PM 2.5 เลี่ยงฝุ่นร้ายทำลายปอด

ฝุ่นควันในอากาศอันตรายแค่ไหน? แล้วต้องเตรียมรับมือป้องกันความเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นควันอย่างไร

ฟังคำตอบจาก นพ. ภาสกร จิตรรักไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ศูนย์ระบบการหายใจ

พร้อมพิธีกรรับเชิญ นพ.พรชัย งามธนวัฒน์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. รู้ได้อย่างไรว่าที่เห็นคือหมอกหรือฝุ่นควัน?

หมอกเป็นกลุ่มของละอองน้ำที่มีความชื้น ความเย็น ควันเป็นการสะสมของฝุ่นละอองและก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ ไนโตรเจนออกไซต์ คาร์บอนมอนนอกไซต์ และโอโซน รวมไปถึงจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกกรม ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่าอาจแยกไม่ค่อยออก

2. PM คืออะไร?

PM หรือ particulate matter คือ ฝุ่นละอองที่ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็ก หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น เคืองตา เยื่อบุตาอักเสบ ไอ เจ็บหน้าอก เป็นต้น

3. ค่าฝุ่นละอองที่อยู่ในขั้นวิกฤตอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย?

ค่าฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM 2.5) สามารถแทรกซึมเข้าไปในถุงลมและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจในระยะยาว

4. โรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ?

อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ 

   4.1 อนุภาคของฝุ่นละอองที่ได้รับ

   4.2 ระยะเวลาของการได้รับหรือสัมผัส

   4.3 กลุ่มที่มี่ความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ

5. การดูแลตัวเองจากมลพิษทางอากาศ

   5.1 หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น ถนนที่มีจราจรติดขัด

   5.2 ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

   5.3 สวมใส่หน้ากากที่กรองฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95

   5.4 ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษทางอากาศเป็นประจำ เช่น เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C

ฝุ่นควันในอากาศอันตรายแค่ไหน? แล้วต้องเตรียมรับมือป้องกันความเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นควันอย่างไร

ฟังคำตอบจาก นพ. ภาสกร จิตรรักไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ศูนย์ระบบการหายใจ

พร้อมพิธีกรรับเชิญ นพ.พรชัย งามธนวัฒน์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. รู้ได้อย่างไรว่าที่เห็นคือหมอกหรือฝุ่นควัน?

หมอกเป็นกลุ่มของละอองน้ำที่มีความชื้น ความเย็น ควันเป็นการสะสมของฝุ่นละอองและก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ ไนโตรเจนออกไซต์ คาร์บอนมอนนอกไซต์ และโอโซน รวมไปถึงจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกกรม ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่าอาจแยกไม่ค่อยออก

2. PM คืออะไร?

PM หรือ particulate matter คือ ฝุ่นละอองที่ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็ก หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น เคืองตา เยื่อบุตาอักเสบ ไอ เจ็บหน้าอก เป็นต้น

3. ค่าฝุ่นละอองที่อยู่ในขั้นวิกฤตอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย?

ค่าฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM 2.5) สามารถแทรกซึมเข้าไปในถุงลมและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจในระยะยาว

4. โรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ?

อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ 

   4.1 อนุภาคของฝุ่นละอองที่ได้รับ

   4.2 ระยะเวลาของการได้รับหรือสัมผัส

   4.3 กลุ่มที่มี่ความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ

5. การดูแลตัวเองจากมลพิษทางอากาศ

   5.1 หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น ถนนที่มีจราจรติดขัด

   5.2 ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

   5.3 สวมใส่หน้ากากที่กรองฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95

   5.4 ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษทางอากาศเป็นประจำ เช่น เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง