ถ้าเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่ไม่อยากผ่าตัดจะได้ไหม?

ถ้าเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่ไม่อยากผ่าตัดจะได้ไหม?

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบบ่อยมากถึง 1 ใน 3 ของคนที่มาอัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะส่วนมากแล้วก้อนเหล่านี้มักไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง แต่เป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ไทรอยด์ที่แบ่งตัวมากผิดปกติ

แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่มะเร็ง ก้อนของต่อมไทรอยด์เหล่านี้ก็มักก่อปัญหาให้ผู้ป่วยไม่สบายกาย ไม่สบายใจได้มาก เช่น อาจทำให้คนไข้รู้สึกแน่นที่คอ กลืนอาหารลำบาก ไม่มั่นใจบุคลิกภาพของตนเอง และอาจส่งต่อประสิทธิภาพของการทำงานโดยเฉพาะคนที่ต้องอาศัยบุคลิกภาพ หน้าตาในการประกอบอาชีพ

การรักษา

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดย “การผ่าตัด” เอาก้อนเหล่านี้ออก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นวิธีการรักษาที่ดี แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับการผ่าตัด อาจทำให้ผู้ป่วยกังวลจนไม่กล้าผ่าตัดได้เช่นกัน เพราะการผ่าตัดอาจทำให้มีแผลเป็นขนาดใหญ่พาดผ่านบริเวณหน้าลำคอ ซึ่งดูไม่สวยงามอย่างมาก นอกจากนี้ อาจมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัด หรือมีอาการเสียงแหบจากเส้นเสียงอักเสบหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย เป็นสาเหตุให้คนไข้จำนวนมากทนทุกข์ทรมานกับการมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่ก็ไม่กล้าผ่าตัด

ทางเลือกการรักษา

ในปัจจุบัน ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ สามารถรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่จะใช้เป็นการ “จี้” ด้วยเข็มความร้อนแทนการผ่าตัด

การจี้ด้วยเข็มความร้อน (Thyroid ablation) เป็นวิธีการรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่นิยมมาก ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในต่างประเทศ เช่น ออสเตรีย ออสเตรเลีย เกาหลี อิตาลี และอังกฤษ เพราะสามารถลดขนาดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้มากถึง 80% - 90% ในระยะเวลา 6 - 12 เดือนหลังการรักษา โดยไม่มีรอยแผลผ่าตัดให้ต้องกังวลใจ ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัด เช่น เสียงแหบจากเส้นประสาทอักเสบ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติทันทีหลังการรักษา

ผลข้างเคียง

แม้ว่าตรวจติดตามหลังการรักษาไปแล้ว ขนาดก้อนยังไม่เล็กลงจนถึงระดับที่น่าพอใจ ก็สามารถทำการจี้รักษาซ้ำได้หายห่วง ไม่ต้องกังวลเรื่องพังผืดหรือรอยแผลเป็นหลังการรักษา การจี้ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพมาก ๆ เป็นความหวังในการรักษาให้คนไข้ที่กังวลหรือกลัวผลกระทบจากการผ่าตัด “เพื่อคอที่สวยไร้รอยแผลเป็น”

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. ชินพัฒน์ เลาหชาญวนิชย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เอกซเรย์และรังสีร่วมรักษา ชั้น 1 โซน D

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบบ่อยมากถึง 1 ใน 3 ของคนที่มาอัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะส่วนมากแล้วก้อนเหล่านี้มักไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง แต่เป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ไทรอยด์ที่แบ่งตัวมากผิดปกติ

แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่มะเร็ง ก้อนของต่อมไทรอยด์เหล่านี้ก็มักก่อปัญหาให้ผู้ป่วยไม่สบายกาย ไม่สบายใจได้มาก เช่น อาจทำให้คนไข้รู้สึกแน่นที่คอ กลืนอาหารลำบาก ไม่มั่นใจบุคลิกภาพของตนเอง และอาจส่งต่อประสิทธิภาพของการทำงานโดยเฉพาะคนที่ต้องอาศัยบุคลิกภาพ หน้าตาในการประกอบอาชีพ

การรักษา

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดย “การผ่าตัด” เอาก้อนเหล่านี้ออก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นวิธีการรักษาที่ดี แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับการผ่าตัด อาจทำให้ผู้ป่วยกังวลจนไม่กล้าผ่าตัดได้เช่นกัน เพราะการผ่าตัดอาจทำให้มีแผลเป็นขนาดใหญ่พาดผ่านบริเวณหน้าลำคอ ซึ่งดูไม่สวยงามอย่างมาก นอกจากนี้ อาจมีอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัด หรือมีอาการเสียงแหบจากเส้นเสียงอักเสบหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย เป็นสาเหตุให้คนไข้จำนวนมากทนทุกข์ทรมานกับการมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่ก็ไม่กล้าผ่าตัด

ทางเลือกการรักษา

ในปัจจุบัน ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ สามารถรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่จะใช้เป็นการ “จี้” ด้วยเข็มความร้อนแทนการผ่าตัด

การจี้ด้วยเข็มความร้อน (Thyroid ablation) เป็นวิธีการรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่นิยมมาก ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในต่างประเทศ เช่น ออสเตรีย ออสเตรเลีย เกาหลี อิตาลี และอังกฤษ เพราะสามารถลดขนาดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้มากถึง 80% - 90% ในระยะเวลา 6 - 12 เดือนหลังการรักษา โดยไม่มีรอยแผลผ่าตัดให้ต้องกังวลใจ ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัด เช่น เสียงแหบจากเส้นประสาทอักเสบ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติทันทีหลังการรักษา

ผลข้างเคียง

แม้ว่าตรวจติดตามหลังการรักษาไปแล้ว ขนาดก้อนยังไม่เล็กลงจนถึงระดับที่น่าพอใจ ก็สามารถทำการจี้รักษาซ้ำได้หายห่วง ไม่ต้องกังวลเรื่องพังผืดหรือรอยแผลเป็นหลังการรักษา การจี้ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพมาก ๆ เป็นความหวังในการรักษาให้คนไข้ที่กังวลหรือกลัวผลกระทบจากการผ่าตัด “เพื่อคอที่สวยไร้รอยแผลเป็น”

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. ชินพัฒน์ เลาหชาญวนิชย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เอกซเรย์และรังสีร่วมรักษา ชั้น 1 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง