รักษา “หูด” อย่างไรให้หายขาด

หูด เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เกิดการถลอก มีรอยขีดข่วน การเสียดสีมีแผล การสัมผัสกับบริเวณผิวหนังที่เป็นหูดหรือการหยิบจับของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ รวมทั้งการแกะเกา ทำให้เกิดการแพร่กระจายของหูดไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น ซึ่งหูดเกิดได้ตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย

หูด มีกี่ลักษณะ?

     ลักษณะของรอยโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและบริเวณที่เป็น สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

     1. หูดธรรมดา ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด

     2. หูดผิวเรียบ ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง

     3. หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ

     4. หูดที่อวัยวะเพศ ลักษณะเป็นตุ่มนูนสูงคล้ายหงอนไก่ พบบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ

     5. หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็ก ๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

#ศูนย์ผิวหนัง #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์ #หูดหงอนไก่ #หูดข้าวสุก #หูดที่เท้า #หูดเกิดจากอะไร #หูดที่มือ #หูดที่หน้า #หูดที่ลิ้น #หูด #หูด หงอนไก่ #หูดตาปลา #หูดรักษายังไง #หูดที่คอ #หูดรักษาอย่างไรดี #หูดติดต่อทางไหน #หูดติดต่ออย่างไร

วิธีการรักษาหูด

     1. การทายา ยาที่ใช้จะเป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก แต่การรักษาหูดด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือบางรายหลายเดือนกว่าจะหาย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรทายาด้วยตนเอง

     2. การจี้ด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับหูดขนาดไม่ใหญ่มาก โดยระหว่างจี้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือแสบ ต่อมาบริเวณที่จี้อาจจะพองเป็นตุ่มน้ำและใหญ่ขึ้นเป็นถุงน้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ แห้งลงและตกสะเก็ด และจะหายภายใน 1 - 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องจี้ซ้ำหลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

     3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี แต่อาจทำให้มีแผลเป็นได้

     4. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้จะใช้เลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ซึ่งได้ผลดีแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

     5. การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก ใช้สำหรับหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

     6. การทายาเพื่อกระตุ้นภูมิ (DCP) ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผลหรือหูดมีปริมาณมาก การรักษาใช้เวลาหลายเดือนและต้องมาทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

การป้องกันการเกิดหูด

     “หูดสามารถรักษาให้หายได้ แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานเป็นเดือนหรือปี แม้รักษาหายก็ยังกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะฉะนั้นจึงควรรีบรักษาและการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของหูด”

     1. หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายไปบริเวณอื่นของร่างกาย และแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

     2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง

     3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นหูดหงอนไก่

     4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อหูดทางเพศสัมพันธ์บางสายพันธุ์ได้ ปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

ข้อมูลจาก นพ. สิทธิโรจน์ อรุณขจรศักดิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

หูด เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนังและทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เกิดการถลอก มีรอยขีดข่วน การเสียดสีมีแผล การสัมผัสกับบริเวณผิวหนังที่เป็นหูดหรือการหยิบจับของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ รวมทั้งการแกะเกา ทำให้เกิดการแพร่กระจายของหูดไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น ซึ่งหูดเกิดได้ตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย

หูด มีกี่ลักษณะ?

     ลักษณะของรอยโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและบริเวณที่เป็น สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

     1. หูดธรรมดา ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด

     2. หูดผิวเรียบ ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง

     3. หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ

     4. หูดที่อวัยวะเพศ ลักษณะเป็นตุ่มนูนสูงคล้ายหงอนไก่ พบบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ

     5. หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็ก ๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

#ศูนย์ผิวหนัง #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์ #หูดหงอนไก่ #หูดข้าวสุก #หูดที่เท้า #หูดเกิดจากอะไร #หูดที่มือ #หูดที่หน้า #หูดที่ลิ้น #หูด #หูด หงอนไก่ #หูดตาปลา #หูดรักษายังไง #หูดที่คอ #หูดรักษาอย่างไรดี #หูดติดต่อทางไหน #หูดติดต่ออย่างไร

วิธีการรักษาหูด

     1. การทายา ยาที่ใช้จะเป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก แต่การรักษาหูดด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือบางรายหลายเดือนกว่าจะหาย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรทายาด้วยตนเอง

     2. การจี้ด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับหูดขนาดไม่ใหญ่มาก โดยระหว่างจี้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือแสบ ต่อมาบริเวณที่จี้อาจจะพองเป็นตุ่มน้ำและใหญ่ขึ้นเป็นถุงน้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ แห้งลงและตกสะเก็ด และจะหายภายใน 1 - 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องจี้ซ้ำหลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

     3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี แต่อาจทำให้มีแผลเป็นได้

     4. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้จะใช้เลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ซึ่งได้ผลดีแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

     5. การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก ใช้สำหรับหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

     6. การทายาเพื่อกระตุ้นภูมิ (DCP) ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผลหรือหูดมีปริมาณมาก การรักษาใช้เวลาหลายเดือนและต้องมาทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

การป้องกันการเกิดหูด

     “หูดสามารถรักษาให้หายได้ แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานเป็นเดือนหรือปี แม้รักษาหายก็ยังกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะฉะนั้นจึงควรรีบรักษาและการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของหูด”

     1. หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายไปบริเวณอื่นของร่างกาย และแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

     2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง

     3. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นหูดหงอนไก่

     4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อหูดทางเพศสัมพันธ์บางสายพันธุ์ได้ ปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

ข้อมูลจาก นพ. สิทธิโรจน์ อรุณขจรศักดิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง