การผ่าตัดต่อมทอนซิล

ต่อมทอนซิล (Tonsils)  เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ภายในต่อมทอนซิลมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดซึ่งมีหน้าที่หลักในการจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร

ทอนซิลอักเสบ เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น เจ็บคอโดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร โดยปกติแพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต่อมทอนซิลในกรณีที่

  1. การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือเกิดการอักเสบปีละหลายๆ ครั้ง รบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
  2. เมื่อต่อมทอนซิลโตมาก ทำให้เกิดการนอนกรน และ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล หรือมีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
  • แพทย์จะทำการตัดต่อมทอนซิลออกทางปากโดยการดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง เพื่อป้องการสำลักอาหารลงปอดขณะดมยาสลบ
  • ผู้ป่วยจะไม่มีแผลบริเวณลำคอด้านหน้า หลังการผ่าตัดอาจมีความรู้สึกเจ็บคอและมีแผลที่เยื่อบุลำคอทั้ง 2 ข้าง หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์อาการเจ็บแผลจะดีขึ้น และประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัดแผลจะหายเป็นปกติ
  • หลังการผ่าตัดหากไม่มีเลือดออกและรับประทานอาหารได้ดี แพทย์จะนำสายน้ำเกลือออกและอนุญาตให้กลับบ้านได้ โดยแพทย์จะนัดตรวจแผลและฟังผลชิ้นเนื้อประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด

**การผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือช่องปากลดลงแต่อย่างไร

#ศูนย์หูคอจมูก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #การผ่าตัดต่อมทอนซิล #การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต #การผ่าตัดต่อมทอนซิล ศิริราช #ผลข้างเคียง การผ่าตัดต่อมทอนซิล #ต่อมทอนซิล #ทอนซิลอักเสบ #หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล #ต่อมทอนซิลอักเสบ #ต่อมทอนซิลโต

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

ข้อควรปฏิบัติ

  1. ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอและมีแผลด้านในคอทั้ง 2 ข้าง แผลอาจบวมและมีเลือดจางๆ ได้ ในช่วงแรกอาจจะกลืนอาหารลำบาก ควรรับประทานอาหารเหลวและเย็น เช่น นมเย็น โยเกิร์ต ไอศกรีม หากไม่มีอาการปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัดแล้ว สามารถเปลี่ยนมารับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่มีกากได้ เช่น โจ๊กปั่น ข้าวต้มนิ่มๆ
  2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีผนังช่องคอบวมทำให้การหายใจอึดอัด ควรนอนยกศีรษะสูง หากมีอาการบวมมากขึ้นและหายใจไม่สะดวกให้รีบมาพบแพทย์

ข้อควรหลีกเลี่ยง

  1. หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการไอแรงๆ การล้วงคอให้เสมหะออก การแปรงฟันลึกๆ ในช่องปาก การออกแรงมากและการยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
  2. หากมีเลือดออกให้ประคบเย็นที่บริเวณลำคอ นอนพักโดยยกศีรษะให้สูงร่วมกับอมน้ำเย็นประมาณ 10 นาที แล้วสลับด้วยการประคบเย็น  หากเลือดออกไม่หยุดควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  3. หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้อนเนื้อชิ้นใหญ่หรืออาหารแข็ง เพราะอาจทำให้ไปครูดแผลผ่าตัด เกิดการติดเชื้อและมีเลือดออกตามมาได้

เตรียมตัวรับมือ เมื่อมีภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบและการใส่ท่อช่วยหายใจขณะดมยาสลบ เช่น ระคายคอ เจ็บในลำคอ เสียงแหบจากสายเสียงบวม แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

  1. เลือดออกจากแผลผ่าตัด ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้อนเนื้อชิ้นใหญ่ อาหารที่มีรสจัด หรืออาหารแข็ง
  2. หายใจลำบาก เนื่องจากผนังลำคอบวมมาก ผู้ป่วยอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจหลังผ่าตัดไว้ระยะหนึ่ง แต่อาการ
  3. รับประทานอาหารได้น้อย หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ กลืนอาหารหรือกลืนน้ำลายลำบาก ทำให้น้ำหนักลด หรือมีอาการขาดน้ำได้ อาจมีน้ำลายปนเลือดออกมาบ้างเล็กน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D 

ต่อมทอนซิล (Tonsils)  เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ภายในต่อมทอนซิลมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดซึ่งมีหน้าที่หลักในการจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร

ทอนซิลอักเสบ เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น เจ็บคอโดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร โดยปกติแพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดต่อมทอนซิลในกรณีที่

  1. การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือเกิดการอักเสบปีละหลายๆ ครั้ง รบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
  2. เมื่อต่อมทอนซิลโตมาก ทำให้เกิดการนอนกรน และ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล หรือมีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
  • แพทย์จะทำการตัดต่อมทอนซิลออกทางปากโดยการดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง เพื่อป้องการสำลักอาหารลงปอดขณะดมยาสลบ
  • ผู้ป่วยจะไม่มีแผลบริเวณลำคอด้านหน้า หลังการผ่าตัดอาจมีความรู้สึกเจ็บคอและมีแผลที่เยื่อบุลำคอทั้ง 2 ข้าง หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์อาการเจ็บแผลจะดีขึ้น และประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัดแผลจะหายเป็นปกติ
  • หลังการผ่าตัดหากไม่มีเลือดออกและรับประทานอาหารได้ดี แพทย์จะนำสายน้ำเกลือออกและอนุญาตให้กลับบ้านได้ โดยแพทย์จะนัดตรวจแผลและฟังผลชิ้นเนื้อประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด

**การผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือช่องปากลดลงแต่อย่างไร

#ศูนย์หูคอจมูก #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #การผ่าตัดต่อมทอนซิล #การผ่าตัดต่อมทอนซิลโต #การผ่าตัดต่อมทอนซิล ศิริราช #ผลข้างเคียง การผ่าตัดต่อมทอนซิล #ต่อมทอนซิล #ทอนซิลอักเสบ #หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล #ต่อมทอนซิลอักเสบ #ต่อมทอนซิลโต

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

ข้อควรปฏิบัติ

  1. ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอและมีแผลด้านในคอทั้ง 2 ข้าง แผลอาจบวมและมีเลือดจางๆ ได้ ในช่วงแรกอาจจะกลืนอาหารลำบาก ควรรับประทานอาหารเหลวและเย็น เช่น นมเย็น โยเกิร์ต ไอศกรีม หากไม่มีอาการปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัดแล้ว สามารถเปลี่ยนมารับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่มีกากได้ เช่น โจ๊กปั่น ข้าวต้มนิ่มๆ
  2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีผนังช่องคอบวมทำให้การหายใจอึดอัด ควรนอนยกศีรษะสูง หากมีอาการบวมมากขึ้นและหายใจไม่สะดวกให้รีบมาพบแพทย์

ข้อควรหลีกเลี่ยง

  1. หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการไอแรงๆ การล้วงคอให้เสมหะออก การแปรงฟันลึกๆ ในช่องปาก การออกแรงมากและการยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
  2. หากมีเลือดออกให้ประคบเย็นที่บริเวณลำคอ นอนพักโดยยกศีรษะให้สูงร่วมกับอมน้ำเย็นประมาณ 10 นาที แล้วสลับด้วยการประคบเย็น  หากเลือดออกไม่หยุดควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  3. หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้อนเนื้อชิ้นใหญ่หรืออาหารแข็ง เพราะอาจทำให้ไปครูดแผลผ่าตัด เกิดการติดเชื้อและมีเลือดออกตามมาได้

เตรียมตัวรับมือ เมื่อมีภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบและการใส่ท่อช่วยหายใจขณะดมยาสลบ เช่น ระคายคอ เจ็บในลำคอ เสียงแหบจากสายเสียงบวม แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

  1. เลือดออกจากแผลผ่าตัด ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีก้อนเนื้อชิ้นใหญ่ อาหารที่มีรสจัด หรืออาหารแข็ง
  2. หายใจลำบาก เนื่องจากผนังลำคอบวมมาก ผู้ป่วยอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจหลังผ่าตัดไว้ระยะหนึ่ง แต่อาการ
  3. รับประทานอาหารได้น้อย หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ กลืนอาหารหรือกลืนน้ำลายลำบาก ทำให้น้ำหนักลด หรือมีอาการขาดน้ำได้ อาจมีน้ำลายปนเลือดออกมาบ้างเล็กน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง