ไวรัส RSV ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก

           ไวรัส RSV มักทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และแพร่ระบาดได้รวดเร็วทำให้เด็กป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก โรคนี้มักมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ทำให้เด็กมีอาการหอบเหนื่อยหรือมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วยมักพบในฤดูฝนและฤดูหนาว

ไวรัส RSV คืออะไร?
          ไวรัส RSV เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม มีชื่อเต็มว่า Respiratory syncytial virus เป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มักหายป่วยภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นเดียวกับเด็กเล็กได้

อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV
          ผู้ป่วยมักจะมีอาการ 4 - 6 วันหลังได้รับเชื้อ อาการโดยทั่วไปอาจเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการคล้ายหอบหืด อาการที่พบมีดังนี้
            - มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก
            - รับประทานอาหารได้น้อยลง
            - หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ เสียงหายใจดังวี้ด
            - อาจจะพบอาการร้องกวน ซึมลง ในเด็กทารก
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส RSV
          ไวรัสอาร์เอสวีติดต่อจากการไอจาม โดยการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าผ่านทางจมูก ปาก และเยื่อบุตาทำให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังสามารถได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของ เช่น ของเล่น ภาชนะ เฟอร์นิเจอร์ที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของได้นานเป็นวันถ้าไม่มีการทำความสะอาด และบนมือได้นานอย่างน้อย 30 นาที
            ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3 - 8 วัน เด็กทั่วไปสามารถรับเชื้อได้จากนอกบ้าน เช่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก และยังสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับบุคคลอื่นในบ้านได้ ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก สามารถส่งผ่านเชื้อได้หากไม่ล้างมือหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของเด็กที่ติดเชื้อ เด็กที่ใช้ของเล่นร่วมกัน หรือเล่นในพื้นที่เดียวกัน อาจส่งต่อเชื้อไปให้เด็กอื่นที่เลี้ยงร่วมกัน หรือร่วมชั้นเรียน รวมถึงผู้สูงอายุในบ้านได้

วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV
          เนื่องจากอาการของโรคจากเชื้อไวรัส RSV อาจแยกไม่ได้จากไวรัสระบบทางเดินหายใจตัวอื่นๆ แต่มักรุนแรงกว่า แพทย์จะสงสัยโรคนี้ในเด็กเล็กที่มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่มีการระบาด แต่การวินิจฉัยให้รู้แน่ต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเพื่อให้รู้เชื้อไม่มีความจำเป็นในผู้ที่อาการไม่หนัก เพราะการรักษาไม่แตกต่างจากไวรัสระบบทางเดินหายใจตัวอื่นๆ แพทย์มักจะตรวจหาเชื้อโดยการป้ายโพรงจมูกไปตรวจในกรณีที่มีอาการหนัก นอกจากนี้อาจจะต้องมีการเอกซเรย์ปอด หากสงสัยว่าการติดเชื้อนั้นลุกลามจนเกิดภาวะปอดอักเสบ
วิธีการรักษา
          ในขณะนี้ยังไม่มีการรักษาสำหรับการติดไวรัส RSV จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น การทานยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ การดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำและรักษาร่างกายให้อบอุ่น ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถทานยาและพักผ่อนที่บ้านได้
          ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคอื่นๆร่วม และผู้สูงอายุจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงได้ มักจะมีอาการไข้สูง ซึมลง มีภาวะหายใจหอบเหนื่อยหรือภาวะการขาดน้ำ แนะนำให้พามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การรักษาในโรงพยาบาลจะเน้นรักษาตามอาการ เช่น มีการให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการหอบเหนื่อย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในรายที่มีภาวะการขาดน้ำและอาจมีการพ่นยาขยายหลอดลม เป็นต้น
วิธีการป้องกัน
            ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV แต่เราสามารถป้องกันได้ดังนี้
            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย
            - ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำสะอาด ควรสอนให้เด็กๆล้างมืออย่างถูกต้อง และรักษาสุขอนามัย
            - หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่แออัด ไม่ควรพาเด็กไปเล่นในที่ๆมีเด็กเล่นอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในขณะที่มีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้
            - ผู้ป่วยควรงดการออกนอกบ้านช่วงที่ไม่สบายเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น และควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กรณษา จันทร์แก้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

           ไวรัส RSV มักทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และแพร่ระบาดได้รวดเร็วทำให้เด็กป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก โรคนี้มักมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ทำให้เด็กมีอาการหอบเหนื่อยหรือมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วยมักพบในฤดูฝนและฤดูหนาว

ไวรัส RSV คืออะไร?
          ไวรัส RSV เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้ม มีชื่อเต็มว่า Respiratory syncytial virus เป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มักหายป่วยภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นเดียวกับเด็กเล็กได้

อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV
          ผู้ป่วยมักจะมีอาการ 4 - 6 วันหลังได้รับเชื้อ อาการโดยทั่วไปอาจเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการคล้ายหอบหืด อาการที่พบมีดังนี้
            - มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก
            - รับประทานอาหารได้น้อยลง
            - หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ เสียงหายใจดังวี้ด
            - อาจจะพบอาการร้องกวน ซึมลง ในเด็กทารก
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส RSV
          ไวรัสอาร์เอสวีติดต่อจากการไอจาม โดยการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าผ่านทางจมูก ปาก และเยื่อบุตาทำให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังสามารถได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของ เช่น ของเล่น ภาชนะ เฟอร์นิเจอร์ที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของได้นานเป็นวันถ้าไม่มีการทำความสะอาด และบนมือได้นานอย่างน้อย 30 นาที
            ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3 - 8 วัน เด็กทั่วไปสามารถรับเชื้อได้จากนอกบ้าน เช่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก และยังสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับบุคคลอื่นในบ้านได้ ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก สามารถส่งผ่านเชื้อได้หากไม่ล้างมือหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของเด็กที่ติดเชื้อ เด็กที่ใช้ของเล่นร่วมกัน หรือเล่นในพื้นที่เดียวกัน อาจส่งต่อเชื้อไปให้เด็กอื่นที่เลี้ยงร่วมกัน หรือร่วมชั้นเรียน รวมถึงผู้สูงอายุในบ้านได้

วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV
          เนื่องจากอาการของโรคจากเชื้อไวรัส RSV อาจแยกไม่ได้จากไวรัสระบบทางเดินหายใจตัวอื่นๆ แต่มักรุนแรงกว่า แพทย์จะสงสัยโรคนี้ในเด็กเล็กที่มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่มีการระบาด แต่การวินิจฉัยให้รู้แน่ต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเพื่อให้รู้เชื้อไม่มีความจำเป็นในผู้ที่อาการไม่หนัก เพราะการรักษาไม่แตกต่างจากไวรัสระบบทางเดินหายใจตัวอื่นๆ แพทย์มักจะตรวจหาเชื้อโดยการป้ายโพรงจมูกไปตรวจในกรณีที่มีอาการหนัก นอกจากนี้อาจจะต้องมีการเอกซเรย์ปอด หากสงสัยว่าการติดเชื้อนั้นลุกลามจนเกิดภาวะปอดอักเสบ
วิธีการรักษา
          ในขณะนี้ยังไม่มีการรักษาสำหรับการติดไวรัส RSV จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น การทานยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ การดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำและรักษาร่างกายให้อบอุ่น ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถทานยาและพักผ่อนที่บ้านได้
          ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคอื่นๆร่วม และผู้สูงอายุจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงได้ มักจะมีอาการไข้สูง ซึมลง มีภาวะหายใจหอบเหนื่อยหรือภาวะการขาดน้ำ แนะนำให้พามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การรักษาในโรงพยาบาลจะเน้นรักษาตามอาการ เช่น มีการให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการหอบเหนื่อย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในรายที่มีภาวะการขาดน้ำและอาจมีการพ่นยาขยายหลอดลม เป็นต้น
วิธีการป้องกัน
            ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV แต่เราสามารถป้องกันได้ดังนี้
            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย
            - ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำสะอาด ควรสอนให้เด็กๆล้างมืออย่างถูกต้อง และรักษาสุขอนามัย
            - หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่แออัด ไม่ควรพาเด็กไปเล่นในที่ๆมีเด็กเล่นอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในขณะที่มีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้
            - ผู้ป่วยควรงดการออกนอกบ้านช่วงที่ไม่สบายเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น และควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กรณษา จันทร์แก้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง