ความดันตาสูง เสี่ยงโรคต้อหิน
ต้อหินคืออะไร?
ต้อหิน คือ ภาวะที่ทำให้มีการเสื่อมของขั้วตาซึ่งอยู่ภายในลูกตา การเสื่อมนี้จะส่งผลต่อการมองเห็นบริเวณรอบนอกก่อนทำให้สังเกตได้ยาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาลานสายตาจะค่อย ๆ แคบลง จนมีผลต่อการมองเห็นตรงกลางทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองต้อหินจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน
ความดันตา หมายถึง ความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในลูกตา โดยทั่วไปค่าความดันตาโดยเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 13.3 มิลลิเมตรปรอท และโดยทั่วไปไม่เกิน 22 มิลลิเมตรปรอท หากพบความดันตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นภาวะความดันตาสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน อย่างไรก็ดีมีผู้ป่วยต้อหินอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความดันตาปกติ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน
- ความดันตาสูง
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีสายตาสั้น
- มีประวัติการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดต่างๆ เป็นเวลานาน
- เป็นโรคเบาหวาน
- เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดดวงตามาก่อน
- ขั้วตาใหญ่
การตรวจคัดกรองต้อหิน ประกอบด้วย
1. การตรวจการมองเห็น และวัดความดันตา
2. การตรวจตาด้วยเครื่อง Slit lamp microscope
3. การตรวจขั้วตา
4. การตรวจพิเศษต่างๆเพื่อช่วยวินิจฉัยต้อหิน ขึ้นกับแพทย์เป็นผู้พิจารณา
การรักษาต้อหิน
โดยทั่วไป การรักษาต้อหินเป็นการลดความดันตาด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยา เลเซอร์ และการผ่าตัด ซึ่งต้อหินแบบมุมปิด อาจมีการใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อทำให้มุมตากว้างขึ้น หรือลดโอกาสการเกิดต้อหินฉับพลันด้วย
1.การใช้ยา โดยทั่วไปใช้เป็นยาหยอด เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ลดโอกาสที่ขั้วตาจะมีการเสื่อมมากขึ้น ยารับประทานจะใช้ในบางกรณีโดยแพทย์เป็นผู้พิจารณา
2. เลเซอร์ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์ ซึ่งขึ้นกับชนิดของต้อหิน โดยจักษุแพทย์เป็นผู้พิจารณา
3. การผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายที่ต้อหินที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
บทความโดย: ผศ. พญ. สกาวรัตน์ เพ็ชร์ยิ้ม
สอบถามข้ออมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
ต้อหินคืออะไร?
ต้อหิน คือ ภาวะที่ทำให้มีการเสื่อมของขั้วตาซึ่งอยู่ภายในลูกตา การเสื่อมนี้จะส่งผลต่อการมองเห็นบริเวณรอบนอกก่อนทำให้สังเกตได้ยาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาลานสายตาจะค่อย ๆ แคบลง จนมีผลต่อการมองเห็นตรงกลางทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองต้อหินจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน
ความดันตา หมายถึง ความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในลูกตา โดยทั่วไปค่าความดันตาโดยเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 13.3 มิลลิเมตรปรอท และโดยทั่วไปไม่เกิน 22 มิลลิเมตรปรอท หากพบความดันตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นภาวะความดันตาสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน อย่างไรก็ดีมีผู้ป่วยต้อหินอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความดันตาปกติ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิน
- ความดันตาสูง
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีสายตาสั้น
- มีประวัติการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดต่างๆ เป็นเวลานาน
- เป็นโรคเบาหวาน
- เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือเคยผ่าตัดดวงตามาก่อน
- ขั้วตาใหญ่
การตรวจคัดกรองต้อหิน ประกอบด้วย
1. การตรวจการมองเห็น และวัดความดันตา
2. การตรวจตาด้วยเครื่อง Slit lamp microscope
3. การตรวจขั้วตา
4. การตรวจพิเศษต่างๆเพื่อช่วยวินิจฉัยต้อหิน ขึ้นกับแพทย์เป็นผู้พิจารณา
การรักษาต้อหิน
โดยทั่วไป การรักษาต้อหินเป็นการลดความดันตาด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยา เลเซอร์ และการผ่าตัด ซึ่งต้อหินแบบมุมปิด อาจมีการใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อทำให้มุมตากว้างขึ้น หรือลดโอกาสการเกิดต้อหินฉับพลันด้วย
1.การใช้ยา โดยทั่วไปใช้เป็นยาหยอด เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ลดโอกาสที่ขั้วตาจะมีการเสื่อมมากขึ้น ยารับประทานจะใช้ในบางกรณีโดยแพทย์เป็นผู้พิจารณา
2. เลเซอร์ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์ ซึ่งขึ้นกับชนิดของต้อหิน โดยจักษุแพทย์เป็นผู้พิจารณา
3. การผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายที่ต้อหินที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
บทความโดย: ผศ. พญ. สกาวรัตน์ เพ็ชร์ยิ้ม
สอบถามข้ออมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A