เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง

การที่ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ ในกรณีที่ศีรษะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้โดยยังต้องสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มีต่อสมองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ทันที และภายใน 72 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลัง 72 ชั่วโมงไปแล้ว

อาการที่พบบ่อยจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. บาดแผลที่หนังศีรษะ
  2. กะโหลกศีรษะแตกร้าวหรือยุบ
  3. สมองกระทบกระเทือน
  4. สมองช้ำ
  5. เลือดคั่งในสมอง

อาการผิดปกติที่ควรกลับไปพบแพทย์

  • ง่วงซึมมากกว่าปกติ นอนนาน ปลุกไม่ตื่น ไม่รู้ตัวหรือหมดสติ
  • กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก
  • ชักหรือเกร็งกระตุก
  • ชาหรือกำลังแขนขาลดน้อยลงกว่าเดิม
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
  • ชีพจรเต้นช้ามาก
  • มีไข้สูง ปวดตุบ ๆ ในลูกตา
  • อาเจียนพุ่งหรืออาเจียนรุนแรง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยไม่ทุเลา
  • มีน้ำใสหรือน้ำใสปนเลือดออกจากหู จมูก หรือไหลลงคอ
  • ปวดต้นคอ ขยับคอลำบาก

คำแนะนำเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. ควรมีผู้ดูแลที่สามารถสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ภายหลัง 24 ชั่วโมงแรก โดยประเมินความรู้สึกตัวว่าเปลี่ยนหรือลดลงหรือไม่ ทุก 2 - 4 ชั่วโมง แรกที่ได้รับการอนุญาตให้ไปพักรักษาตัวที่บ้าน
  2. งดออกกำลังกายทุกชนิดที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล วอลลเล่ย์บอล แบดมินตัน เทนนิส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์หากไม่ทราบ
  3. งดใช้ยาทุกชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม เช่น ยานอนหลับ ยาระงับปวดรุนแรง นอกเหนือจากแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาใดๆ
  4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  6. หากมีอาการบวมบริเวณที่บาดเจ็บให้ประคบด้วยความเย็น ถ้าไม่ยุบบวมหรือบวมมากขึ้นกว่าเดิมให้กลับมาพบแพทย์

หากพบอาการผิดปกติตามข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวเบื้องต้นให้กลับมาพบแพทย์ทันที กรณีฉุกเฉินหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมโทรสอบถามได้ที่ เบอร์ 1474

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

การที่ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ ในกรณีที่ศีรษะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้โดยยังต้องสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มีต่อสมองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ทันที และภายใน 72 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลัง 72 ชั่วโมงไปแล้ว

อาการที่พบบ่อยจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. บาดแผลที่หนังศีรษะ
  2. กะโหลกศีรษะแตกร้าวหรือยุบ
  3. สมองกระทบกระเทือน
  4. สมองช้ำ
  5. เลือดคั่งในสมอง

อาการผิดปกติที่ควรกลับไปพบแพทย์

  • ง่วงซึมมากกว่าปกติ นอนนาน ปลุกไม่ตื่น ไม่รู้ตัวหรือหมดสติ
  • กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก
  • ชักหรือเกร็งกระตุก
  • ชาหรือกำลังแขนขาลดน้อยลงกว่าเดิม
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
  • ชีพจรเต้นช้ามาก
  • มีไข้สูง ปวดตุบ ๆ ในลูกตา
  • อาเจียนพุ่งหรืออาเจียนรุนแรง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยไม่ทุเลา
  • มีน้ำใสหรือน้ำใสปนเลือดออกจากหู จมูก หรือไหลลงคอ
  • ปวดต้นคอ ขยับคอลำบาก

คำแนะนำเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. ควรมีผู้ดูแลที่สามารถสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ภายหลัง 24 ชั่วโมงแรก โดยประเมินความรู้สึกตัวว่าเปลี่ยนหรือลดลงหรือไม่ ทุก 2 - 4 ชั่วโมง แรกที่ได้รับการอนุญาตให้ไปพักรักษาตัวที่บ้าน
  2. งดออกกำลังกายทุกชนิดที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล วอลลเล่ย์บอล แบดมินตัน เทนนิส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์หากไม่ทราบ
  3. งดใช้ยาทุกชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม เช่น ยานอนหลับ ยาระงับปวดรุนแรง นอกเหนือจากแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาใดๆ
  4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  6. หากมีอาการบวมบริเวณที่บาดเจ็บให้ประคบด้วยความเย็น ถ้าไม่ยุบบวมหรือบวมมากขึ้นกว่าเดิมให้กลับมาพบแพทย์

หากพบอาการผิดปกติตามข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวเบื้องต้นให้กลับมาพบแพทย์ทันที กรณีฉุกเฉินหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมโทรสอบถามได้ที่ เบอร์ 1474

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง