
ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ (Trochanteric Bursititis)
ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ คือการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่ทางด้านนอกของกระดูกสะโพก ทำให้เกิดการปวดในข้อสะโพก ซึ่งภาวะนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของการปวดสะโพก
สาเหตุ
ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้
- การกระทบกระแทกบริเวณสะโพกโดยตรงจากอุบัติเหตุ หรือจากการนอนตะแคงทับบริเวณสะโพกเป็นเวลานาน
- กิจวัตรประจำวันหรือการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การวิ่งขึ้นบันได การปีนขึ้นหรือเดินขึ้นที่ชัน หรือการยืนเป็นระยะเวลานาน
- กายวิภาคที่ผิดปกติ เช่นภาวะกระดูกสันหลังคด ภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ภาวะข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งจะทำให้มีแรงดึงผิดปกติบริเวณกล้าเนื้อสะโพก
- ภาวะโรคอื่นๆเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาท์ โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ หรือการติดเชื้อซึ่งพบได้น้อย
- เคยผ่าตัดมาก่อน หรือมีข้อสะโพกเทียม
- มีกระดูกงอก หรือมีแคลเซียมเกาะเอ็นบริเวณถุงน้ำข้างสะโพก
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของข้อสะโพก และต้นขา เจ็บตอนนอนตะแคงทับ ปวดในบางท่าเช่นการลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย การลงจากรถ หรือการก้าวขึ้นบันได
การรักษา
เป้าหมายคือลดความเจ็บปวดให้สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ และป้องกันการเกิดซ้ำ โดยวิธีการต่างๆเช่น
- ยา NSAIDs เช่น Brufen Naproxen Voltaren COX-2 inhibitors.
- การฉีดยา steroid บริเวณถุงน้ำที่อักเสบ
- กายภาพบำบัด การประคบเย็นบริเวณที่ปวด
- ผ่าตัด เมื่อวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ลดความเข้มข้นของกิจกรรมที่อาจเป็นสาเหตุ เช่นการวิ่งขึ้นที่ชันมากเกินไป หรือการวิ่งที่ผิดท่า การตะแคงทับเป็นเวลานาน ถ้ามีสาเหตุทางกายวิภาคเช่นขาสั้นยาวไม่เท่ากัน อาจต้องแก้ไขโดยการเสริมรองเท้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น2 โซน A หรือโทร 1474
ข้อมูลโดย นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์
ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบ คือการอักเสบของถุงน้ำที่อยู่ทางด้านนอกของกระดูกสะโพก ทำให้เกิดการปวดในข้อสะโพก ซึ่งภาวะนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของการปวดสะโพก
สาเหตุ
ภาวะถุงน้ำข้างสะโพกอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งต่อไปนี้
- การกระทบกระแทกบริเวณสะโพกโดยตรงจากอุบัติเหตุ หรือจากการนอนตะแคงทับบริเวณสะโพกเป็นเวลานาน
- กิจวัตรประจำวันหรือการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การวิ่งขึ้นบันได การปีนขึ้นหรือเดินขึ้นที่ชัน หรือการยืนเป็นระยะเวลานาน
- กายวิภาคที่ผิดปกติ เช่นภาวะกระดูกสันหลังคด ภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ภาวะข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งจะทำให้มีแรงดึงผิดปกติบริเวณกล้าเนื้อสะโพก
- ภาวะโรคอื่นๆเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาท์ โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ หรือการติดเชื้อซึ่งพบได้น้อย
- เคยผ่าตัดมาก่อน หรือมีข้อสะโพกเทียม
- มีกระดูกงอก หรือมีแคลเซียมเกาะเอ็นบริเวณถุงน้ำข้างสะโพก
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของข้อสะโพก และต้นขา เจ็บตอนนอนตะแคงทับ ปวดในบางท่าเช่นการลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย การลงจากรถ หรือการก้าวขึ้นบันได
การรักษา
เป้าหมายคือลดความเจ็บปวดให้สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ และป้องกันการเกิดซ้ำ โดยวิธีการต่างๆเช่น
- ยา NSAIDs เช่น Brufen Naproxen Voltaren COX-2 inhibitors.
- การฉีดยา steroid บริเวณถุงน้ำที่อักเสบ
- กายภาพบำบัด การประคบเย็นบริเวณที่ปวด
- ผ่าตัด เมื่อวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ลดความเข้มข้นของกิจกรรมที่อาจเป็นสาเหตุ เช่นการวิ่งขึ้นที่ชันมากเกินไป หรือการวิ่งที่ผิดท่า การตะแคงทับเป็นเวลานาน ถ้ามีสาเหตุทางกายวิภาคเช่นขาสั้นยาวไม่เท่ากัน อาจต้องแก้ไขโดยการเสริมรองเท้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น2 โซน A หรือโทร 1474
ข้อมูลโดย นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์