ภาวะวุ้นตาเสื่อม ดูแลได้

    วุ้นตา (Vitreous) เป็นส่วนประกอบภายในดวงตา มีลักษณะเป็นวุ้นเหลวใสคล้ายไข่ขาวอยู่หลังเลนส์ตายึดติดกับผิวจอตา ภาวะวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น และอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติในผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา วุ้นตาที่เสื่อมจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมจะหักเหทำให้เห็นเป็นเงาดำลักษณะเป็นจุดและเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา

 

ส่วนประกอบของดวงตา

1. ม่านตา                         6. เยื่อตาขาว

2. รูม่านตา                        7. จอตา

3. กระจกตา                       8. จุดภาพชัด

4. ช่องหน้าตา                     9. เส้นประสาทตา

5. เลนส์ตา                        10. วุ้นตา 

อาการของโรควุ้นตาเสื่อม

  • ·เริ่มมองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา หรือมองที่ผนังสีขาว หรือท้องฟ้า
  • ·ระยะแรกจะสังเกตเห็นเงาของวุ้นตาที่เสื่อมเป็นจุดและเส้นดำลอย ซึ่งจะเคลื่อนไหวเมื่อกลอกตา อาจรบกวนการมองและรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสมองจะเรียนรู้และละเลยเงาเหล่านี้ไปเอง อาจไม่เห็นหากไม่พยายามสังเกต
  • ·เมื่อวุ้นตาเหลวและหดตัวมาก อาจจะลอกตัวออกจากผิวจอตาเอง และอาจดึงรั้งผิวจอตาทำให้เกิดการกระตุ้นจอตาเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจลดลงและหายไปเมื่อจอตาถูกดึงรั้งจากวุ้นตาลดลง
  • ·ในบางรายวุ้นตาอาจดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตาให้ฉีดขาดและเกิดเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งถ้าวุ้นตาติดแน่นกับจอตามากอาจดึงรั้งให้จอตาฉีกขาดได้ และหากวุ้นตาที่เหลวเซาะเข้าไปในรอยขาด จะทำให้จอตาลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นได้

การดูแลภาวะวุ้นตาเสื่อม

    ผู้ที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยหรือแสงแฟลชในตาควรพบจักษุแพทย์เพื่อขยายรูม่านตาและตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด หลังหยอดยาขยายม่านตาจะมีอาการตาพร่า และจะกลับเป็นปกติเมื่อยาหมดฤทธิ์ใน 4-6 ชั่วโมง

    ภาวะวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องรักษา ควรติดตามสังเกตอาการซึ่งอาจจะค่อยๆ ลดลงได้เอง ควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการดึงรั้งจอตา เช่น การสะบัดศีรษะอย่างรุนแรงและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา จักษุแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยง หากอาการไม่ลดลงและตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยป้องกันจอตาลอกได้  อย่างไรก็ตาม การเห็นเงาดำอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

    วุ้นตา (Vitreous) เป็นส่วนประกอบภายในดวงตา มีลักษณะเป็นวุ้นเหลวใสคล้ายไข่ขาวอยู่หลังเลนส์ตายึดติดกับผิวจอตา ภาวะวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น และอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติในผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา วุ้นตาที่เสื่อมจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมจะหักเหทำให้เห็นเป็นเงาดำลักษณะเป็นจุดและเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา

 

ส่วนประกอบของดวงตา

1. ม่านตา                         6. เยื่อตาขาว

2. รูม่านตา                        7. จอตา

3. กระจกตา                       8. จุดภาพชัด

4. ช่องหน้าตา                     9. เส้นประสาทตา

5. เลนส์ตา                        10. วุ้นตา 

อาการของโรควุ้นตาเสื่อม

  • ·เริ่มมองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา หรือมองที่ผนังสีขาว หรือท้องฟ้า
  • ·ระยะแรกจะสังเกตเห็นเงาของวุ้นตาที่เสื่อมเป็นจุดและเส้นดำลอย ซึ่งจะเคลื่อนไหวเมื่อกลอกตา อาจรบกวนการมองและรู้สึกรำคาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสมองจะเรียนรู้และละเลยเงาเหล่านี้ไปเอง อาจไม่เห็นหากไม่พยายามสังเกต
  • ·เมื่อวุ้นตาเหลวและหดตัวมาก อาจจะลอกตัวออกจากผิวจอตาเอง และอาจดึงรั้งผิวจอตาทำให้เกิดการกระตุ้นจอตาเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืน อาการเหล่านี้อาจลดลงและหายไปเมื่อจอตาถูกดึงรั้งจากวุ้นตาลดลง
  • ·ในบางรายวุ้นตาอาจดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตาให้ฉีดขาดและเกิดเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งถ้าวุ้นตาติดแน่นกับจอตามากอาจดึงรั้งให้จอตาฉีกขาดได้ และหากวุ้นตาที่เหลวเซาะเข้าไปในรอยขาด จะทำให้จอตาลอกและอาจสูญเสียการมองเห็นได้

การดูแลภาวะวุ้นตาเสื่อม

    ผู้ที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยหรือแสงแฟลชในตาควรพบจักษุแพทย์เพื่อขยายรูม่านตาและตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด หลังหยอดยาขยายม่านตาจะมีอาการตาพร่า และจะกลับเป็นปกติเมื่อยาหมดฤทธิ์ใน 4-6 ชั่วโมง

    ภาวะวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องรักษา ควรติดตามสังเกตอาการซึ่งอาจจะค่อยๆ ลดลงได้เอง ควรตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการดึงรั้งจอตา เช่น การสะบัดศีรษะอย่างรุนแรงและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา จักษุแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยง หากอาการไม่ลดลงและตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยป้องกันจอตาลอกได้  อย่างไรก็ตาม การเห็นเงาดำอาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง