การผ่าตัดด้วยวิธี PRK (Photorefractive keratectomy)
การผ่าตัดด้วยวิธี PRK (Photorefractive keratectomy) คือ การแก้ไขภาวะค่าสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์วิธีแรก ด้วยเทคนิคการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออก แล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่าง เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา จากนั้นปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตา เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อผิวกระจกตาสมานกันได้ดี
ขั้นตอนที่ 1 ใช้สารละลายแอลกอฮอล์เจือจางหยดลงบนกระจกตา เพื่อให้เซลล์ผิวกระจกตาชั้นนอกหลุดออกได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 2 ใช้เครื่องมือสำหรับช่วยลอกผิวกระจกตาที่อยู่ชั้นนอกสุดออก
ขั้นตอนที่ 3 ปรับความโค้งกระจกตาด้วย Excimer laser
ขั้นตอนที่ 4 ปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตาเพื่อลดความระคายเคืองจนกว่าผิวกระจกตาจะฟื้นฟูเป็นปกติ
ผู้ที่เหมาะกับการรักษา
- ผู้มีค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกัน และค่าสายตายาวตามกำเนิด
- อายุ 20 - 50 ปี โดยมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโก่ง โรคตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่นที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อหินขั้นรุนแรง สายตาขี้เกียจ (Amblyopia)
- ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคภูมิต้านตัวเอง โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมทั้งโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
- สตรีที่ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร (หากมีประจำเดือนมาแล้ว 2 รอบสามารถทำได้)
- ผู้ที่สุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง โดยผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพตาจากจักษุแพทย์
ข้อดี
- ทางเลือกการรักษาในผู้ที่มีกระจกตาบาง
- รักษาค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกันไม่เกิน -8 Diopter ค่าสายตายาวตามกำเนิดไม่เกิน +5 Diopter
- เหมาะสำหรับบางอาชีพ หรือผู้ที่เล่นกีฬาที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น นักบิน ตำรวจ ทหาร นักมวย
- ผู้ที่มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย เช่น กระจกตาถลอกกลับเป็นซ้ำ (Recurrent corneal erosion)
ข้อจำกัด
- มีอาการแสบตา เคืองตา สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล
- เวลาพักฟื้นนาน โดยประมาณ 5 - 7 วัน ที่ยังมีแผลที่กระจกตาและต้องมีการใส่คอนเทคเลนส์
- มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระหว่างที่ยังมีแผลที่กระจกตา
- มีโอกาสเกิดฝ้าขาว (Haze) ที่กระจกตา
ข้อมูลจาก : พญ.บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รักษาสายตาผิดปกติ “The SiGHT by SiPH”ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
การผ่าตัดด้วยวิธี PRK (Photorefractive keratectomy) คือ การแก้ไขภาวะค่าสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์วิธีแรก ด้วยเทคนิคการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออก แล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่าง เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา จากนั้นปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตา เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อผิวกระจกตาสมานกันได้ดี
ขั้นตอนที่ 1 ใช้สารละลายแอลกอฮอล์เจือจางหยดลงบนกระจกตา เพื่อให้เซลล์ผิวกระจกตาชั้นนอกหลุดออกได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 2 ใช้เครื่องมือสำหรับช่วยลอกผิวกระจกตาที่อยู่ชั้นนอกสุดออก
ขั้นตอนที่ 3 ปรับความโค้งกระจกตาด้วย Excimer laser
ขั้นตอนที่ 4 ปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตาเพื่อลดความระคายเคืองจนกว่าผิวกระจกตาจะฟื้นฟูเป็นปกติ
ผู้ที่เหมาะกับการรักษา
- ผู้มีค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกัน และค่าสายตายาวตามกำเนิด
- อายุ 20 - 50 ปี โดยมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโก่ง โรคตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่นที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อหินขั้นรุนแรง สายตาขี้เกียจ (Amblyopia)
- ไม่มีโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคภูมิต้านตัวเอง โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมทั้งโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
- สตรีที่ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร (หากมีประจำเดือนมาแล้ว 2 รอบสามารถทำได้)
- ผู้ที่สุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง โดยผ่านการตรวจวิเคราะห์สภาพตาจากจักษุแพทย์
ข้อดี
- ทางเลือกการรักษาในผู้ที่มีกระจกตาบาง
- รักษาค่าสายตาสั้นและเอียงรวมกันไม่เกิน -8 Diopter ค่าสายตายาวตามกำเนิดไม่เกิน +5 Diopter
- เหมาะสำหรับบางอาชีพ หรือผู้ที่เล่นกีฬาที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น นักบิน ตำรวจ ทหาร นักมวย
- ผู้ที่มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย เช่น กระจกตาถลอกกลับเป็นซ้ำ (Recurrent corneal erosion)
ข้อจำกัด
- มีอาการแสบตา เคืองตา สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล
- เวลาพักฟื้นนาน โดยประมาณ 5 - 7 วัน ที่ยังมีแผลที่กระจกตาและต้องมีการใส่คอนเทคเลนส์
- มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระหว่างที่ยังมีแผลที่กระจกตา
- มีโอกาสเกิดฝ้าขาว (Haze) ที่กระจกตา
ข้อมูลจาก : พญ.บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รักษาสายตาผิดปกติ “The SiGHT by SiPH”ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A