ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ (Trochanteric Bursititis)

     ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ คือการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่ทางด้านนอกของกระดูกสะโพก ทำให้เกิดการปวดในข้อสะโพก ซึ่งภาวะนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของการปวดสะโพก

สาเหตุ

ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้

  1. การกระทบกระแทกบริเวณสะโพกโดยตรงจากอุบัติเหตุ หรือจากการนอนตะแคงทับบริเวณสะโพกเป็นเวลานาน
  2. กิจวัตรประจำวันหรือการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การวิ่งขึ้นบันได การปีนขึ้นหรือเดินขึ้นที่ชัน หรือการยืนเป็นระยะเวลานาน
  3. กายวิภาคที่ผิดปกติ เช่นภาวะกระดูกสันหลังคด ภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ภาวะข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งจะทำให้มีแรงดึงผิดปกติบริเวณกล้าเนื้อสะโพก
  4. ภาวะโรคอื่นๆเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาท์ โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ หรือการติดเชื้อซึ่งพบได้น้อย
  5. เคยผ่าตัดมาก่อน หรือมีข้อสะโพกเทียม
  6. มีกระดูกงอก หรือมีแคลเซียมเกาะเอ็นบริเวณถุงน้ำข้างสะโพก

อาการและอาการแสดง

          ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของข้อสะโพก และต้นขา เจ็บตอนนอนตะแคงทับ ปวดในบางท่าเช่นการลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย การลงจากรถ หรือการก้าวขึ้นบันได

 

การรักษา

          เป้าหมายคือลดความเจ็บปวดให้สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ และป้องกันการเกิดซ้ำ โดยวิธีการต่างๆเช่น

  • ยา NSAIDs เช่น Brufen Naproxen Voltaren COX-2 inhibitors.
  • การฉีดยา steroid บริเวณถุงน้ำที่อักเสบ
  • กายภาพบำบัด การประคบเย็นบริเวณที่ปวด
  • ผ่าตัด เมื่อวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล

 

การป้องกัน

          ลดความเข้มข้นของกิจกรรมที่อาจเป็นสาเหตุ เช่นการวิ่งขึ้นที่ชันมากเกินไป หรือการวิ่งที่ผิดท่า การตะแคงทับเป็นเวลานาน ถ้ามีสาเหตุทางกายวิภาคเช่นขาสั้นยาวไม่เท่ากัน อาจต้องแก้ไขโดยการเสริมรองเท้า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น2 โซน A หรือโทร 1474

ข้อมูลโดย นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์

     ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ คือการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่ทางด้านนอกของกระดูกสะโพก ทำให้เกิดการปวดในข้อสะโพก ซึ่งภาวะนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของการปวดสะโพก

สาเหตุ

ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้

  1. การกระทบกระแทกบริเวณสะโพกโดยตรงจากอุบัติเหตุ หรือจากการนอนตะแคงทับบริเวณสะโพกเป็นเวลานาน
  2. กิจวัตรประจำวันหรือการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การวิ่งขึ้นบันได การปีนขึ้นหรือเดินขึ้นที่ชัน หรือการยืนเป็นระยะเวลานาน
  3. กายวิภาคที่ผิดปกติ เช่นภาวะกระดูกสันหลังคด ภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ภาวะข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งจะทำให้มีแรงดึงผิดปกติบริเวณกล้าเนื้อสะโพก
  4. ภาวะโรคอื่นๆเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาท์ โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ หรือการติดเชื้อซึ่งพบได้น้อย
  5. เคยผ่าตัดมาก่อน หรือมีข้อสะโพกเทียม
  6. มีกระดูกงอก หรือมีแคลเซียมเกาะเอ็นบริเวณถุงน้ำข้างสะโพก

อาการและอาการแสดง

          ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของข้อสะโพก และต้นขา เจ็บตอนนอนตะแคงทับ ปวดในบางท่าเช่นการลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย การลงจากรถ หรือการก้าวขึ้นบันได

 

การรักษา

          เป้าหมายคือลดความเจ็บปวดให้สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ และป้องกันการเกิดซ้ำ โดยวิธีการต่างๆเช่น

  • ยา NSAIDs เช่น Brufen Naproxen Voltaren COX-2 inhibitors.
  • การฉีดยา steroid บริเวณถุงน้ำที่อักเสบ
  • กายภาพบำบัด การประคบเย็นบริเวณที่ปวด
  • ผ่าตัด เมื่อวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล

 

การป้องกัน

          ลดความเข้มข้นของกิจกรรมที่อาจเป็นสาเหตุ เช่นการวิ่งขึ้นที่ชันมากเกินไป หรือการวิ่งที่ผิดท่า การตะแคงทับเป็นเวลานาน ถ้ามีสาเหตุทางกายวิภาคเช่นขาสั้นยาวไม่เท่ากัน อาจต้องแก้ไขโดยการเสริมรองเท้า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น2 โซน A หรือโทร 1474

ข้อมูลโดย นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง