดท้องเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 2-3 วัน
  3. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน

 

ข้อบ่งชี้ในการรักษา

  1. ก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดหรือจี้ก้อนเนื้องอกได้
  2. ใช้ลดขนาดก้อนก่อนเข้ารับการผ่าตัดตับ
  3. ใช้ควบคุมก้อนเนื้องอกระหว่างรอรับการรักษาด้วยการเปลี่ยนตับ

 

ข้อห้ามและข้อจำกัดในการรักษา

  1. ผู้ป่วยมะเร็งตับในขั้น Child’s class C
  2. ผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งตับไปอวัยวะอื่น ๆ

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการรักษา

1. ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

  • ไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังทำการตรวจรักษา

2. ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย

  • เลือดออก หรือมีก้อนเลือดบริเวณที่ใส่สายสวน
  • ติดเชื้อ หรือเป็นฝีในตับ
  • ตับวาย

 

     ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรค มักไม่มีอาการผิดปกติ เมื่อก้อนเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน, เบื่ออาหาร, น้ำหนักตัวลดลง, ท้องมาน, ขาบวม, ปัสสาวะมีเหลืองเข้ม, ตาและตัวเหลือง หรือดีซ่าน ถ้าผู้ป่วยมะเร็งตับมาพบแพทย์ด้วยอาการเหล่านี้ มักตรวจพบเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือเป็นมะเร็งในระยะลุกลาม ดังนั้นการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะมีอาการชัดเจน จะสามารถให้การรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ได้ผลดีขึ้น หากไม่แน่ใจหรือสงสัยในความผิดปกติ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดทันที

 

บทความโดย : รศ. นพ. สมราช ธรรมธรวัฒน์

อ้างอิงจาก https://www.sicir.org ศูนย์รังสีร่วมรักษาศิริราช โรงพยาบาลศิริราช


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง