กินยาให้ครบวัณโรคหายขาด

   วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis นอกจากจะทำให้เกิดวัณโรคปอดแล้ว ยังส่งผลให้เกิดวัณโรคกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อ ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น วัณโรคสามารถรักษาได้ด้วยการกินยารักษาวัณโรค หากผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การติดต่อ

    เชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจรับเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในละอองฝอย ขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม บ้วนน้ำลาย ขากเสมหะ หรือการใช้เสียง เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่น ๆ จะถูกทำลายไปได้ง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ดังนั้น สมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดวัณโรค

  1. สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคได้ง่าย
  2. ผู้เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเอดส์ หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  3. ระยะเวลาและความใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #โรควัณโรค #อาการวัณโรค #ไอเรื้อรัง #ไอเป็นเลือด #ไอปนเลือด #วัณโรคปอด #รักษาวัณโรค #วัณโรค ติดต่อได้อย่างไร #ปัจจัยเสี่ยงวัณโรค #อาการวัณโรค #ยารักษาวัณโรค

อาการของผู้ป่วยวัณโรค

ในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะอาการเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นวัณโรค อาการที่พบได้แก่

  • มีไข้เรื้อรังต่ำ ๆ มักจะเป็นตอนเย็นหรือบ่าย บางรายอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์ อาจมีเลือดออกร่วมได้

แนวทางการรักษา

    แม้วัณโรคจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด ดังนั้น เป้าหมายสำคัญในการรักษา คือ การรักษาให้หายขาดเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค

  • ผู้ป่วยวัณโรคมีระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 6 เดือน โดย 2 เดือนแรกต้องรับประทานยา 4 ชนิด เช่น isoniazid, rifampicin, pyrazinamide, ethambutol
  • เมื่อรักษาครบ 2 เดือนแพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดีแพทย์จะลดยาเหลือ 2 ชนิด และให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยวัณโรค

ข้อควรปฏิบัติ

  • ต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์กำหนด หลังได้รับการรักษาไปแล้ว 2 - 4 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมักเข้าใจผิดว่ารักษาหายแล้วจึงไม่รับประทานยาต่อ แต่ในความเป็นจริงการรับประทานยาไม่ครบตามกำหนดไม่สามารถรักษาให้หายได้และทำให้เชื้อดื้อยา ส่งผลให้การรักษายากขึ้นหรือรักษาไม่ได้เลย
  • แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่คือก่อนนอน ห้ามแบ่งรับประทานยาหลายเวลาตามมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ระดับยาในการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
  • หลังรับประทานยาหากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นคัน ให้ติดตามผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้หยุดยาทั้งหมดแล้วรีบมาพบแพทย์
  • ในช่วงแรกของการรักษาผู้ป่วยควรแยกห้องนอนและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น หลังรับประทานยาแล้ว 2 สัปดาห์ สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ
  • ขณะไอหรือจามต้องใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือถุงที่ปิดมิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน และออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสม
  • ควรอยู่ในสถานที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้องมีลักษณะโปร่ง โล่ง มีหน้าต่าง

ข้อควรหลีกเลี่ยง

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบจากยาและผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือการเดินทางด้วยยานพาหนะร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลานานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างรักษาวัณโรค เลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะจะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C

   วัณโรค (Tuberculosis) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis นอกจากจะทำให้เกิดวัณโรคปอดแล้ว ยังส่งผลให้เกิดวัณโรคกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อ ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น วัณโรคสามารถรักษาได้ด้วยการกินยารักษาวัณโรค หากผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การติดต่อ

    เชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจรับเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในละอองฝอย ขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม บ้วนน้ำลาย ขากเสมหะ หรือการใช้เสียง เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปได้ง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ดังนั้น สมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดวัณโรค

  1. สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคได้ง่าย
  2. ผู้เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเอดส์ หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  3. ระยะเวลาและความใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #โรควัณโรค #อาการวัณโรค #ไอเรื้อรัง #ไอเป็นเลือด #ไอปนเลือด #วัณโรคปอด #รักษาวัณโรค #วัณโรค ติดต่อได้อย่างไร #ปัจจัยเสี่ยงวัณโรค #อาการวัณโรค #ยารักษาวัณโรค

อาการของผู้ป่วยวัณโรค

ในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะอาการเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นวัณโรค อาการที่พบได้แก่

  • มีไข้เรื้อรังต่ำ ๆ มักจะเป็นตอนเย็นหรือบ่าย บางรายอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์ อาจมีเลือดออกร่วมได้

แนวทางการรักษา

    แม้วัณโรคจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด ดังนั้น เป้าหมายสำคัญในการรักษา คือ การรักษาให้หายขาดเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค

  • ผู้ป่วยวัณโรคมีระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 6 เดือน โดย 2 เดือนแรกต้องรับประทานยา 4 ชนิด เช่น isoniazid, rifampicin, pyrazinamide, ethambutol
  • เมื่อรักษาครบ 2 เดือนแพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดีแพทย์จะลดยาเหลือ 2 ชนิด และให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยวัณโรค

ข้อควรปฏิบัติ

  • ต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์กำหนด หลังได้รับการรักษาไปแล้ว 2 - 4 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมักเข้าใจผิดว่ารักษาหายแล้วจึงไม่รับประทานยาต่อ แต่ในความเป็นจริงการรับประทานยาไม่ครบตามกำหนดไม่สามารถรักษาให้หายได้และทำให้เชื้อดื้อยา ส่งผลให้การรักษายากขึ้นหรือรักษาไม่ได้เลย
  • แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่คือก่อนนอน ห้ามแบ่งรับประทานยาหลายเวลาตามมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ระดับยาในการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
  • หลังรับประทานยาหากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นคัน ให้ติดตามผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้หยุดยาทั้งหมดแล้วรีบมาพบแพทย์
  • ในช่วงแรกของการรักษาผู้ป่วยควรแยกห้องนอนและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น หลังรับประทานยาแล้ว 2 สัปดาห์ สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ
  • ขณะไอหรือจามต้องใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือถุงที่ปิดมิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน และออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสม
  • ควรอยู่ในสถานที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้องมีลักษณะโปร่ง โล่ง มีหน้าต่าง

ข้อควรหลีกเลี่ยง

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบจากยาและผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือการเดินทางด้วยยานพาหนะร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลานานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างรักษาวัณโรค เลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะจะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง