สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคืองทางเดินหายใจ หลีกเลี่ยงได้
สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)
เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นในคนที่มีความไวต่อสารนั้นๆ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการหรือเป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ ในฝุ่นละอองตามบ้านรวมถึงในอาหารและยา ซึ่งอาการแพ้มีได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น หอบ น้ำมูกไหล จาม คันตา คันจมูก คัดจมูก หายใจลำบาก ผื่นคันตามผิวหนัง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นลม หมดสติ และช็อก ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เพื่อลดอาการของโรค
สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergens)
- สารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัย (Indoor Allergens) ที่สำคัญ ได้แก่ ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น แมลงสาบ
- สารก่อภูมิแพ้นอกที่อยู่อาศัย (Outdoor Allergens) ที่สำคัญ ได้แก่ ละอองเกสรพืช หญ้า สปอร์ของเชื้อรา
สารระคายเคืองทางเดินหายใจ (Airway Irritant)
คือ สารที่หากได้รับหรือสูดดมเข้าทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง หรือได้รับในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือทำอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้อาการจมูกอักเสบกำเริบ อาการหอบกำเริบ หรือควบคุมอาการไม่ได้ รวมถึงมีความสัมพันธ์กับการอักเสบของหลอดลม การติดเชื้อในทางเดินหายใจมากขึ้น ลดการทำงานของปอด และทำให้หายใจลำบากมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหืด สารระคายเคืองทางเดินหายใจไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ แต่ทำให้มีอาการกำเริบได้คล้ายกัน
ตัวอย่างของสารระคายเคืองทางเดินหายใจ
- สเปรย์น้ำหอม สเปรย์ฉีดผม สเปรย์ปรับอากาศ ยาฆ่าแมลง และยาดับกลิ่น
- ควันจากการประกอบอาหาร
- ควันธูป / ควันบุหรี่
- ก๊าซจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และเครื่องจักร
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ลอยในอากาศเกิดจากการกระจายของดินทราย ควัน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
การหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากการเผาไหม้ สเปรย์ น้ำยา หรือสารที่มีกลิ่นแรง เป็นต้น
- ควรใช้เตาที่มีควันภายนอกบ้าน หรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อออกนอกบ้านหรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D
สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)
เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นในคนที่มีความไวต่อสารนั้นๆ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการหรือเป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ ในฝุ่นละอองตามบ้านรวมถึงในอาหารและยา ซึ่งอาการแพ้มีได้หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น หอบ น้ำมูกไหล จาม คันตา คันจมูก คัดจมูก หายใจลำบาก ผื่นคันตามผิวหนัง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นลม หมดสติ และช็อก ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เพื่อลดอาการของโรค
สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergens)
- สารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัย (Indoor Allergens) ที่สำคัญ ได้แก่ ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น แมลงสาบ
- สารก่อภูมิแพ้นอกที่อยู่อาศัย (Outdoor Allergens) ที่สำคัญ ได้แก่ ละอองเกสรพืช หญ้า สปอร์ของเชื้อรา
สารระคายเคืองทางเดินหายใจ (Airway Irritant)
คือ สารที่หากได้รับหรือสูดดมเข้าทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง หรือได้รับในปริมาณมากๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือทำอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้อาการจมูกอักเสบกำเริบ อาการหอบกำเริบ หรือควบคุมอาการไม่ได้ รวมถึงมีความสัมพันธ์กับการอักเสบของหลอดลม การติดเชื้อในทางเดินหายใจมากขึ้น ลดการทำงานของปอด และทำให้หายใจลำบากมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหืด สารระคายเคืองทางเดินหายใจไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ แต่ทำให้มีอาการกำเริบได้คล้ายกัน
ตัวอย่างของสารระคายเคืองทางเดินหายใจ
- สเปรย์น้ำหอม สเปรย์ฉีดผม สเปรย์ปรับอากาศ ยาฆ่าแมลง และยาดับกลิ่น
- ควันจากการประกอบอาหาร
- ควันธูป / ควันบุหรี่
- ก๊าซจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ และเครื่องจักร
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ลอยในอากาศเกิดจากการกระจายของดินทราย ควัน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
การหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากการเผาไหม้ สเปรย์ น้ำยา หรือสารที่มีกลิ่นแรง เป็นต้น
- ควรใช้เตาที่มีควันภายนอกบ้าน หรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อออกนอกบ้านหรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D