โรคคอพอกและก้อนที่ต่อมไทรอยด์

โรคคอพอก คืออะไร?

   โรคคอพอก เป็นโรคที่มีต่อมไทรอยด์โตขึ้นหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยอาจพบร่วมกับก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยที่มีคอพอกอาจมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ สูงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติก็ได้ ขึ้นกับสาเหตุของคอพอกในผู้ป่วยแต่ละราย

   สาเหตุของคอพอก ที่พบบ่อยที่สุด คือการขาดสารไอโอดีน โดยผู้ป่วยจะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำร่วมด้วย คอพอกอาจเป็นอาการของโรคไทรอยด์อื่น เช่น ไทรอยด์เป็นพิษชนิดโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s thyroiditis) หรือพบร่วมกับก้อนที่ต่อมไทรอยด์หลายก้อน เป็นต้น

   การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคคอพอกแต่ละชนิด กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคคอพอกร่วมกับตรวจการทำงานไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเพียงปีละ 1-2 ครั้งได้

 

ต่อมไทรอยด์ คืออะไร?

          ต่อมไทรอยด์  เป็นอวัยวะอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ตรงกลางใต้ลูกกระเดือก เคลื่อนไหวตามการกลืน มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีส่วนช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกายทำให้ร่างกายอบอุ่น รวมไปถึงมีส่วนช่วยให้สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่นๆทำงานได้ตามปกติ

การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์ สามารถแบ่งการเกิดโรคได้ 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

1) ร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ กรณีสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากหรือสูงกว่าปกติที่เรียกว่าโรคไทรอยด์เป็นพิษ ส่วนกรณีสร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าหรือต่ำกว่าปกติที่เรียกว่าภาวะพร่องหรือขาดฮอร์โมนไทรอยด์

2) รูปร่างของต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ โดยอาจมีขนาดโตขึ้นหรือตรวจพบก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์ ในผู้ป่วยบางรายจะพบความผิดปกติร่วมกันทั้งการสร้างฮอร์โมนและรูปร่างของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

 

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)

   ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบบ่อย พบได้เท่าๆกันทั้งในเพศชายและเพศหญิง พบได้ในทุกอายุแต่พบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี อาจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้มากถึงร้อยละ 50 สาเหตุส่วนใหญ่ของก้อนที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าร้อยละ 90 ไม่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

   สาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่พบว่าผู้ป่วยที่ขาดธาตุไอโอดีนหรือผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s thyroiditis) จะมีโอกาสพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ร่วมด้วยมากขึ้น

   อาการ  ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มักตรวจพบโดยบังเอิญทั้งจากตัวผู้ป่วยสังเกตพบเองหรือจากแพทย์ตรวจพบ นอกจากนี้ยังตรวจพบจากการทำอัลตราซาวด์ หรือการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กบริเวณลำคอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่บ่งชี้ถึงมะเร็งไทรอยด์ เช่น ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น และมีอาการจากตัวก้อนกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น เหนื่อยง่าย กลืนลำบาก เสียงแหบ เป็นต้น

ชนิดหรือประเภทของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

1. ก้อนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย แบ่งออกได้เป็น

  • ซีสต์หรือถุงน้ำ ซึ่งภายในก้อนนั้นจะมีของเหลวอยู่
  • เนื้องอกชนิดธรรมดา เป็นเนื้องอกที่เกิดภายในเนื้อต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่ขนาดไม่โตมากและไม่ทำให้เกิดการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

2. ก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ไทรอยด์ บางชนิดอาจมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนกดเบียดอวัยวะข้างเคียง หรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆได้

แนวทางการวินิจฉัย

   การแยกชนิดของก้อนที่ต่อมไทรอยด์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจชิ้นเนื้อ โดยการเจาะดูดชิ้นเนื้อของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ด้วยเข็มขนาดเล็ก (Fine Needle Aspiration: FNA) เป็นการตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กดูดเนื้อเยื่อของก้อนที่ต่อมไทรอยด์และนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยเฉพาะในครั้งแรกของการรักษาหรือเมื่อตรวจพบในครั้งแรก

   การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (thyroid ultrasonography) เป็นการตรวจที่มีความสำคัญ เพื่อดูลักษณะในตัวก้อนว่าเป็นของเหลว หรือก้อนเนื้อ ดูลักษณะก้อนที่ต่อมไทรอยด์ว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด และสามารถตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ไม่พบจากการตรวจร่างกายได้

   การตรวจทางห้องปฎิบัติการหรือการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ จะมีผลเลือดการทำงานไทรอยด์เป็นปกติ แต่มีส่วนน้อยที่อาจมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงที่เกิดจากก้อนมีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการบ่งชี้ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ถ้าไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ แต่ในกรณีที่แพทย์สงสัยและตรวจพบว่าฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมทางรังสีนิวเคลียร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สามารถแยกว่าก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อร้ายหรือเป็นมะเร็ง

การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนดังต่อไปนี้

กรณีก้อนไทรอยด์ที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มีการรักษาหลายวิธี ขึ้นกับการพิจารณาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • การเฝ้าติดตามขนาดของก้อนด้วยการตรวจอัลตราซาวด์  โดยอาจตรวจเป็นระยะโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีแรก หรือตรวจทันทีเมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง เช่น ก้อนโตอย่างรวดเร็ว มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตขึ้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องมีการเจาะดูดชิ้นเนื้อ (FNA) เพิ่มเติม
  • การรักษาด้วยการให้ยาฮอร์โมนไทรอยด์ ปัจจุบันไม่แนะนำการรักษาวิธีนี้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสที่ก้อนจะมีขนาดเล็กลงเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
  • การเจาะดูดน้ำจากถุงซีสต์ สามารถทำได้เฉพาะก้อนที่เป็นถุงน้ำเท่านั้น การเจาะดูดจะทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลงได้อย่างรวดเร็ว แต่มีโอกาสเป็นซ้ำหรือก้อนโตขึ้นมาอีกในภายหลังได้

กรณีก้อนไทรอยด์ที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด จำเป็นต้องทำในก้อนที่ตรวจชิ้นเนื้อแล้วสงสัยว่าเป็นมะเร็ง โดยชนิดของการผ่าตัดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย หลังผ่าตัดอาจจำเป็นต้องรักษาต่อด้วยการกลืนแร่รังสีและรับประทานยาไทรอยด์ โดยขึ้นกับชนิดของมะเร็งไทรอยด์นั้นๆ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

โรคคอพอก คืออะไร?

   โรคคอพอก เป็นโรคที่มีต่อมไทรอยด์โตขึ้นหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยอาจพบร่วมกับก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยที่มีคอพอกอาจมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ สูงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติก็ได้ ขึ้นกับสาเหตุของคอพอกในผู้ป่วยแต่ละราย

   สาเหตุของคอพอก ที่พบบ่อยที่สุด คือการขาดสารไอโอดีน โดยผู้ป่วยจะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำร่วมด้วย คอพอกอาจเป็นอาการของโรคไทรอยด์อื่น เช่น ไทรอยด์เป็นพิษชนิดโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s thyroiditis) หรือพบร่วมกับก้อนที่ต่อมไทรอยด์หลายก้อน เป็นต้น

   การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคคอพอกแต่ละชนิด กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคคอพอกร่วมกับตรวจการทำงานไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเพียงปีละ 1 - 2 ครั้งได้

 

ต่อมไทรอยด์ คืออะไร?

          ต่อมไทรอยด์  เป็นอวัยวะอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ตรงกลางใต้ลูกกระเดือก เคลื่อนไหวตามการกลืน มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีส่วนช่วยควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกายทำให้ร่างกายอบอุ่น รวมไปถึงมีส่วนช่วยให้สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่นๆทำงานได้ตามปกติ

การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์ สามารถแบ่งการเกิดโรคได้ 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

1) ร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ กรณีสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากหรือสูงกว่าปกติที่เรียกว่าโรคไทรอยด์เป็นพิษ ส่วนกรณีสร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าหรือต่ำกว่าปกติที่เรียกว่าภาวะพร่องหรือขาดฮอร์โมนไทรอยด์

2) รูปร่างของต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ โดยอาจมีขนาดโตขึ้นหรือตรวจพบก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์ ในผู้ป่วยบางรายจะพบความผิดปกติร่วมกันทั้งการสร้างฮอร์โมนและรูปร่างของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

 

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)

   ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบบ่อย พบได้เท่าๆกันทั้งในเพศชายและเพศหญิง พบได้ในทุกอายุแต่พบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี อาจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้มากถึงร้อยละ 50 สาเหตุส่วนใหญ่ของก้อนที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าร้อยละ 90 ไม่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

   สาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แต่พบว่าผู้ป่วยที่ขาดธาตุไอโอดีนหรือผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s thyroiditis) จะมีโอกาสพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ร่วมด้วยมากขึ้น

   อาการ  ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มักตรวจพบโดยบังเอิญทั้งจากตัวผู้ป่วยสังเกตพบเองหรือจากแพทย์ตรวจพบ นอกจากนี้ยังตรวจพบจากการทำอัลตราซาวด์ หรือการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กบริเวณลำคอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่บ่งชี้ถึงมะเร็งไทรอยด์ เช่น ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น และมีอาการจากตัวก้อนกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น เหนื่อยง่าย กลืนลำบาก เสียงแหบ เป็นต้น

ชนิดหรือประเภทของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

1. ก้อนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย แบ่งออกได้เป็น

  • ซีสต์หรือถุงน้ำ ซึ่งภายในก้อนนั้นจะมีของเหลวอยู่
  • เนื้องอกชนิดธรรมดา เป็นเนื้องอกที่เกิดภายในเนื้อต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่ขนาดไม่โตมากและไม่ทำให้เกิดการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

2. ก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ไทรอยด์ บางชนิดอาจมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนกดเบียดอวัยวะข้างเคียง หรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆได้

แนวทางการวินิจฉัย

   การแยกชนิดของก้อนที่ต่อมไทรอยด์จำเป็นต้องอาศัยการตรวจชิ้นเนื้อ โดยการเจาะดูดชิ้นเนื้อของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ด้วยเข็มขนาดเล็ก (Fine Needle Aspiration: FNA) เป็นการตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กดูดเนื้อเยื่อของก้อนที่ต่อมไทรอยด์และนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยเฉพาะในครั้งแรกของการรักษาหรือเมื่อตรวจพบในครั้งแรก

   การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (thyroid ultrasonography) เป็นการตรวจที่มีความสำคัญ เพื่อดูลักษณะในตัวก้อนว่าเป็นของเหลว หรือก้อนเนื้อ ดูลักษณะก้อนที่ต่อมไทรอยด์ว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด และสามารถตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ไม่พบจากการตรวจร่างกายได้

   การตรวจทางห้องปฎิบัติการหรือการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ จะมีผลเลือดการทำงานไทรอยด์เป็นปกติ แต่มีส่วนน้อยที่อาจมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงที่เกิดจากก้อนมีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการบ่งชี้ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ถ้าไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ แต่ในกรณีที่แพทย์สงสัยและตรวจพบว่าฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมทางรังสีนิวเคลียร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สามารถแยกว่าก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อร้ายหรือเป็นมะเร็ง

การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนดังต่อไปนี้

กรณีก้อนไทรอยด์ที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มีการรักษาหลายวิธี ขึ้นกับการพิจารณาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • การเฝ้าติดตามขนาดของก้อนด้วยการตรวจอัลตราซาวด์  โดยอาจตรวจเป็นระยะโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีแรก หรือตรวจทันทีเมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง เช่น ก้อนโตอย่างรวดเร็ว มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตขึ้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องมีการเจาะดูดชิ้นเนื้อ (FNA) เพิ่มเติม
  • การรักษาด้วยการให้ยาฮอร์โมนไทรอยด์ ปัจจุบันไม่แนะนำการรักษาวิธีนี้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสที่ก้อนจะมีขนาดเล็กลงเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
  • การเจาะดูดน้ำจากถุงซีสต์ สามารถทำได้เฉพาะก้อนที่เป็นถุงน้ำเท่านั้น การเจาะดูดจะทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลงได้อย่างรวดเร็ว แต่มีโอกาสเป็นซ้ำหรือก้อนโตขึ้นมาอีกในภายหลังได้

กรณีก้อนไทรอยด์ที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด จำเป็นต้องทำในก้อนที่ตรวจชิ้นเนื้อแล้วสงสัยว่าเป็นมะเร็ง โดยชนิดของการผ่าตัดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย หลังผ่าตัดอาจจำเป็นต้องรักษาต่อด้วยการกลืนแร่รังสีและรับประทานยาไทรอยด์ โดยขึ้นกับชนิดของมะเร็งไทรอยด์นั้นๆ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง